ผงขิง
ขิง

ยาสมุนไพรบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน

คลื่นไส้คืออาการอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทสมอง ความสมดุลของหูชั้นใน และเกิดได้จากปัญหาทางด้านจิตใจ

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

ขิง

ขิง

ชื่ออื่นๆ : ขิงแดง , ขิงแกลง (จันทบุรี) ขิงบ้าน , ขิงแครง , ขิงป่า , ขิงเขา , ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) , ขิงเผือก (เชียงใหม่) , สะแอ (แม่ฮ่องสอน-กระเหรี่ยง) , เกีย (จีนแต้จิ๋ว)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Zingiber officinale Roscoe.

ชื่อพ้อง : Ginger

ชื่ออังกฤษ : Cultivated banana

วงศ์:  Zingiberaceae

องค์ประกอบทางเคมีของขิง

เหง้าขิง พบ Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol

น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol

ลำต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol

ใบ พบ Shikimic acid

ขิงมีน้ำมันระเหยง่าย เช่น Zingiberol, Zingiberene, Phellandrene, Camphene, Citral, Linalool, Methylheptenone, Nonyl aldehyde-Borneol

อนุพันธ์ของ gingerol, shogaol และ diarylheptanoids มีฤทธิ์ต้านการอาเจียน และช่วยขับลม นอกจากนี้สารในน้ำมันหอมระเหย เช่น menthol, cineole มีผลลดอาการจุกเสียดได้ 

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • ยาแก้อาเจียน
    -ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
    -นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
  • ยาขมเจริญอาหาร
    ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ

          ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัมผงแห้งชงกับน้ำดื่ม

  • แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
    - น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    - ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
    - ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
    - ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
  • แก้ไอและขับเสมหะ
    ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

 

 

งานวิจัยทางคลินิค

  1. อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีหรือเอดส์

สรรพคุณบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนของขิงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคนี้ที่มักได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรค โดยจากการศึกษาผู้ป่วยจำนวน 102 คน แบ่งให้

  • กลุ่มหนึ่งรับประทานขิง 500 กรัม
  • กลุ่มรับประทานยาหลอก

ทั้ง 2 กลุ่มทานยาวันละ 2 ครั้ง ในช่วง 30 นาทีก่อนจะได้รับยารักษาโรคเอดส์อย่างยาต้านรีโทรไวรัส เป็นเวลาทั้งหมด 14 วัน พบว่าขิงช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีได้

       2. อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังจากการผ่าตัด

ขิงอาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการผ่าตัดได้เช่นเดียวกัน โดยการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ชี้ว่าการรับประทานขิง 1-1.5 กรัม ในช่วง 1 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดนั้นดูเหมือนจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่าง 24 ชั่วโมงหลังได้รับการผ่าตัด

งานวิจัยหนึ่งทดลองแบ่งคนไข้จำนวน 122 คนที่รับการผ่าตัดต้อกระจกให้รับประทานแคปซูลขิง 1 กรัม และอีกกลุ่มได้รับแคปซูลขิง 500 มิลลิกรัม แต่แบ่งให้ 2 ครั้งก่อนผ่าตัด ซึ่งผลลัพธ์พบว่าคนไข้ในกลุ่มหลังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยครั้งและมีความรุนแรงของอาการน้อยกว่า โดยงานวิจัยนี้พบว่าการใช้ขิงนั้นน่าจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานเป็นประจำและสม่ำเสมอโดยแบ่งปริมาณการใช้

        3.อาการแพ้ท้อง

การรับประทานขิงอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือเวียนศีรษะ ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ช่วยยืนยันคุณสมบัตินี้เป็นการทดลองในหญิงที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 20 สัปดาห์ จำนวน 120 คน ซึ่งเผชิญอาการแพ้ท้องทุกวันนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และไม่รู้สึกดีขึ้นแม้จะเปลี่ยนการรับประทานอาหารแล้วก็ตาม หลังจากรับประทานสารสกัดจากขิง 125 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับขิงแห้ง 1.5 กรัม วันละ 4 ครั้ง 4 วัน ผลลัพธ์ได้แสดงให้เห็นว่าขิงอาจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะการรักษาทางเลือกต่ออาการแพ้ท้องได้

นับว่าสอดคล้องกับอีกงานวิจัยก่อนหน้าที่ชี้ว่าการรับประทานขิง 1 กรัมต่อวัน ติดต่อนาน 4 วัน สามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องได้ 

