ยาดม
ยาหม่อง

ยาหม่อง

ยาหม่อง เป็นยาทาภายนอกสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ อาการปวด บวม อักเสบจากแมลงกัดต่อย หรือใช้ดมเพื่อช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืด เป็นลม

 

46 บาท129 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
65 บาท115 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ยาหม่อง

ถ้าเราสูดดมยาหม่องเป็นประจำจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ยาหม่องจัดเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีการใช้กันมาเป็นเวลานานจนทำให้บางคนถึง กับต้องมียาหม่องติดตัวเพื่ออยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นยาสามัญประจำตัวไป

ยาหม่องที่มีอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายยี่ห้อหลายรูปแบบ ทั้งชนิดที่เป็นขี้ผึ้งหรือชนิดน้ำ ซึ่งส่วนประกอบในแต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วส่วนประกอบในยาหม่องมักจะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) เช่น menthol, การบูร, อบเชย, สะระแหน่ เป็นต้น และนอกจากนี้ยาหม่องบางสูตรอาจมี mehtyl salicylate ผสมอยู่เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยอีกด้วย

ข้อบ่งใช้ของยาหม่อง ได้แก่ บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แมลงสัตว์กัดต่อย

ข้อมูลจากการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยาหม่องเป็นระยะเวลานานนั้นยังไม่มีปรากฏ

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารที่เป็นส่วนประกอบของยาหม่อง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นระบุในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ของศูนย์ ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ ว่าอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกได้จากสารบางชนิดเช่น menthol

พบข้อมูลว่าหากสูดดมมากเกินไป(ไม่ได้ระบุไว้ว่ามากแค่ไหน) อาจทำให้เกิดอาการมึนงง สับสน มองเห็นภาพซ้อน และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้และลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงและความเป็นพิษ ควรใช้ยาหม่องเมื่อจำเป็นเท่านั้น

เสลดพังพอน

ชื่ออื่นๆ / ชื่อท้องถิ่น  เสลดพังพอนตัวผู้ พิมเสนต้น ทองระอา  ช้องระอา  ลิ้นงูเห่า  (ภาคกลาง กรุงเทพ) ก้านชั่ว ค้นชั่ว (ตาก) เช็กเชเกี่ยม ฮวยเฮียะ แกโตว่เกียง (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Barleria lupulina Lindl.

ชื่อสามัญ  Hop Headed Barleria

วงศ์   ACANTHACEAE

 

องค์ประกอบทางเคมี

สารออกฤทธิ์ในส่วนต่าง ๆ ของเสลดพังพอน มีดังนี้  Bataine, Scutellarein-7-Rhamnosyl glucoside  และสารกลุ่ม Iridiod glycoside,เช่น Acetyl barlerin , Shanzhiside methyl ester.8-0-acetyl shanzhiside methyl ester., 6-0-acetylshanzhiside methyl ester.

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ลดการอักเสบ สาร iridoids 4 ชนิด จากเสลดพังพอนตัวผู้ คือ shanzhiside methyl ester (I), 8-O-acetyl-shanzhiside methyl ester (II), 6-O-acetylshanzhiside methyl ester (III) และ acetyl barlerin (IV) มีฤทธิ์ลดบวมที่ข้อเท้าหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย carrageenan โดยมีลำดับการออกฤทธิ์ของสารจากมากไปน้อย คือ III > I > II> = IV

สารสกัดเมทานอลของส่วนเหนือดินของต้นเสลดพังพอนตัวผู้ มีฤทธิ์ลดการอักเสบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังในหนูแรท โดยไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีรายงานว่าสาร iridoids บางชนิดจากเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์ลดการอักเสบ

ฤทธิ์ต้านเริม สารสกัดน้ำจากใบไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง Herpes simplex virus type 2 (HSV2) ด้วยวิธีทดสอบ plaque inhibition assay และไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Herpes simplex virus type 1 (HSV1) ส่วนสกัดน้ำจากทั้งต้นที่ขนาดความเข้มข้นไม่เป็นพิษต่อเซลล์วีโร ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง HSV1 เช่นกัน

