รวงผึ้ง

ยาพ่นฆ่าเชื้อในช่องปาก

เป็นสเปรย์พ่นปากลดอาการอักเสบบริเวณช่องปาก และลำคอ การใช้สเปรย์พ่นคอ  เป็นอีกหนึ่งในวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเริ่มมีอาการป่วยติดเชื้อในช่องปากและคอ

 


เกร็ดความรู้เรื่องยาพ่นแก้เจ็บคอ

ประโยชน์ยาพ่นในช่องปากและคอ

  • บรรเทาอาการเจ็บคอ ระคายคอ ทอนซิลอักเสบ
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราที่ก่อโรคในช่องปากและลำคอ
  • ให้ความชุ่มชื้นกับลำคอ ช่วยลดอาการคอแห้ง เสียงแหบ ไม่มีเสียง หลอดเสียงอักเสบ ระคายเคือง
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน รวมถึงอาการปวดหลังการถอนฟันหรือจัดฟัน
  • ช่วยลดการอักเสบและลดบวม เช่น เหงือกอักเสบ เหงือกบวม เนื้อเยื่อรอบฟันอักเสบ เบ้าฟันอักเสบ รากฟันอักเสบ
  • สมานแผลในช่องปากและลำคอ เช่น แผลร้อนใน แผลในปาก

วิธีและข้อควรระวังในการใช้

  • ใช้ฉีดพ่นภายในช่องปากและลำคอครั้งละ 2-3 พัฟ วันละ 2-3 ครั้ง หรือบ่อยตามที่ต้องการ โดยอาจใช้วิธีการฉีดพ่นในช่องปากและลำคอตามปกติ หรืออาจฉีดพ่นลงในสำลีพันปลายไม้แล้วใช้ป้ายแผลในปาก หรือป้ายเหงือกและฟันในบริเวณที่มีอาการก็ได้
  • ผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้หรือผลิตภัณฑ์จากรังผึ้ง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  • ในเด็กสามารถใช้ได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ได้เมื่ออายุครรภ์พ้นไตรมาสแรก (พ้น 3 เดือนแรก) เพราะยามีแอลกอฮอลล์ผสมอยู่
  • ควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส และเก็บให้พ้นแสงแดด ส่วนวันหมดอายุสามารถดูได้ที่ข้างขวด (ปกติจะมีอายุ 3 ปีนับจากวันผลิต)

สิ่งที่ควรรู้

โรคไข้หวัด โดยปกติมักจะระบาดในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันเราพบว่า โรคไข้หวัด สามารถระบาดได้ตลอดทั้งปีเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ซึ่งอาการของโรคไข้หวัดนั้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ความแข็งแรงของร่างกาย และสาเหตุของโรค เพราะโรคไข้หวัดสามารถเกิดจากทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย แล้วเราจะทราบได้อย่างงไรล่ะว่า ... เราเป็นหวัดจากไวรัสหรือแบคเรียกันแน่?

บทความล่าสุด

โรคข้อเข่าเสื่อม : อาการ สาเหตุ และวิธีการดูแล

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมของข้อเข่า ในส่วนของกระดูกอ่อนผิวข้อ

ปัสสาวะไม่ออก เสี่ยงกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ

ปัสสาวะไม่ออก พบบ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อาการอาจไม่รุนแรง แต่เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดได้

อาหารไม่ย่อย..ดูแลอย่างไร

โรคอาหารไม่ย่อย เป็นโรคที่มีหลากหลายอาการ เป็นภาวะเรื้อรัง ความทำความเข้าใจต่อโรคเป็นสิ่งสำคัญ