เหงือกปลาหมอ

ยาสมุนไพรรักษาแผล

บาดแผลมี 2 ชนิดคือ 1.บาดแผลปิด เป็นการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง เช่น แผลฟกช้ำ  2.บาดแผลเปิด เป็นการฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น : แก้มหมอ (สตูล) , อีเกร็ง (ภาคกลาง) , แก้มหมอเล (กระบี่) , นางเกร็ง,จะเกร็ง ฯลฯ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl. (เหงือกปลาหมอดอกสีขาว) Acanthus ilicifolius L. var. ilicifolius (เหงือกปลาหมอดอกสีม่วง)

ชื่อสามัญ  :Sea Holly.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ถิ่นกำเนิดเหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอนับว่าเป็นสมุนไพรพื้นถิ่นของไทยเราเพราะมีประวัติในการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรมาตั้งแต่โบราณแล้ว ซึ่งเหงือกปลาหมอนี้เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้งและมักจะพบมากในบริเวณป่าชายเลน หรือตามพื้นที่ชายน้ำริมฝั่งคลอง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและมีความชื้นสูง หรือในแถบที่ดินเค็มและไม่ชอบที่ดอน แถบภาคอีสารก็มีรายงายว่าปลูกได้เช่นกัน เหงือกปลาหมอ พบอยู่ 2 พันธุ์ คือ

  • ชนิดดอกสีขาว Acanthus ebracteatus Vahl พบมากในภาคกลางและภาคตะวันออก
  • ชนิดดอกสีม่วง Acanthus ilicifolius L. พบทางภาคใต้ อีกทั้งเหงือกปลาหมอยังเป็นพันธุ์ไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย

องค์ประกอบทางเคมี
ในใบพบสาร :  alpha-amyrin , beta-amyrin , ursolic acid apigenin-7-O-beta-D-glucuronide ,methyl apigenin-7-O-beta-glucuronate campesterol,  28-isofucosterol, beta-sitosterol

ในรากพบสาร : benzoxazoline-2-one, daucosterol , octacosan-1-ol , stigmasterol

ทั้งต้นพบสาร : acanthicifoline , lupeol , oleanolic acid , quercetin ,              isoquercetin , trigon

 

สรรพคุณพื้นบ้าน : 

ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ

ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย

ราก - ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด  รักษามุตกิดระดูขาว

เมล็ด - ปิดพอกฝี  ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

  • ฤทธิ์ลดการอักเสบ : มีการวิเคราะห์สารสำคัญของเหงือกปลาหมอดอกม่วงที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่าสารนั้นเป็นพวก dimeric oxazolinone ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น 5,5¢-bis-benzoxazoline-2,2¢-dione โดยไปยับยั้งการสร้าง leukotriene B-4 
  • ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย : การทดสอบเมล็ดเหงือกปลาหมอ พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus
  • ฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น : มีการทดสอบสารสกัดจากใบของเหงือกปลาหมอดอกม่วงและผล พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น superoxide radical, hydroxyl radical, nitric oxide radical และ lipid peroxide เป็นต้น 
  • ฤทธิ์การเพิ่มภูมิต้านทาน : พบว่าสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ของเหงือกปลาหมอดอกม่วง สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของ lymphocytes ได้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
แม้ในการศึกษาทางด้านพิษวิทยาและการทดสอบความเป็นพิษของเหงือกปลาหมอทั้งชนิดดอกสีม่วงและชนิดดอกสีขาว จะมีผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ไม่มีพิษแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรเหงือกปลาหมอก็คล้ายกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นนั้นก็คือ ไม่ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่สูง และใช้เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติหรือผลข้างเคียงต่อระบบต่างๆของร่างกายได้

 

แผลพุพอง

แผลพุพอง (Impetigo/Ecthyma)

เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง โดยจะพบเป็นผื่นแดง คัน กลายเป็นตุ่มหนองแตกง่าย ตกสะเก็ด พบที่บริเวณใบหน้า รอบจมูก ปาก มือและเท้า สามารถกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากการสัมผัสหรือเกาที่บริเวณแผล และสามารถแพร่กระจ่ายสู่คนอื่นได้จากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าขนหนู รวมถึงของเล่น เกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่จะพบได้มากในเด็กและทารก

แผลพุพองส่วนมากจะมีอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่บางครั้งหากปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ 

สาเหตุของการเกิดแผลพุพอง

มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) หรือเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอดคัส พัยโอจีเนส (Streptococcus Pyogenes) และสามารถแพร่กระจายติดต่อกันโดยสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อหรือใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าขนหนู แก้วน้ำ หรือของเล่น

