วัสดุแพทย์
วัสดุทางการแพทย์

แสดง %d รายการ

วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์

คือวัสดุที่ใช้แล้วหมดไป แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงมือตรวจโรค ถุงยางอนามัย สายน้ำเกลือ ไหมเย็บแผลดุทางการแพทย์


ผ้าก๊อซ

พลาสเตอร์ แผ่นปิดแผล ผ้าพันแผลแบบต่างๆ

หลายคนมักรู้จัก พลาสเตอร์ยา ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับปิดแผลเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บเพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น

แต่ความเป็นจริงแล้ว พลาสเตอร์ยา เป็นชื่อทางการค้าของแถบปิดแผลที่เข้ามาจำหน่ายที่ประเทศไทยเจ้าแรก ความจริงแผ่นปิดแผล (Dressing) กับผ้าพันแผล (Bandage) มีหลากหลายชนิด จะเลือกใช้ชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับชนิด ลักษณะของบาดแผล และการใช้งาน

ปัจจุบันมีวัสดุที่สามารถนำมาใช้เป็นแผ่นปิดแผลได้หลากหลายชนิด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เหมาะสำหรับแผลแต่ละแบบ ได้แก่

1. ผ้าก๊อซ (Gauze)

ผ้าก๊อซเป็นวัสดุปิดแผลที่นิยมใช้กันโดยส่วนใหญ่ เพราะราคาถูกและหาซื้อได้ง่ายผ้าก๊อซมี 2 ประเภท คือ

  1. ผ้าก๊อซจากเส้นใยธรรมชาติ 
  2. ผ้าก๊อซจากเส้นใยสังเคราะห์

นอกจากจะใช้สำหรับปิดแผลแล้ว สามารถนำผ้าก๊อซมาชุบน้ำเกลือปิดบริเวณบาดแผล ปล่อยให้แห้ง แล้วดึงออก เพื่อให้เนื้อเยื่อที่ตายหลุดออกมา เป็นวิธีหนึ่งในการเตรียมบาดแผลให้เหมาะสมสำหรับกระบวนการหายของแผล

แต่ผ้าก๊อซไม่สามารถดูดซับน้ำเหลืองจากบาดแผลปริมาณมากได้ ไม่มีคุณสมบัติในการกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับแผล และผ้าก๊อซที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติจะทิ้งเศษผ้าก๊อซไว้ที่แผล เมื่อดึงออกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่แผลได้

ผ้าก๊อซเหมาะใช้สำหรับแผลที่มีปริมาณน้ำเหลืองที่หลั่งจากแผลเล็กน้อย-ปานกลาง

2. ฟิล์ม (Semi-permeable film)

วัสดุปิดแผลที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มใสทำจากโพลียูรีเทน (Polyurethane) มีคุณสมบัติยอมให้ไอน้ำและแก๊สผ่านได้ สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรค

วัสดุปิดแผลที่ทำจากฟิล์มสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นให้แผล ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ให้แผลหาย

ฟิล์มมีลักษณะโปร่งใส แพทย์จึงมองเห็นบาดแผลเพื่อติดตามการรักษาได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนวัสดุปิดแผลให้แผลได้รับการบาดเจ็บซ้ำๆ

แต่ฟิล์มจะไม่สามารถดูดซับน้ำเหลืองปริมาณมากจากแผลได้ ทำให้เนื้อเยื่อรอบแผลเกิดการเปื่อยยุ่ย และทำให้แผลหายช้า

การใช้แผ่นปิดแผลแบบฟิล์มไม่เหมาะกับแผลที่มีการติดเชื้อ เพราะฟิล์มจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

ฟิล์มเหมาะกับแผลที่เกิดจากการฉีกขาดหรือถลอก ,แผลที่มีปริมาณน้ำเหลืองเล็กน้อย
แผลบริเวณข้อต่อหรือบริเวณที่มีการเสียดสี (เพราะฟิล์มมีความยืดหยุ่น ไม่หลุดง่าย)

3. ไฮโดรเจล (Hydrogels)

วัสดุปิดแผลนี้ประกอบด้วยโพลิเมอร์เชิงซ้อน เช่น แป้ง เซลลูโลส โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่า 80% ทำให้วัสดุปิดแผลชนิดนี้จะปล่อยโมเลกุลของน้ำไปที่แผล เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่แผลที่แห้ง

