หลายคนอาจเคยได้ยิน น้ำมันกัญชา ที่มีกระแสในโลกออนไลน์กับการนำมาใช้ในวงการทางการแพทย์กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังมีอีกหลายคนที่อาจไม่รู้จัก กัญชง พืชที่ชื่อคล้ายกับกัญชาจนหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า กัญชงก็คือกัญชา แต่ความจริงแล้วแม้ว่าลักษณะภายนอกจะคล้ายคลึงกันมาก แต่กัญชงมีคุณสมบัติและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปจนถูกปลดล็อคเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
กัญชง (Hemp) คือ พืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับกัญชา มีลักษณะคล้ายคลึงกับกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กัญชงมีสาร THC ในปริมาณน้อยจึงไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือเสพติด แต่มีประโยชน์ในด้านการแพทย์และอื่นๆ
สารบัญ
กัญชงกับกัญชา เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
ทั้งคู่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากพืชชนิดเดียวกัน โดยมีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่น ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรียของประเทศเปอร์เซีย แคว้นแคชเมียร์ของประเทศอินเดีย และในทางตอนเหนือของประเทศจีน จนได้สายพันธุ์ที่มีความแตกต่างไปจากสายพันธุ์เดิมแล้วเกิดเป็นพืชที่เรียกว่า “กัญชง”
โดยต้นกัญชง หรือ Hemp จะมีลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ปล้องหรือข้อยาว แตกกิ่งก้านน้อยและแตกกิ่งไปในทิศทางเดียวกัน เปลือกให้เส้นใยยาว แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อยทำให้ผู้เสพรู้สึกปวดหัวได้ มีสาร Tetrahydrocannabinol (THC) น้อยกว่า 0.3% และมีสาร Cannabidiol (CBD) ในปริมาณมาก
ในขณะที่ต้นกัญชา หรือ Marijuana จะมีความสูงไม่ถึง 2 เมตร ปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งก้านมากและแตกกิ่งเป็นแบบสลับ เปลือกให้เส้นใยสั้น แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ใบมีประมาณ 5-7 แฉก การเรียงตัวของใบจะชิดกัน ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีสาร THC ประมาณ 5-20% และมีสาร CBD ในปริมาณน้อยกว่ากัญชง
สารประกอบทางเคมีที่พบในกัญชงและกัญชา แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ Cannabinoids, Terpenoids และ Flavonoids
สารสำคัญในกัญชงและกัญชา ที่มีการกล่าวถึง 2 ชนิด ได้แก่
- สาร Tetrahydrocannabinol (THC): มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือเสพติดได้ แต่อย่างไรก็ดีการศึกษาวิจัยทางการแพทย์พบว่า สาร THC อาจสามารถนำมาช่วยรักษาอาการและโรคต่างๆ เช่น ลดอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดอาการปวดแบบเรื้อรัง เป็นต้น
- สาร Cannabidiol (CBD): ไม่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท จึงไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือเสพติด สามารถนำมาช่วยรักษาอาการและโรคต่างๆ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวช้า โรคไขข้ออักเสบ โรคลมชัก ลมบ้าหมู โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคพาร์กินสัน ลดการอักเสบ สิว ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการวิตกกังวล ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และโรคลำไส้แปรปรวน
สารทั้งสองชนิดมีสูตรโมเลกุล คือ C21H30O2 และมวลโมเลกุลเท่ากันคือ 314 กรัมต่อโมล แต่โครงสร้างโมเลกุลแตกต่างกันคือ THC มีโครงสร้างวงแหวน 3 วง และ CBD มีโครงสร้างวงแหวน 2 วง ทั้งนี้สามารถจำแนกออกจากกันโดยใช้การพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีด้วยเทคนิค Thin layer chromatography (TLC) รวมถึงการวิเคราะห์ปริมาณด้วยเทคนิค Gas chromotography (GC)
นอกจากสารสำคัญทางสองชนิดแล้ว มักพบ Cannabinol (CBN) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการสลายตัวของ THC ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอ่อนกว่า THC ด้วย
กัญชงมีสาร THC ในปริมาณน้อยและมีสาร CBD ในปริมาณมาก ดังนั้นสารประกอบที่สกัดได้จากกัญชงจึงไม่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ความแตกต่างระหว่างกัญชงกับกัญชา
กฎหมายว่าด้วยเรื่องกัญชง
จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ลงราชกิจจานุเบกษา ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 เป็นต้นมา ได้ระบุถึงการปลดล็อคส่วนของกัญชงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติดนั้นว่าส่วนของกัญชงที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ประกอบไปด้วย
- เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
- ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
- สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบและต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนัก
- เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
- กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2%โดยน้ำหนัก
ดังนั้นส่วนที่ยังถือว่าเป็นยาเสพติด คือส่วนของช่อดอกกัญชง
ส่วนเรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองกัญชงนั้น กฎกระทรวงได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หน่วยราชการ วิสาหกิจชุมชนหรือภาคเอกชน ขออนุญาตผลิต ซึ่งทำได้ใน 2 รูปแบบคือ ปลูกและสกัด ขออนุญาตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายได้ แต่เน้นย้ำว่าต้องขออนุญาตก่อน โดยวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น
- เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานรัฐ
- เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัวเท่านั้น ทั้งนี้ มีพื้นที่ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกินหนึ่งไร่
- เพื่อประโยชน์ในเชิงพานิชย์หรืออุตสาหกรรม
- เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์
- เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์
- เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: การขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองกัญชง
ประโยชน์จากกัญชง
สรรพคุณทางยาของกัญชง
สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ โดยมีข้อมูลในการใช้จากส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนของใบ
- มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต
- ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบาย
- ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะหรือไมเกรน
- ช่วยแก้กระหาย
- ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ
- รักษาโรคเกาต์
ส่วนของเมล็ด
- ใช้เมล็ดสดเป็นยาสลายนิ่ว โดยนำเมล็ดมาเคี้ยวสดๆ
ประโยชน์ของกัญชงในด้านต่างๆ
ส่วนของเมล็ด
- สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในน้ำมันจากเมล็ดนั้นมีโอเมก้า 3 สูงมาก นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 6, โอเมก้า 9, linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้
- น้ำมันจากเมล็ดสามารถไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทำสบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู สบู่ โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิปบาล์ม หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลดี
- เมล็ดมีโปรตีนสูงสามารถนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นม ไอศกรีม น้ำมันสลัด อาหารว่าง อาหารเสริม ฯลฯ หรือผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นทางเลือกในการบริโภคแทนถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืช GMOs ได้
ส่วนของลำต้น
- เปลือกจากลำต้นให้เส้นใยเพื่อนำไปใช้ทำเป็นเส้นด้ายและเชือก ใช้สำหรับการทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่มต่างๆ
- เนื้อของลำต้นที่ลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้
- แกนของต้นกัญชงจะมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำหรือน้ำมันได้ดี นิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้, Alcohol, Ethanol, Methanol นอกจากนี้แกนกัญชงยังถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์
- กัญชงจัดเป็นเส้นใยมงคลที่ชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาตัดกิโมโน เพราะเป็นผ้าที่มีความทนทานนับร้อยปี
ส่วนของใบ
- สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นอาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมไปถึงการนำมาเป็นผงผสมกับสารอาหารอื่น ๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริม และยังใช้ประโยชน์โดยนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง
สรุป
ถึงแม้ลักษณะภายนอกจะคล้ายกับกัญชา แต่กัญชงมีสาร THC น้อยกว่า 0.3% จึงไม่มีฤทธิ์ที่ทำให้มึนเมา ส่วนต่างๆของต้นกัญชงยกเว้นช่อดอกไม่เป็นยาเสพติด ทุกภาคส่วนสามารถปลูกกัญชงได้ แต่ต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง กัญชงมีสาร CBD ในปริมาณมากจึงสามารถนำมาใช้บรรเทาอาการหรือรักษาโรคได้ และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในแง่อุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์
ดังนั้นปัจจุบันจึงถือได้ว่ากัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งของไทยที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมเส้นใย อาหารและเครื่องสำอางที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศไทยได้
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์
459 บาท399 บาทแนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
160 บาท100 บาทยาเบญจกูล
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก
อินอควา (หนัก 10กรัม)
ไบโอฟลอร์ผง
ไบโอฟลอร์แคปซูล
ฮีรูดอยด์ เอสเซ้นส์ (หนัก 110 กรัม)
ดราก้อนบลัด (หนัก 10-20-30 กรัม)
มาร์ คิดส์ โนส
255 บาท190 บาทแผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา