มะระขี้นก
มะรุม

ยาสมุนไพรช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากความบกพร่องของตับอ่อน และฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย อาการสำคัญที่สังเกตได้คือ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

มะรุม

มะรุม เป็นพืชพื้นบ้านที่มีประโยชน์มากมาย รับประทานได้แทบทุกส่วน เช่น ยอดอ่อน ใบ ฝัก ดอก เมล็ด ราก จึงไม่แปลกที่คนโบราณจะนำมาประกอบอาหาร 

รู้จักมะรุม
มะรุม (Moringa) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย เจริญเติบโตได้ง่าย และทนทานต่อความแห้งแล้ง มีลำต้นตั้งตรงสีน้ำตาล มีกิ่งก้าน ใบรูปไข่ความยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร เรียงกันแบบสลับ ออกดอกสีขาวเป็นช่อในช่วงฤดูหนาว แต่บางพันธุ์ก็ออกดอกได้หลายครั้งในรอบปี ผลมีลักษณะเป็นฝักสีเขียว ยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ฝักมีรสชาติหวาน เมล็ดรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก

ข้อควรระวัง

  • หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งลูกได้สูง
  • ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้
  • สำหรับผู้ที่รับประทานมะรุมต่อเนื่องเป็นเวลาควรตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานพบเอนไซม์เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นควรใส่ใจกับข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณด้วย ควรเลือกใบที่ไม่แก่หรือไม่อ่อนเกินไป รับประทานสดๆ และไม่ถูกความร้อนมากเกินไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารอาหารเต็มที่

 

มะรุมกับการลดระดับน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน และอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ จึงจำเป็นต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป มีหลายการศึกษาชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของมะรุมที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยให้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 10 คนรับประทานผงใบมะรุมชนิดแคปซูล พบว่าการรับประทานผงมะรุมชนิดแคปซูลขนาด 4 กรัมส่งผลให้อาสาสมัครมีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างของค่าน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดก็ตาม และจากผลการทดลองได้แนะนำว่าใบมะรุมอาจมีศักยภาพในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

ความปลอดภัยของการรับประทานมะรุม

การรับประทานมะรุมทั้งส่วนใบ ฝัก และเมล็ดค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานเป็นอาหารในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรรับประทานรากและสารสกัดจากรากของต้นมะรุมเพราะอาจมีสารพิษซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพาตหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยหากรับประทานมะรุมเพื่อเป็นยารักษาโรค

เนื่องจากสารเคมีที่อยู่ในราก เปลือก และดอกของมะรุมอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ อาจทำให้มดลูกหดตัวและเป็นสาเหตุให้แท้ง อีกทั้งงานวิจัยบางชิ้นได้แนะนำว่าการรับประทานมะรุมในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามาก แต่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการรับประทานมะรุมในช่วงนี้ ทางที่ดีจึงไม่ควรรับประทานมะรุมหากกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

 

มะระขี้นก

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตัวด้วยการรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นอาหารอุดมด้วยสารอาหารและเส้นใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีทั้งหลาย รวมถึงปรับการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและของหวาน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยในการช่วยให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลงและเพิ่มความไวต่ออินซูลินของผู้ป่วย

มะระขี้นก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Momordica charantia (MC) อยู่ในวงศ์ Cucurbitace  สามารถเพาะปลูกได้ในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศในแถบอเมริกาใต้ แอฟริกาตะวันออก และเอเชีย เป็นผักที่ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์สารพัดและยังถูกนำมาใช้เป็นยารักษาอาการป่วยต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน สารพฤกษเคมีที่เป็นสารออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล คือ momocharin, momordicin และ charantin 

สำหรับข้อยืนยันทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคุณสมบัติของมะระต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้น มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยเปรียบเทียบกับยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งเป็นยาลดน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 4 กลุ่ม ให้รับประทานมะระวันละ 500 กรัม 1,000 กรัม และ 2,000 มิลลิกรัม/วัน ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสุดท้ายให้ใช้ยาเมทฟอร์มินในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่รับประทานมะระวันละ 2,000 มิลลิกรัม/วัน มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างชัดเจน แต่เมื่อเทียบกับการใช้เมทฟอร์มินแล้ว ประสิทธิภาพในการรักษาของมะระยังมีน้อยกว่า อย่างไรก็ดี งานวิจัยเก่า ๆ บางงานเองก็กล่าวว่าการรับประทานมะระน่าจะมีความเกี่ยวโยงกับการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกัน

 

กลไกการออกฤทธิ์ของมะระขี้นกในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

  1. กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
  2. เพิ่มความไวในการตอบสนองต่ออินซูลินของกล้ามเนื้อ
  3. ลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์บริเวณลำไส้เล็กโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ sucrase ที่บริเวณ mucosa ของลำไส้เล็ก
  4. เพิ่มการทำงานของเอนไซม์hexokinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต

อาการไม่พึงประสงคและความเป็นพิษ

การทานมะระขี้นก อาจทำให้มีผลข้างเคียงบ้าง เช่น
1. ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด และคลื่นไส้อาเจียน
2. ระบบผิวหนัง ได้แก่ ผื่น คัน

บทสรุป
ปัจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ลดดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาโรคเบาหวาน มะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่มีการใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวานตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน แม้ว่ากลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับการหลั่งอินซูริน การลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าเซลล์

 

 

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า