กระบวนการนี้ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อและชั้นผิวหนังกำพร้า และกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายออกจากแผลเพิ่มขึ้น

วัสดุปิดแผลที่ทำจากไฮโดรเจลมีความสามารถในการดูดซับน้ำเหลืองได้น้อย จำเป็นต้องใช้วัสดุปิดแผลอีกชั้น(Secoundary dressing) เพื่อป้องกันน้ำเหลืองรั่วซึม

หากนำมาใช้กับแผลที่มีน้ำเหลืองปริมาณมาก จะทำให้ผิวหนังรอบๆ ที่สัมผัสกับไฮโดรเจลเกิดการเปื่อยยุ่ย ส่งผลให้แผลหายช้าได้

ไฮโดรเจลเหมาะกับแผลแผลเนื้อตาย แผลแห้ง ขาดความชุ่มชื้น

4. อัลจิเนต (Alginates)

วัสดุปิดแผลนี้ประกอบด้วยเกลือของโซเดียมและเกลือของโพแทสเซียม ที่ประกอบกันเป็นเส้นใยเชิงซ้อนคล้ายโครงสร้างของพืชสาหร่าย

 

 

ส่วนประกอบดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับโซเดียมจากน้ำเหลืองของแผล เกิดเป็นสารที่มีลักษณะเหมือนเจล เจลที่เกิดขึ้นสามารถดูดซับน้ำเหลืองได้ถึง 20 เท่าของน้ำหนัก และอัลจิเนตยังสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นให้แผล เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา

แต่วัสดุปิดแผลที่ทำจากอัลจิเนตจำเป็นต้องใช้วัสดุปิดแผลอีกชั้นร่วมด้วย และไม่เหมาะกับแผลที่แห้ง เพราะอัลจิเนตจะดูดซับน้ำเหลืองจากแผลจนทำให้แผลแห้งเกินไปจนวัสดุติดกับแผล ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บเมื่อเปลี่ยนวัสดุปิดแผล

อัลจิเนตเหมาะกับแผลที่มีปริมาณน้ำเหลืองที่หลั่งจากแผลปานกลาง ควรตัดวัสดุปิดแผลให้พอดีกับแผล เพื่อป้องกันการเปื่อยยุ่ยที่บริเวณขอบแผล

5. ไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloids)

ไฮโดรคอลลอยด์มี 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นในที่ทำจากเจลาตินหรือแพกตินที่มีคุณสมบัติชอบน้ำ และชั้นนอกที่เป็นฟิล์ม ทำหน้าที่ป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก

เมื่อชั้นในดูดซับน้ำเหลือง จะขยายตัวเป็นเจล ให้ความชุ่มชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่แผล เมื่อวัสดุปิดแผลดูดซึมน้ำเหลืองจากแผลไป จะทำให้บริเวณฐานของแผลมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้

ปัจจุบันได้มีการนำไฮโดรคอลลอยด์ไปพัฒนาจนเป็นไฮโดรไฟเบอร์ (Hydrofiber) เพื่อดูดซับปริมาณน้ำเหลืองได้มากขึ้น สามารถปิดแผลได้นานจนกว่าไฮโดรไฟเบอร์จะอิ่มตัว และมีการกระจายตัวของน้ำเหลืองน้อย ทำให้ลดการเกิดการเปื่อยยุ่ยที่บริเวณขอบแผล

ไฮโดรคอลลอยด์ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุปิดแผลอีกชั้นและสามารถปิดแผลได้นาน 2-4 วันโดยไม่ต้องเปลี่ยน แต่ข้อเสียของวัสดุชนิดนี้คือ อาจเกิดการสับสนกับภาวะแผลติดเชื้อได้ เพราะเจลที่ดูดซับน้ำเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นเหม็น

ไฮโดรคอลลอยด์เหมาะกับแผลที่มีปริมาณน้ำเหลืองที่หลั่งจากแผลปานกลาง-มาก
แผลที่มีการกดทับหรือเสียดสี

6. โฟม (Foam)

แผ่นปิดแผลที่ใช้วัสดุโฟม ทำมาจากโพลียูรีเทน มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ปริมาณมาก ป้องกันการรั่วซึมจากบาดแผล และรักษาความชุ่มชื้นให้แก่แผล