สารสกัดเมทานอลจากใบและกิ่ง เมื่อทดสอบด้วยวิธี plaque inhibition assay พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HSV2 จากผู้ป่วยโรคเริม แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HSV2 strain G ซึ่งเป็นสายพันธุ์มาตรฐาน เมื่อทดสอบด้วยวิธี yield reduction assay พบว่าสารสกัดดังกล่าวยับยั้งเชื้อ HSV2 strain G และเชื้อที่ได้จากผู้ป่วย

ฤทธิ์แก้ปวด เมื่อป้อนสารสกัดคลอโรฟอร์มจากส่วนเหนือดิน ขนาด 125-500 มก./กก. เข้าทางปากหนูถีบจักร พบว่าสามารถลดจำนวนของการบิดและยืดของลำตัวเมื่อถูกกระตุ้นโดยกรดอะเซติก ผลของสารสกัดจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารสกัดที่ใช้ ลดช่วงเวลาของการเลียขาในระยะหลังของการทดสอบเมื่อถูกกระตุ้นโดยฟอร์มาลิน สารสกัดนี้ไม่มีผลต่อการทดสอบด้วยความร้อน จากผลของการทดลองแสดงว่าสารสกัดมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้เมื่อใช้ acetic acid หรือ formalin แต่ใช้ความร้อนไม่ได้ผล

กล้ามเนื้อ

โรคของคนไทยอันดับ ๓ อันดับ ๔ จะเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ การที่คนเรามีกล้ามเนื้อจะช่วยให้เราลดปัญหาของกระดูกและกล้ามเนื้อลงไปได้มาก คนเราพอมีอายุมากขึ้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับไขข้อ เส้นเอ็น ถ้ามีกล้ามเนื้อมาก กล้ามเนื้อจะห่อหุ้มข้อต่อต่างๆ คล้ายเราเอาไม้ไปค้ำยัน ต้นไม้ที่กำลังจะล้ม กล้ามเนื้อคล้ายมีไม้ค้ำยัน ทำให้ต้นไม้ไม่ล้ม เพราะฉะนั้นมีกล้ามดีกว่าไม่มีกล้าม

กล้ามเนื้อคนเรามี ๓ ชนิด คือ

๑. กล้ามเนื้อลาย คือ กล้ามที่เราเห็นทั่วไปในร่างกาย

กล้ามเนื้อลายทำให้โครงสร้างของร่างกายมีทรวดทรง และเป็นรูปร่างได้ หน้าที่อันสำคัญของกล้ามเนื้อลาย ก็คือ เป็นแหล่งกำเนิดของแรง (force) ที่จะทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวได้ เราสามารถควบคุมให้หด-คลายได้ตามใจ

๒. กล้ามเนื้อเรียบ จะอยู่ในกระเพาะ ลำไส้ และอวัยวะภายในของเรา
การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ เราไปบังคับ ให้กระเพาะหดตัว ลำไส้หดตัวตามใจของเราไม่ได้

๓. กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อพิเศษที่หดตัวเองโดยอัตโนมัติ โดยการควบคุมด้วยตัวเอง จะมีจุดประสาทในหัวใจคอยบังคับให้เต้นเร็ว-ช้าเอง และจะทำงานตลอดไป กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มหดตัวครั้งแรกตอนเราอายุ ๓ เดือนในท้อง และจะหยุดหดตัวตอนเราตายเท่านั้น เพราะฉะนั้นกล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักมาก และทำงานตลอดชีวิตของเรา

กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle)

กล้ามเนื้อลายไม่ได้ประกอบด้วยเซลล์หรือเส้นใยชนิดเดียวกันทั้งหมด โดยในมัดหนึ่งๆ ของกล้ามเนื้อลาย (a bundle of fibers) จะประกอบด้วยเส้นใย ๒ ชนิด คือ

  • เส้นใย (กล้ามเนื้อ) แดง (the red fibers) สีแดง - ทนแต่ไม่ค่อยแข็งแรง
  • เส้นใย (กล้ามเนื้อ) ขาว (the white fibers) สีขาว - แข็งแรง แต่ไม่ค่อยทน

กล้ามเนื้อลาย เป็นกล้ามเนื้อที่มีมากที่สุดในร่างกาย หน้าที่สำคัญคือทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในการกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยืน เดิน วิ่ง รวมถึงช่วยทรงท่าเอาไว้ขณะที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว

ไม่เพียงเท่านี้ กล้ามเนื้อลายยังมีประโยชน์ด้านอื่นเช่นเก็บสารอาหารบางอย่าง ดังนั้นการรู้จักหน้าที่ของกล้ามเนื้อลาย และศึกษาวิธีเสริมสร้าง รักษากล้ามเนื้อให้แข็งแรง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่พบเป็นส่วนใหญ่ของร่างกาย สามารถพบได้โดยง่ายใต้ผิวหนังเป็นส่วนมาก มีลักษณะเป็นมัด ทั่วร่างกายมีกล้ามเนื้อลายประมาณ 640 มัด บางครั้งอาจถูกเรียกว่า กล้ามเนื้อโครงร่าง

 

มักอยู่ตามแขนขา ลำตัว ใบหน้า เป็นต้น ปลายของมัดกล้ามเนื้อลายทั้งสองข้างมักจะเกาะติดกับกระดูกผ่านเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) จึงทำให้เมื่อมีการหดตัวหรือเคลื่อนไหว กระดูกก็จะขยับไปด้วย ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายนั่นเอง กล้ามเนื้อลายทำงานภายใต้การควบคุมของจิตใจ สามารถสั่งให้ทำงานได้เมื่อต้องการ (Voluntary muscle)

หน้าที่ของกล้ามเนื้อลาย

  • ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การ เดิน ยืน วิ่ง
  • ทรงท่าทางในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ยืนตรงโดยไม่มีการเคลื่อนไหว การที่ร่างกายสามารถตั้งลำตัวขึ้นตรงได้นั้นก็สามารถการทำงานของกล้ามเนื้อลายด้วย
  • เพิ่มความมั่นคงให้แก่ข้อต่อ เพราะเอ็นของกล้ามเนื้อหลายมัดพาดผ่านข้อต่อ เมื่อกล้ามเนื้อและเอ็นของกล้ามเนื้อแข็งแรงก็จะสามารถช่วยพยุงข้อต่อให้มั่นคงขึ้นได้ด้วย
  • เป็นแหล่งผลิตพลังงานความร้อนให้กับร่างกาย และช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เหมาะสม
  • เป็นแหล่งเก็บรักษาเกลือแร่ที่สำคัญของร่างกาย

การทำงานของกล้ามเนื้อลายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

โดยทั่วไปการทำงานของกล้ามเนื้อลาย (Muscle contraction) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • การทำงานของกล้ามเนื้อลายเกร็งนิ่ง (Isometric contraction) กล้ามเนื้อมีการหดตัว โดยความยาวของมัดกล้ามเนื้อไม่ลดลง ส่งผลให้ไม่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น
  • การทำงานของกล้ามเนื้อลายแบบมีการเคลื่อนไหว (Isotonic contraction) โดยอาจจะมีการหดตัวสั้นลง(Concentric contraction) หรือยืดยาวออก(Eccentric contraction) ของมัดกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว
  • การทำงานเกร็งค้างแบบเห็นการเคลื่อนไหว (Isokinetic contraction) การทำงานของกล้ามเนื้อลายชนิดนี้เป็นการหดตัวค้างไหวที่ความเร็วคงที่แม้ว่าจะมีแรงต้านแตกต่างกันระหว่างการเคลื่อนไหว เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อที่สังเกตเห็นได้ยากในชีวิตประจำวัน นิยมให้ในห้องทดลองเพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อที่สุขภาพดีจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง ได้แก่ ความแข็งแรง ความทนทาน และความยืดหยุ่น 

กล้ามเนื้อลายเป็นองค์ประกอบของร่างกายที่มีหน้าที่ซับซ้อน และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างปกติมาก การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องการความรู้ ความเข้าใจอย่างดี หากมีข้อสงสัยควรปรึกษานักายภาพบำบัดหรือนักวิทยศาตร์การกีฬาก่อนออกกำลังกาย โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว

บทความล่าสุด

โรคริดสีดวงทวาร:อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา และการป้องกันที่คุณควรรู้

โรคริดสีดวงทวาร เป็นภาวะที่พบได้บ่อย แม้จะไม่อันตรายรุนแรงต่อชีวิต แต่ก็ส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิตได้

โรคข้อเข่าเสื่อม : อาการ สาเหตุ และวิธีการดูแล

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมของข้อเข่า ในส่วนของกระดูกอ่อนผิวข้อ

ปัสสาวะไม่ออก เสี่ยงกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ

ปัสสาวะไม่ออก พบบ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อาการอาจไม่รุนแรง แต่เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดได้