Category Archives: ร้านขายยา
ร้านขายยา
ร้านขายยา ร้านยา หรือ สถานบริบาลเภสัชกรรม เป็นหน่วยบริการทางสาธารณสุขหน่วยหนึ่งที่ช่วยในการให้คำปรึกษาเรื่องยากับประชาชน หรือผู้ที่เจ็บป่วยเบื้องต้นแบบไม่ซับซ้อน
ไม่ว่าจะเป็นร้านขายยา ร้านยา สถานบริบาลเภสัชกรรม ล้วนเป็นธุรกิจที่มีกฏหมายควบคุม การเปิดให้บริการต้องขอใบอนุญาตขายยา ซึ่งผู้ขออนุญาตจะเป็นเภสัชกรหรือบุคคลทั่วไปก็ได้ แต่จะต้องมีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเป็นเภสัชกรที่มีใบประกอบโรคศิลปะเท่านั้น
ปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานร้านขายยาเป็น 2 ประเภท คือ
1.มาตรฐานร้านขายยา GPP ( Good practice pharmacy ) รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข
2. มาตรฐานร้านยาคุณภาพ รับรองโดยสภาเภสัชกรรม
การกำจัดยาออกจากร่างกาย
อวัยวะที่ทำหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปปัสสาวะ คือไต ยาที่ถูกกำจัดออกทางไตมีอยู่ 2 รูปแบบคือ ส่วนที่เป็นพิษต่อร่างกาย และ ส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแต่มีมากเกินความต้องการ โดยจะต้องถูกเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในสภาพที่ละลายน้ำได้ก่อน
ตับเกี่ยวข้องกับยาอย่างไร
ขบวนการเปลี่ยนแปลงยาหรือที่เรียกว่า เมทาบอลิซึม (metabolism)เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นที่ตับ เช่น ยาบางตัวอาจอยู่ในรูปที่ไม่ออกฤทธิ์ ต้องอาศัยตับเปลี่ยนเป็นสารที่ออกฤทธิ์ได้ และยังช่วยทำลายยาให้เสื่อมฤทธิ์หรืออยู่ในสภาพละลายน้ำ พร้อมที่จะขับทิ้งได้อย่างปลอดภัย
แม่ให้นมบุตรใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย
มีการสนับสนุนให้สตรีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะได้ประโยชน์มากมายต่อทั้งตัวคุณแม่และตัวเด็ก ปกติระยะเวลาให้นมจะใช้เวลานานประมาณ 3-6 เดือน เพราะฉะนั้น การใช้ยาของคุณแม่ในช่วงนี้จึงต้องมีความตระหนักถึงความปลอดภัยทั้งต่อตัวแม่เองและเด็กที่ดื่มนมแม่ด้วย
คนท้องใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก
จากการสำรวจการใช้ยาในสตรีไทยที่ตั้งครรภ์ พบว่าร้อยละ 22 ซื้อยากินเองในระหว่างตั้งท้อง การใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์ มีข้อควรระวังเป็นพิเศษ เพราะว่ายาบางตัวจะก่ออันตรายหรืออาการไม่พึงประสงค์ทั้งต่อแม่ต่อทารกในครรภ์ได้
การใช้ยาในผู้ป่วยเด็ก
ร่างกายเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่หลายอย่าง ดังนั้นการใช้ยาในเด็กจึงมีความจำเพาะเจาะจง จะไม่นำการใช้ยาของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่มาอ้างอิง เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก และสิ่งสำคัญคือผู้ปกครองควรขอคำแนะจากแพทย์หรือเภสัชกรในการใช้ยากับเด็กเล็กไม่เกิน 5 ปี
ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีการใช้ยาปริมาณมากเมื่อเทียบกับประชากรวัยอื่นๆ ทั้งแบบที่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง และการหาซื้อยามารับประทานเอง จุดประสงค์ของการใช้ยาในผู้สูงอายุคือ เพื่อป้องกันหรือรักษาโรค เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น
ฉลากยาและเอกสารกำกับยาสำคัญอย่างไร
เมื่อเราได้รับยามาควรอ่านทั้งฉลากยาและเอกสารกำกับยาสำหรับผู้ใช้ยา ควบคู่ไปกับการรับฟังคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพราะการได้รับข้อมูลมากมายโดยปราศจากคำอธิบายชี้แจงจากผู้รู้ เป็นดาบสองคมคะ โดยเฉพาะกรณีที่เราไม่มีประสบการณ์การใช้มากพอ
รูปแบบยามีความสำคัญอย่างไรต่อการใช้ยา
การที่จะผลิตยาออกมาในรูปแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวยาสำคัญ และความต้องการนำยาเข้าไปในร่างกายทางไหนด้วยว่าเหมาะสมที่สุด ยาต่างรูปแบบ มีเทคนิควิธีใช้ต่างกัน การจะใช้ให้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยา ควรขอคำแนะนำจากเภสัชกรทุกครั้ง
ยาตีกัน
เรื่องยาตีกันเป็นเรื่องยากต่อการทำความเข้าใจ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมีผลต่อการรักษาและสุขภาพของเรา อย่างน้อยเราควรรู้ว่ายาตีกันคืออะไร มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ยาตีกัน และวิธีหลีกเลี่ยงปัญหายาตีกันทำได้อย่าไร
ยาตีกันกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านี้ บ่อยครั้งจะเป็นการหาซื้อใช้เองโดยไม่ได้ปรึกษาหรือแจ้งแพทย์และเภสัชกร เพราะว่ามองข้ามความสำคัญความปลอดภัยในการใช้ร่วมกันกับยา โดยไม่ทราบว่ามันสามารถตีกันจนเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ทางการแพทย์เรียกว่า อันตรกริยาต่อกัน
- 1
- 2