โฟมมีความหนาและนุ่ม จึงช่วยลดแรงกดทับของแผลบริเวณก้นกบ ตาตุ่ม หรือส้นเท้า นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับแผลโพรงลึกได้

แต่หากผู้ป่วยมีการขยับตัวมาก โฟมอาจเลื่อนหลุดออกมา อีกทั้งเนื่องจากโฟมมีลักษณะขุ่น ทำให้สังเกตลักษณะของแผลด้านในได้ยาก

โฟมเหมาะกับแผลที่มีปริมาณน้ำเหลืองหลั่งจากแผลปานกลาง-มาก แผลที่กำลังสร้างเนื้อเยื่อใหม่หรือแผลที่มีเนื้อตายเปื่อยยุ่ย ไม่ควรใช้กับแผลที่แห้ง ขาดความชุ่มชื้น

7. แผ่นปิดแผลที่มีสารต้านจุลชีพ (Antibacterial dressings)

ปัจจุบันวัสดุปิดแผลหลายชนิดมีการพัฒนาเพื่อสามารถใช้กับแผลที่มีการติดเชื้อได้ โดยเพิ่มสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อเข้าไปในวัสดุปิดแผล ได้แก่

น้ำผึ้ง มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและสนับสนุนให้ร่างกายเกิดกระบวนการที่ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

น้ำตาลที่มีมากในน้ำผึ้งยังช่วยยับยั้งการเจริญแบคทีเรีย และเมื่อน้ำผึ้งถูกละลายด้วยน้ำเหลืองจากแผล จะทำให้เกิดสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งจะไปทำลายผนังเซลล์ โปรตีน และกรดนิวคลีอิกของเชื้อแบคทีเรีย

นอกจากนั้นน้ำผึ้งยังช่วยลดการอักเสบของแผล ด้วยการดึงน้ำจากเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บออก ทำให้ลดการบวมของบาดแผล และกระตุ้นให้มีการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองที่ดีขึ้น

น้ำผึ้งที่นำมาใช้ในกระบวนการรักษาต้องปราศจากเชื้อโรค โดยนำไปผ่านรังสีแกมมาก่อนซิลเวอร์ ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และยีสต์ อะตอมของซิลเวอร์จะจับกับผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของเชื้อ จนทำลายเชื้อดังกล่าวในที่สุด

โดยซิลเวอร์สามารถกำจัดเชื้อที่บริเวณบาดแผล และเชื้อที่อยู่ในวัสดุปิดแผลที่มากับน้ำเหลืองได้อีกด้วย ซิลเวอร์จะช่วยลดปริมาณเชื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

แผ่นปิดแผลที่มีสารต้านจุลชีพเหมาะกับแผลไฟไหม้ แผลผ่าตัด แผลกดทับ แผลเรื้อรังจากเบาหวาน

 

ผ้าพันแผล

ผ้าพันแผล (Bandage) 

วัสดุที่พันหรือกดให้วัสดุปิดแผลยึดติดกับแผลไม่ให้มีการเคลื่อนที่ หรือผ้าพันแผลบางชนิดสามารถใช้ในการห้ามเลือดได้ ซึ่งผ้าพันแผลสามารถแบ่งได้อย่างง่ายๆ ดังนี้

1. ผ้าพันแผลชนิดม้วน (Roller Bandage)

เป็นผ้าพันแผลชนิดที่นิยมใช้มากที่สุด ทำมาจากยางยืดหรือผ้าฝ้าย ลักษณะเป็นแถบผ้ายาว มีน้ำหนักเบา ใช้พันเพื่อกดแผ่นปิดแผลให้ยึดติดอยู่กับแผล ไม่ให้เคลื่อนที่

เนื่องจากผ้าพันแผลชนิดนี้มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะสำหรับการพยุงข้อต่อต่างๆ ที่ได้รับบาดเจ็บ ลดอาการปวดบวม นอกจากนี้ในสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถใช้คู่กับแผ่นปิดแผลเพื่อห้ามเลือดได้อีกด้วย

2. ผ้าพันแผลชนิดสามเหลี่ยม (Triangular Bandage)

ทำจากผ้าฝ้ายหรือกระดาษที่สามารถใช้แล้วทิ้งได้ ผ้าพันแผลชนิดนี้ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อยึดแขนหรือขาที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่ให้มีการเคลื่อนที่ รวมถึงช่วยพยุงกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บได้ด้วย

