เพชรสังฆาต

ยาสมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร

สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร เช่น เพชรสังฆาต โรคริดสีดวง เป็นโรคเกิดที่เกิดจากเส้นเลือดบริเวณทวารหนักส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่เกิดอาการโป่งพอง

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cissus quadrangularis Linn.

ชื่อวงศ์ :Vitaceae

ชื่ออื่นๆ :สันชะฆาต ขันข้อ(ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) สันชะควด (กรุงเทพฯ)

เถาของเพชรสังฆาตมีองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้

  • natural plant steroids (ketosterones): onocer-7-ene-3 alpha, 21 beta-diol, delta-amyrin, delta-amyrone และ 3,3',4,4'- tetrahydroxybiphenyl
  • สารกลุ่ม stilbene: quadrangularins A, B, C, resveratrol, piceatannol, pallidol , parthenocissine A.
  • สารในกลุ่ม flavonoids เช่น diosmin, hisdromin, hesperidin.
  • ascorbic acid (vitamin C)
  • lupeol
  • carotene 
  • calcium oxalate.

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ในอดีตการใช้เพชรสังฆาตรักษาริดสีดวงทวารหนักจะทำ โดยนำ เถาสดใส่กล้วยหรือมะขามแล้วกลืน เนื่องจากเพชรสังฆาตมีแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) การกลืนเถาสดอาจเกิดการระคายเคืองทางเดินอาหารได้

ต่อมาได้มีการนำ เพชรสังฆาตมาผลิตให้อยู่ในรูปแบบแคปซูลเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารยาโดยในรูปยาผงบรรจุแคปซูล 250 มิลลิกรัม ให้รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 5-7 วัน

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
การรับประทานเพชรสังฆาตสด อาจทำให้เกิดอาการระคายคอ ระคายเยื่อบุในปาก เนื่องจากเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาแลตอยู่มาก

ห้ามรับประทานติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์เพราะอาจก่อให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคไตห้ามรับประทาน

การใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการใช้เสมอ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะน้อย แน่นท้อง เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ผลต่อแรงตึงตัวของหลอดเลือดดำ :

 สารสกัดเพชรสังฆาตมีฤทธิ์กระตุ้นหลอดเลือดดำ ให้มีความตึงตัวเพิ่มขึ้น คล้ายกับส่วนผสมของไบโอฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ ไดออสมิน 90% และฮิสเพอริดิน 10% ที่พบในตำรับยาแผนปัจจุบัน สำหรับใช้รักษาริดสีดวงทวาร

 

 

ฤทธิ์ต้านการอักเสบเฉียบพลัน  :

ผลการทดลองในหนู 2 การศึกษา สารสกัดเพชรสังฆาตใด้วยเมธานอลและเฮกเซน สามารถยับยั้งการบวมของใบหู และการบวมของอุ้งเท้าของหนูขาวได้  ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี ตรวจพบองค์ประกอบทางเคมีของสาร lupeol ในสารสกัดเฮกเซน

การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร ระยะเฉียบพลัน จำนวน 570 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่ได้รับยาที่มีส่วนผสมของฟลาวานอยด์ (Daflon 500 มก./เม็ด)
  2. กลุ่มที่ได้รับสมุนไพรเพชรสังฆาต (500 มก./เม็ด) 
  3. กลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในช่วง 4 วันแรก

ให้รับประทานครั้งละ 3 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร และช่วง 3 วันหลัง ได้รับครั้งละ 2 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร ในทั้ง 3 กลุ่ม

ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการต่างๆ คือ เลือดออกทางทวารหนัก เมือก อาการคัน รอยแดง หรืออักเสบรอบทวารหนัก 

การประเมินผล ทำโดยการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามอาการ รวมทั้งมีการตรวจเลือดและติดตามผลข้างเคียงของการได้รับยาหรือสมุนไพรควบคู่ไปพร้อมกันด้วย

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยในทุกกลุ่มส่วนใหญ่อาการเลือดออกเฉียบพลันจะหยุดในวันที่ 2 ของการให้ยา และมีอาการดีขึ้นหลังการให้ยาครบ 7 วัน ประสิทธิผลของการรักษาในผู้ป่วยทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้น

สรุปได้ว่าเพชรสังฆาตให้ผลในการรักษาริดสีดวงทวารในระยะเฉียบพลันได้ไม่แตกต่างจากยาที่มีส่วนผสมของฟลาวานอยด์และยาหลอก 

อีก 1 การศึกษา ประโยชน์ของเพชรสังฆาตในเรื่องการรักษาโรคริดสีดวงทวารในมีงานวิจัยของ  พ.ญ. ดวงรัตน์ญ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะได้ประเมินประสิทธิภาพของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำนวน 121 คน เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันอย่าง ดาฟลอน (Daflon) โดยผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับยาดาฟลอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และที่สำคัญยังพบว่าค่าใช้จ่ายของยาแคปซูลเพชรสังฆาตถูกกว่ายาดาฟลอนถึง 20 เท่าอีกด้วย

ผลการวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทน

 

ริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids/Piles) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ริดสีดวง

เป็นโรคเกิดที่เกิดจากเส้นเลือดบริเวณทวารหนักหรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ติดกับทวารหนักเกิดอาการโป่งพอง ในบางครั้งผนังหลอดเลือดเหล่านี้อาจมีการยืดตัวจนบาง ทำให้มีหลอดเลือดโป่งหรือนูนคล้ายติ่งยื่นออกมาจากทวารหนัก อาจจะก่อให้เกิดอาการปวด เจ็บ หรือคัน รวมไปถึงนั่งถ่ายลำบาก บางครั้งอาจมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระร่วมด้วย จึงทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว 

