พืชสมุนไพร
เครื่องเทศ

ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร

เนื่องจากการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงระบบเดียวไม่สามารถตอบสนองปัญหาสุขภาพได้อย่างครอบคลุม จำเป็นต้องมีทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพจึงได้นำเอายาสมุนไพรมาเป็นทางเลือก


เกร็ดความรู้เรื่องสมุนไพร

สมุนไพรไทยที่มีศักยภาพ

ประเทศไทยมีสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยาเป็นจำนวนมาก แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยให้สามารถออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ส้มแขก กระชายดำ หม่อน กวาวเครือ กระเจี๊ยบแดง ชุมเห็ดเทศ ขมิ้นชัน ไพล บัวบก และพริกไทย เนื่องจากมีศักยภาพในการ แข่งขันเชิงพานิชย์ และสมุนไพรบางชนิดในกลุ่มนี้ มีงานวิจัยรองรับในการใช้ ดังนี้

  • ขมิ้นชัน สรรพคุณ แก้ไข้เรื้อรัง แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ขับลมผายลม สมานแผล
  • กราวเครือขาว สรรพคุณ ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระชับช่องคลอด บำรุงเลือดและสมอง ช่วยทำให้ผิวพรรณดี ระบบขับถ่ายทำงานปกติ และช่วยบำรุงสายตา
  • กระชายดำ สรรพคุณ แก้โรคบิด แก้ปวดท้อง ลมป่วงทุกชนิด เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงทางเพศ ขับลม
  • บัวบก สรรพคุณ ลดความดันโลหิต แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจและช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด แก้อาการน้ำร้อนลวก และช่วยแก้อาการช้ำใน
  • ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ รักษาอาการหวัด ลดพิษไข้ ลดอาการเจ็บคอ แก้ท้องเสีย
  • มะขามป้อม สรรพคุณ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอและขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ มีไวตามินซีสูงช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน

สมุนไพรไทยประจำบ้าน 10 ชนิด

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำ สมุนไพร 10 ชนิด เพื่อเป็นสมุนไพรไทยประจำบ้านสามารถปลูกเองได้ ซึ่งมีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคและบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้

  1. กระเพราแดง : สรรพคุณแก้ปวดท้อง ท้องอืด 
  2. ขิง : แก้คลื่นไส้ อาเจียน บำรุงน้ำนม
  3. ตะไคร้ : ช่วยเจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
  4. ช้าพลู : ช่วยเจริญอาหาร ขับลม
  5. บัวบก : แก้ร้อนใน
  6. ฟ้าทะลายโจร : แก้เจ็บคอ
  7. มะกรูด : แก้ไอ บรรเทาอาการเครียด หน้ามืด วิงเวียน
  8. มะระขี้นก : ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  9. ว่านหางจระเข้ : รักษาแผลไฟไหม้ นำ้ร้อนลวก
  10. สะระแหน่ : แก้วิงเวียน ขับลม 

สมุนไพรสู้ฝุ่น PM2.5

 มีสมุนไพรหลายชนิด ที่ช่วยในการดูแลปอด มีดังนี้

  • หญ้าดอกขาว มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดหญ้าดอกขาวความเข้มข้น 10.09% มีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่ได้รับนิโคตินเป็นเวลายาวนานกว่า 6 เดือน พบว่าช่วยฟื้นฟูพยาธิสภาพของปอดให้กลับมาเป็นปกติได้ อีกทั้งยังมีการศึกษาว่าช่วยลดคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่คั่งค้างในปอด และลดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งปอดได้
  • ขมิ้นชัน มีความโดดเด่นเรื่องลดอักเสบ ผลการศึกษาพบว่า ขมิ้นชันมีผลในการปกป้องระบบหัวใจ หลอดเลือด-ปอด
  • รางจืด มีความโดดเด่นเรื่องการล้างพิษ ผลการศึกษาพบว่า รางจืดสามารถปกป้องอวัยวะจากสารพิษโลหะหนัก
  • มะขามป้อม จากงานวิจัยพบว่า การกินมะขามป้อม ช่วยลดผลกระทบจากก๊าซพิษซัลเวอร์ไดออกไซด์อันเป็นแหล่งกำเนิดของ PM2.5
  • ฟ้าทะลายโจร ที่มีความโดดเด่นเรื่องการเสริมภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ ในทางคลินิกใช้ป้องกันและรักษาหวัด ไซนัสอักเสบ ชนิดไม่รุนแรง หลอดลมอักเสบ คออักเสบ และ ทอนซิลอักเสบ

 

การใช้สมุนไพรให้ถูกต้อง ปลอดภัย

หากความประสงค์ที่จะใช้สมุนไพร

  1. ควรที่จะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสมุนไพรนั้นๆ ว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ และรู้ถึงการใช้อย่างถูกต้อง โดยอาจจะใช้หลักดังนี้คือ ใช้ให้ถูกต้น ถูกส่วน ถูกขนาด ถูกวิธี ถูกโรค
  2. การเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาใช้นั้น ควรที่จะรู้ว่าในผลิตภัณฑ์นั้นประกอบด้วยสมุนไพรอะไรบ้าง เพราะหากมีอาการแพ้เกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากสมุนไพรชนิดใด เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการระวังการใช้ครั้งต่อไป
  3. หมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพร
  4. ไม่ควรใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หากมีความต้องการใช้สมุนไพรเป็นเวลานาน ควรมีการตรวจร่างกายทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการใช้สมุนไพรเป็นระยะๆ ได้แก่ ตรวจการทำงานของตับ ไต  ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
  5. หากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้สมุนไพร ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  6. หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร และเด็กไม่ควรที่จะใช้สมุนไพรที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย เนื่องจากสารบางชนิดในสมุนไพร สามารถผ่านรก ขับออกทางน้ำนม หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

กัญชง…พืชเศรษฐกิจไทยน่ารู้

กัญชง พืชที่ชื่อคล้ายกับกัญชา แม้ว่าลักษณะภายนอกจะคล้ายกันมาก แต่กัญชงไม่ใช่พืชเสพติดเพราะมีสาร THC

6 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์

ปัจจุบันมีการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น ทำให้มีการปลดล็อคกฎหมายกัญชาเนื่องจากกัญชามีสารสำคัญที

กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย

การปลดล็อคกัญชาหมายถึงการปลดล็อคเรื่องสารสกัด ไม่ได้ถอดพืชกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดตามกฎหมาย ทุกส่ว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า