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลพุพองได้มากที่สุด ได้แก่

  • เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2-6 ปี
  • เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือในโรงเรียน
  • ผู้ที่มีการระคายเคืองผิวหรือมีโรคผิวหนัง
  • ผู้ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
  • ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัด หรือร้อนชื้น ซึ่งจะเป็นที่ที่แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายได้ง่าย
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่แข็งแรง อาจมาจากการติดเชื้อเอชไอวี หรือในผู้ป่วยโรคมะเร็งจากการทำคีโม

การดูแลรักษาแผลพุพอง

การดูแลรักษาแผลพุพองทั่วไป โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย ถ้าอาการไม่รุนแรง แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยพัฒนาและเสริมสร้างสุขอนามัยของตนให้ดีขึ้น เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่ของเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

1.การใช้ยาปฏิชีวนะ

  • ยาปฏิชีวนะแบบครีม ใช้สำหรับผู้ที่มีแผลพุพองในระดับที่ไม่รุนแรงและเป็นไม่มาก ก่อนทายาควรล้างมือและทำความสะอาดในบริเวณที่เป็นแผล ทาเป็นประจำ 3-4 ครั้งต่อวัน ต่อเนื่องนาน 1 สัปดาห์ 
  • ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ทั้งในรูปแบบยาน้ำและยาเม็ด ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการแผลพุพองรุนแรงและกระจายเป็นบริเวณกว้าง หรือใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาปฏิชีวนะแบบครีมแล้วอาการไม่ดีขึ้น 

 

2.การรักษาดูแลที่บ้าน

ทำความสะอาดแผลบริเวณที่มีการติดเชื้อให้สะอาด โดยใช้น้ำสะอาดกับสบู่ที่มีความอ่อนโยน หรือมีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย ไม่ควรขัดที่บริเวณแผลเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
แช่ผิวที่ตกสะเก็ดจากแผลพุพองในน้ำสบู่หรือในน้ำสะอาดที่ผสมน้ำส้มสายชู โดยมีสัดส่วนของน้ำส้มสายชู 1 ออนซ์ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร จะช่วยทำให้สะเก็ดของแผลอ่อนตัวและหลุดออกได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังบริเวณที่มีแผลพุพอง และไม่ควรเกาเพื่อลดการแพร่กระจาย และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสโดนผิวหนังบริเวณที่มีแผลพุพอง

3.การรักษารูปแบบอื่น

ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง กระจายเป็นบริเวณกว้าง หรือไม่ตอบสนองต่อยาหรือการรักษาในรูปแบบอื่น แพทย์จะทำเก็บตัวอย่างของเหลวหรือชิ้นเนื้อที่บริเวณแผลเพื่อนำไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการ และปรับยาปฏิชีวนะตามความรุนแรง หรือตามเชื้อที่ตรวจพบ

ภาวะแทรกซ้อนของแผลพุพอง

แผลพุพองทั่วไปจะมีอาการที่ไม่รุนแรง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ดูแลรักษาไม่ดี หรือไม่รีบเข้ารับการรักษา สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น

  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) เกิดการติดเชื้อที่ชั้นหนังแท้และเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแดง บวม ตึง เจ็บ แสบร้อนที่ผิวหนัง และมีไข้สูงร่วมด้วย
  • สะเก็ดเงิน (Guttate Psoriasis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวแห้งแดง คัน และตกสะเก็ดเป็นสีเทาหรือสีเงิน
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicaemia) ทำให้อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป อาจสูงขึ้นหรือต่ำลง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มีอาการสั่น ถ้าเข้ารับการรักษาไม่ทัน อาจทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้

แผลพุพองสามารถป้องกันได้โดยเริ่มต้นจากการมีสุขอนามัยที่ดี และสำหรับผู้ที่เป็นแผลพุพอง สามารถป้องกันการแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ แล้วเช็ดมือด้วยผ้าที่สะอาด
  2. อาบน้ำให้สะอาดสม่ำเสมอ อย่างน้อยควรอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง
  3. ทำความสะอาดแผลทันทีด้วยสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวและน้ำสะอาด จากนั้นทายา และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยาหรือผ้าพันแผลให้เรียบร้อย
  4. ทำความสะอาดบ้านด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  5. ซักผ้าด้วยน้ำร้อน จะสามารถป้องกันการแพร่กระจายของแผลพุพองได้
  6. หมั่นตัดเล็บเป็นประจำ ไม่ควรปล่อยไว้ให้ยาว เพื่อป้องกันการเกาจนแผลเกิดการอักเสบมากขึ้น
  7. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  8. ควรให้เด็กที่เป็นแผลพุพองอยู่แต่ในบ้านจนกว่าจะหาย ผู้ปกครองไม่ควรพาไปในที่ที่มีคนพลุกพล่าน เช่น โรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กั

การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า