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก 

  1. ริดสีดวงชนิดภายใน (Internal Hemorrhoids) ผู้ป่วยมักจะมองไม่เห็นหรือรู้สึกเจ็บเมื่อเกิดริดสีดวง เนื่องจากมีเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณนี้น้อย 
  2. ริดสีดวงชนิดภายนอก (External Hemorrhoids) มักมีการนูนของหลอดเลือดลงมานอกช่องทวารหนักจนคล้ายเป็นติ่ง โดยผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นได้ชัดกว่าชนิดแรกจากสีผิวบริเวณที่เกิด ซึ่งริดสีดวงภายนอกมักจะมีสีชมพูกว่าผิวบริเวณรอบ ๆ 

และสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น ตามระดับความรุนแรงและขนาดของริดสีดวงได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 : ริดสีดวงมีขนาดเล็กอยู่ในช่องทวารหนักเท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นจากด้านนอกหรือรู้สึกได้
ขั้นที่ 2 : ริดสีดวงเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมและยื่นออกมาเมื่อมีการเบ่งหรือถ่ายอุจจาระ แต่สามารถหดกลับเข้าไปด้านในได้เอง
ขั้นที่ 3 :ริดสีดวงยื่นออกมาจากช่องทวารหนักเมื่อมีการเบ่งหรือขับถ่าย ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกได้ว่ามีติ่งเนื้อยื่นลงมา แต่ยังสามารถดันกลับเข้าไปในช่องทวารหนักได้
ขั้นที่ 4 : ริดสีดวงยื่นออกมาจากทวารหนักอย่างถาวร มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และไม่สามารถดันกลับเข้าไปด้านในได้

อาการของโรคริดสีดวงทวาร

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการคล้าย ๆ กัน คือ มีอาการคัน เจ็บและปวดบริเวณทวารหนัก มีเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระ อาการของโรคริดสีดวงทวารส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ผู้ป่วยเป็นริดสีดวงเป็นหลักและมักจะดีขึ้นได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในรายที่อาการรุนแรงและมีอาการอื่นเกิดรวมด้วย เช่น เวียนหัว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นได้

สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวารยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนถึงสาเหตุการเกิด แต่มีความเกี่ยวข้องกับแรงดันที่เพิ่มมากขึ้นของเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก ทำให้เส้นเลือดเกิดการบวมหรือนูนจากแรงดันที่มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรง การนั่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง อาการท้องผูก การตั้งครรภ์ โรคอ้วน การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย หรือแม้แต่เนื้อเยื่อที่รองรับเส้นเลือดบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและทวารหนักเกิดการเสื่อมหรือขยายตัว

 

 

 

 

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงทวาร

เมื่อสังเกตพบอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าจะเป็นริดสีดวง แพทย์จะมีการตรวจทวารหนักด้วยตาเปล่าว่าพบริดสีดวงชนิดภายนอกหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ทันที แต่ในกรณีที่เป็นริดสีดวงชนิดภายใน แพทย์ต้องมีการตรวจทางทวารหนักด้วยการใช้นิ้วสอดและการส่องกล้องพิเศษประเภทอื่น ๆ เพื่อหาความผิดปกติและวินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้องด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ต่างกัน เช่น Anoscope, Proctoscope Sigmoidoscopy หรือแพทย์อาจจะมีการตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (Colonoscopy) เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยกลางคนขึ้นไปที่ไม่เคยมีประวัติการตรวจโรคนี้

รักษาอาการริดสีดวง ขั้นต้นด้วยตัวเอง

  1. ระวังอย่าให้ท้องผูกหรือท้องเดินบ่อย ๆ โดยควรรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยสูงให้มาก เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง มะละกอสุก และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายออกได้ง่าย หากยังมีอาการท้องผูกอีก ให้รับประทานยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซียม หรือสารเพิ่มกากใย เป็นต้น
    ฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา ไม่กลั้น และไม่เบ่งอุจจาระ
  2. หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายเป็นเวลานาน ๆ รวมถึงการยืน การเดิน และการนั่งแช่เป็นเวลานาน ๆ
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจะทำให้โรคริดสีดวงทวารเป็นมากขึ้นได้
  4. ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรหาวิธีลดความอ้วนอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก

การรักษาโรคริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวารสามารถรักษาได้หลายวิธี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระดับความรุนแรง และความต้องการของผู้ป่วยเอง

ในกรณีที่ไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลตนเองที่บ้าน โดยเน้นให้มีการรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น ดูแลบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวารให้แห้งและสะอาด รวมไปถึงมีการแช่น้ำอุ่นบริเวณก้นเป็นประจำ ควบคู่กับการรับประทานยาในกลุ่มแก้ปวดและยาทา เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด คัน หรือเจ็บบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวารน้อยลง

แต่หากเป็นขั้นรุนแรงหรืออาการของโรคส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การใช้ยางรัด การฉีดยา การจี้ หรือการผ่าตัดริดสีดวงทวารออก โดยพิจารณาถึงความสมัครใจของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเอง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวารอาจทำให้เกิดเส้นเลือดขอดบริเวณทวารหนักจนทำให้เกิดหลอดเลือดบวมและมีการจับตัวเป็นลิ่มเลือดและกลายเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า ภาวะธรอมโบซิส (Thrombosis) ซึ่งมักเกิดกับริดสีดวงชนิดภายนอก นอกจากนี้มักจะเกิดภาวะเลือดออก โลหิตจางจากการเสียเลือดขณะขับถ่าย หรือเกิดการติดเชื้อเป็นผลจากการรักษา

 

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า