        4. อาการวิงเวียนศีรษะ

อาการที่เกิดขึ้นพร้อมกับการคลื่นไส้นี้อาจบรรเทาให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้คุณประโยชน์จากขิง จากงานวิจัยที่ทดลองด้วยการให้ผู้ที่มีอาการบ้านหมุน และตากระตุกจากการกระตุ้นโดยใช้อุณหภูมิรับประทานผงเหง้าขิง ปรากฏว่าเหง้าขิงช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก แต่ไม่ได้ช่วยลดระยะเวลาหรือชะลอการกระตุกของตามากนัก

          5. โรคข้อเสื่อม

มีการศึกษาบางงานที่ชี้ว่าขิงอาจมีสรรพคุณลดอาการเจ็บที่เกิดจากโรคข้อเสื่อม จากการทดลองหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยรับประทานสารสกัดจากขิงชนิดหนึ่ง (Zintona EC) ในปริมาณ 250 กรัม วันละ 4 ครั้ง พบว่าช่วยลดอาการปวดข้อเข่าหลังจากการรักษาเป็นเวลา 3 เดือน ส่วนอีกงานวิจัยที่ใช้สารสกัดจากขิงผสมกับข่า พบว่าให้ผลลัพธ์ในการช่วยลดอาการเจ็บขณะยืน อาการเจ็บหลังเดิน และอาการข้อติด

นอกจากนี้ มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างขิงและยาแก้ปวด โดยให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบในกระดูกสะโพกและข้อเข่ารับประทานสารสกัดขิง 500 มิลลิกรัมทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ขิงให้ผลบรรเทาอาการปวดได้เทียบเท่ากับการใช้ยาไอบูโพรเฟน 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง 

ยังมีงานวิจัยที่แนะนำว่าการนวดด้วยน้ำมันที่มีส่วนผสมของขิงและส้มอาจช่วยบรรเทาอาการปวดและเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ ของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเข่าได้ด้วย

            6. อาการปวดประจำเดือน มีการทดลองในนักศึกษามหาวิทยาลัย 120 คน โดยให้รับประทานผงเหง้าขิงครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งในช่วง 2 วันก่อนเริ่มมีประจำเดือนต่อเนื่องไปจนถึง 3 วันแรกของการมีประจำเดือน รวมทั้งหมดเป็น 5 วัน พบว่าผงเหง้าขิงมีส่วนช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้อย่างมีนัยสำคัญ

ด้านการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขิงและยาลดอาการปวดประจำเดือนอย่างเมเฟนามิค (Mefenamic acid) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 400 มิลลิกรัม ในอาสาสมัคร 150 คน โดยแบ่งกลุ่มรับประทานแคปซูลขิงหรือยาแต่ละชนิดในปริมาณ 250 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน โดยเริ่มตั้งแต่มีประจำเดือน ผลลัพธ์ปรากฏไปในทิศทางเดียวกันกับงานวิจัยแรก คือ ขิงมีประสิทธิภาพบรรเทาความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนไม่แตกต่างกับการใช้ยาเมเฟนามิคหรือไอบูโพรเฟน

การรักษาที่อาจไม่ได้ผล

อาการเมารถและเมาเรือ นับเป็นสรรพคุณของขิงที่มีการกล่าวถึงกันมาก ทว่าแม้ขิงอาจจะช่วยลดอาการวิงเวียนได้ แต่สำหรับการวิงเวียนคลื่นไส้ที่เกิดจากการเดินทางนั้น งานวิจัยส่วนมากระบุว่าขิงอาจไม่มีส่วนช่วยได้จริง เช่น การแบ่งกลุ่มให้นักเรียนนายเรือ 80 คนที่ไม่คุ้นเคยกับการออกเรือท่ามกลางทะเลที่มีคลื่นแรง รับประทานเหง้าขิง 1 กรัม เทียบกับอีกกลุ่มที่รับประทานยาหลอก ปรากฏว่ากลุ่มที่รับประทานขิงนั้นมีอาการคลื่นไส้และวิงเวียนน้อยลงจริงแต่อยู่ในระดับเล็กน้อยเท่านั้น หรือ

อีกงานวิจัยที่ชี้ว่าการรับประทานผงขิงในปริมาณ 500 กรัม 1,000 กรัม หรือเหง้าขิงสด 1,000 มิลลิกรัม ต่างไม่มีส่วนช่วยในการป้องกันอาการเมารถหรือการทำงานของกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาการเมารถที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่ประการใด

อาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ แต่บางคนมีอาการแพ้ท้องเร็วกว่านี้คือประมาณสัปดาห์ที่ 4 คุณแม่มือใหม่ที่มีอาการแพ้ท้องจะรู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ คล้ายอยากจะอาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ของการเริ่มตั้งครรภ์ โดยทั่วไปอาการแพ้ท้องจะเป็นอาการที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ป่วย บางรายมีอาการวิงเวียนศีรษะ รู้สึกเหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ซึ่งในแต่ละรายจะมีความแตกต่างกันออกไปจนแทบครอบคลุมหลายอาการ  

ทำไมถึงต้องแพ้ท้อง

อาจมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนฮอร์โมนที่รกและเด็กสร้างขึ้นในร่างกาย เช่น การเพิ่มของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือฮอร์โมนฮิวแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) บางส่วนอาจจะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสภาวะทางจิตใจ อย่างความเครียด ความไวต่อการรับกลิ่น หรือแม้แต่กลไกธรรมชาติของร่างกายที่ไม่รับประทานอะไรที่เสี่ยงต่อทารกในครรภ์

ถึงแม้อาการแพ้ท้องอาจจะเป็นอาการที่คุณแม่หลายคนไม่อยากเผชิญ แต่อย่างน้อยในทางการแพทย์เชื่อว่าอาการแพ้ท้องที่ไม่มากจนเกินไปเป็นสัญญาณในการบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ที่ดี เนื่องจากมีการพัฒนาและสร้างฮอร์โมนหลายตัว โดยเฉพาะฮอร์โมน HCG ซึ่งคาดว่ามีส่วนทำให้เกิดอาการแพ้ท้องขึ้นได้

 

คำแนะนำเพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้องดังนี้

  1. รับประทานปริมาณน้อยลง แต่ถี่มากขึ้น การปล่อยให้ท้องว่างจะยิ่งทำให้อาการแพ้ท้องแย่ลง ในแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อย แต่รับประทานให้บ่อยขึ้น เพื่อช่วยปรับความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ หรืออาจรับประทานอาหารเบา ๆ ย่อยง่าย และมีประโยชน์ต่อร่างกายในระหว่างวัน
  2. หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด และรสจัด อาหารบางประเภทที่อาจไปกระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้ผิดปกติ และทำให้รู้สึกอยากอาเจียนได้ง่ายขึ้น เช่น อาหารไขมันสูง อาหารทอด อาหารรสจัด หรือมีกรดสูง เปลี่ยนมาเป็นการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนสูง และวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการแพ้ท้องให้น้อยลง
  3. รับประทานเย็นดีกว่าร้อน การเลือกรับประทานอาหารในอุณหภูมิห้องหรืออาหารที่เย็นจะช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าอาหารร้อนที่ปรุงสุกใหม่ เนื่องจากกลิ่นของอาหารขณะร้อน ๆ อาจไปกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนได้ง่าย
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจส่งผลต่ออาการแพ้ท้องที่แย่ลง ยิ่งทำให้เวียนหัว เหนื่อยง่าย และไปกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนง่ายขึ้น ทางที่ดีควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ดีกว่าการเข้านอนดึก ๆ ถ้ารู้สึกเวียนหัวในตอนกลางวัน การเอนหลังและงีบหลับสักพักจะช่วยให้รูสึกดีขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น อาการแพ้ท้องอาจแย่ลงเมื่อได้รับการกระตุ้น เนื่องจากความไวต่อการรับกลิ่นต่าง ๆ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชวนให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่าย หรืออาจจะสร้างบรรยากาศในบ้านด้วยกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่ชอบ
  6. สดชื่นเข้าไว้ หากิจกรรมเพลิน ๆ ที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการแพ้ท้อง เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เล่นเกม ปลูกต้นไม้ เพื่อไม่ให้จมกับความรู้สึกที่ยิ่งสร้างความห่อเหี่ยวจากอาการไม่สบายตัวของการแพ้ท้อง
  7. อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน หรือจิบน้ำบ่อย ๆ ระหว่างวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ หากอาเจียนจนไม่สามารถรับประทานอะไรได้ ควรหาสิ่งทดแทนที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เช่น น้ำหวาน ลูกอม ไอศกรีม น้ำผลไม้ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทที่มีคาเฟอีน นอกจากนี้การจิบน้ำขิงอุ่น ๆ อาจลดอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนได้ดี

 

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า