3. ผ้าพันแผลชนิดทรงกระบอก (Tubular Bandage)
ทำจากวัสดุที่ทอแบบไร้รอยต่อ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่มีความยืดหยุ่น และมีขนาดที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ใช้

ผ้าพันแผลชนิดนี้ใช้พันรอบบริเวณข้อต่อที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนที่ โดยสวมผ้าพันแผลอย่างช้าๆ จนไปถึงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่ควรใช้กับแผลที่มีการติดเชื้อ

บาดแผล

บาดแผล (Wounds) หมายถึง การบาดเจ็บทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการแตกสลายของผิวหนัง หรือเยื่อบุส่วนอื่นๆ ของร่างกายรวมทั้งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแก่เนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนล่างลงไปจากผิวหนัง หรือเยื่อบุเหล่านี้ ผลของบาดแผลที่ควรสนใจเป็นพิเศษคือ เลือดออก และติดเชื้อ

ประเภทของบาดแผล

บาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ

 

๑. บาดแผลถลอก (abrasions)

เป็นบาดแผลจากการขีดข่วน ขัดถู เสียดสี มักเป็นแผลตื้นๆ มีเลือดออกจากเส้นเลือดฝอย เช่น แผลจากหกล้ม ทำให้เกิดบาดแผลถลอกตามข้อศอกและหัวเข่า บาดแผลประเภทนี้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เพราะมีสิ่งสกปรกเข้าไปในบาดแผลตั้งแต่ต้น

๒. บาดแผลตัด (incisions)

เป็นบาดแผลจากของมีคม เช่น มีด ขอบโลหะ กระจก เศษแก้วตัดผ่านผิวหนังมักมีเลือดออกมาก เพราะเส้นเลือดถูกตัดขาดบริเวณขอบแผลทั้งๆ ที่เนื้อเยื่อโดยรอบมิได้ถูกกระทบกระเทือนบาดแผลประเภทนี้ติดเชื้อโรคได้น้อยที่สุดเพราะมีเลือดออกมาก จึงชะล้างเอาสิ่งสกปรกและเชื้อโรคออกมาด้วย

. บาดแผลฉีกขาด (lacerations)

เป็นบาดแผลที่เกิดจากสะเก็ดระเบิด บาดแผลฉีดขาดจากอุบัติเหตุเครื่องยนต์มักมีฝุ่นผงน้ำมัน หรือสิ่งสกปรกเจือปน เส้นเลือดบริเวณบาดแผลมักถูกหนีบ จึงทำให้เลือดออกไม่มาก แต่ติดเชื้อโรคได้

๔. บาดแผลทะลุ หรือบาดแผลถูกแทง (punctures or penetrating wounds)

เป็นบาดแผลที่เกิดจากถูกแทงด้วยของแหลม หรือถูกกระสุนปืน มีทางเข้าเล็กๆ แต่ลึก บางครั้งไม่ปรากฏเลือดออกมาจากภายนอก แต่มีการบาดเจ็บรุนแรงของอวัยวะใต้ผิวหนังลงไป ติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีเชื้อโรคจากภายนอกเข้าไปในส่วนลึกของแผล มีเลือดออกน้อย

๕. บาดแผลถูกบีบหรือบด (crushed wounds)

มักเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง บาดแผลของผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบถูกทำลายไปมาก มักมีกระดูกหัก และบาดแผลฉีกขาดร่วมอยู่ด้วย เชื้อโรคเข้าไปสู่ส่วนลึกได้มาก มีความเจ็บปวดและเลือดออกรุนแรง

หลักของการรักษาบาดแผล

๑. บาดแผลสด ให้ปฐมพยาบาลโดยห้ามเลือดรักษาอาการช็อค และป้องกันการติดเชื้อด้วยการแต่งบาดแผลที่ถูกวิธีตามลำดับขั้นตอน

๒. บาดแผลเก่าที่ติดเชื้อโรคมาแล้ว ให้ปฐมพยาบาลโดยบังคับให้ส่วนที่มีแผลอยู่นิ่ง ยกให้สูง แล้วประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น

๓. บาดแผลใดที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ถ้าเอาออกได้ ควรรีบเอาออกเสีย

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า