เมื่อเราเป็นไข้หวัดที่มีอาการไอ เจ็บคอ ร่วมด้วย ยาพ่นคอ (Mouth and throat spray )เป็นรูปแบบยาเตรียมทางเลือกหนึ่งที่มีการใช้บรรเทาอาการไอ ระคายคอ เจ็บคอ เสียงแหบ ได้ดี
ยาพ่นคอที่มีอยู่ในจำหน่ายในท้องตลาด มีหลายประเภทในทำนองเดียวกับกับยาอม ( lozenge) เช่น มีการแบ่งตามตามอายุของคนไข้
- ยาพ่นคอสำหรับเด็ก : ใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสำลักได้ เนื่องจากพัฒนาด้านการกลืนของเด็กอาจจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที่นั่นเอง
2. ยาพ่นคอสำหรับผู้ใหญ่ : ใช้ในเด็ก 6 ปีขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ทุกวัย แต่ทั้งนี้ก็มี ยาพ่นคอบางตัวที่มีคำเตือนให้มีการใช้ด้วยความระมัดระวังในหญิงตั้งครรภ์ และ มารดาให้นมบุตร
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทของยาอมได้อีกหลากหลาย เช่น แบ่งตามหัวสเปรย์ แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ แบ่งตามกฎหมายยา
รูปแบบหัวสเปรย์ของยาพ่นคอ
ในปัจจุบันนี้มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1. หัวสเปรย์พ่นดั้งเดิมหรือแบบธรรมดา
ยาพ่นคอส่วนใหญ่เป็นหัวพ่นแบบนี้ เวลาสปรย์ ยาจะกระจายไปในบริเวณกว้าง ใช้ง่าย สะดวกในการพกพา
2. หัวสเปรย์พ่นแบบมีท่อยาว (NOZZLE)
หัวสเปรย์แบบมีท่อยาว เวลาสเปรย์ยาจะเข้าตรงจุดที่เราต้องการ มีข้อดีคือเข้าถึงในจุดที่ลึกได้มากกว่าหัวสปรย์ธรรมดา
ประเภทของยาพ่นคอตามกฎหมายยา
แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามกฎหมายยา
1. ยาที่จำหน่ายได้ทั่วไป
ยาพ่นคอ ประเภทนี้จะเป็นสูตรยาสมุนไพรและน้ำมันหอมระเหย จะมีทั้งของจีน ไทย และ ฝั่งตะวันตก เช่น ยาพ่นคอสารสกัดฟ้าทะลายโจร ยาพ่นคอสารสกัดพรอพโพริส ยาพ่นคอจากพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น ขิง กระชายขาว
2. ยาใช้เฉพาะที่
ยาพ่นคอ ประเภทนี้จะมีเลขทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน มักมีตัวยาสำคัญเป็น สารฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดน ไอโอดีน (Povidone Iodine) หรือ ยาแก้ปวด เช่น เมธิลซาลิไซเลต (Methyl salicylate)
สเปรย์พ่นคอประเภทนี้ จำหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลและร้านยาเท่านั้น ก่อนเลือกใช้ควรขอคำแนะนำจากเภสัชกรคะเพื่อให้ได้ยาที่ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้
3. ยาอันตราย
ยาพ่นคอ ประเภทนี้จะมีลักษณะเดียวกันกับยาพ่นคอประเภทที่ 2 แต่มีข้อควรระมัดระวังในการใช้ที่มากขึ้น เพราะว่าถ้ามีการใช้ที่ไม่ถูกต้อง เกินขนาดหรือมากกว่าที่แนะนำ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือการแพ้ยาได้ ยาพ่นคอประเภทนี้จะมีตัวยาสำคัญ ดังนี้
-พวกยาแก้ปวด ลดการอักเสบ เช่น เฟอร์บิโปรเพน ( Flurbiprofen)
-ยาชาเฉพาะที่และฆ่าเชื้อ เช่น เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ ( Benzydamine hydrochloride)
ประโยชน์ของยาพ่นคอ
ตัวยาสำคัญในยาพ่นคอแต่ละตัว จะออกมีฤทธิ์ที่แตกต่างกัน สรรพคุณเด่นในแต่ละตัวอาจคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันบ้าง แต่โดยภาพรวมแล้ว วัตถุประสงค์การใช้สรุปได้ดังต่อไปนี้
- กำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ กลิ่นปาก เหงือกคออักเสบ และ คออักเสบจากไข้หวัด
- บรรเทาอาการเจ็บคอ ระคายคอ จากการอักเสบ
- บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
- รักษาแผลในช่องปาก รวมถึงบรรเทาอาการปวดฟัน
- ให้ความชุ่มชื้นกับลำคอ ลดอาการคอแห้ง เสียงแหบจากหลอดเสียงอักเสบ
สิ่งที่ควรตระหนักคือ สเปรย์พ่นคอจะมีประโยชน์ในแง่บรรเทาอาการและรักษาได้ในระดับหนึ่งที่อาการไม่รุนแรงเท่านั้น
ประเภทของตัวยาสำคัญในยาพ่นคอ
ตัวยาสำคัญในยาพ่นคอ มีหลากหลายมากแต่เราสามารถจัดเป็นกลุ่มได้ ประมาณ 3 กลุ่มตามประเภทยาดังนี้
1. กลุ่มสารสกัดธรรมชาติ สมุนไพรหรือน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ
ปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรตำรับยาพ่นคอจากสารสกัดจากธรรมชาติมาหลากหลายมาก เช่น
-สารสกัดจากรังผึ้ง : โพรโพลิส
-สารสกัดจากดอกคาโมมายล์
-สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร : แอนโดรกราฟิส
-สารสกัดจากสมุนไพรจีน : โง้วปวยจี้
-พืชสมุนไพรอื่นๆที่เริ่มมีการนำมาใช้ในยาพ่นคอ อาทิเช่น ขิง,กระชายขาว,เปลือกมังคุด
-น้ำมันหอมระเหยที่นิยมนำมาทำยาพ่นคอ ได้แก่ น้ำมันระกำ ยูคาลิปตัส เมนทอลและน้ำมันสาระแหน่ เป็นต้น
2. กลุ่มสารฆ่าเชื้อ
เช่น โพวิโดน ไอโอดีน ( POVIDONE IODINE) ที่มีคุณสมบัติ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งแบคที่เรีย ไวรัส และเชื้อราได้
3. กลุ่มยาลดการอักเสบ แก้ปวด
เช่น
– เฟอร์บิโปรเฟน (Flurbiprofen) เป็นสูตรยาที่ไม่เหมาะสมในการใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด เพราะอาจทำให้มีอาการกำเริบได้
-เบนไซดามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Benzydamine hydrochloride) มีฤทธิ์เป็นยาชาร่วมด้วย
การใช้และการเก็บรักษายาพ่นคอ
มีข้อแนะนำการใช้อย่างปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพจากยา ดังนี้
- เขย่าขวดก่อนเปิดใช้ และ การเปิดใช้ครั้งแรกควรกดไล่อากาศออกก่อนสัก 2-3 กด
- ฉีดสเปรย์พ่นในช่องปากและลำคอ ครั้งละ 2-3 พัฟ วันละ 2-5 ครั้ง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ หอบหืด ประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร แพ้เกสรดอกไม้ ควรแจ้งเภสัชกรให้ทราบก่อนใช้ยา
- การใช้ยาพ่นคอในเด็ก ต้องระมัดระวังเรื่องการสำลัก โดยทั่วไปจะแนะนำให้ใช้ในเด็กอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป เพราะมีพัฒนาการด้านการกลืนสมบูรณ์แล้ว
- การใช้สเปรย์พ่นคอในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ได้มีข้อห้ามใช้ แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ควรใช้ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้ยาในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
- ควรเก็บยาไว้ในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส เก็บพ้นแสง
- ยาที่เปิดใช้แล้ว โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้นานกว่า 6 เดือน แต่ทั้งนี้สามารถดูการสี กลิ่น ลักษณะทางกายภาพอื่นๆประกอบไปด้วยได้ ถ้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมให้ถือว่ายาน่าจะมีการเสื่อมสภาพ ไม่ควรนำมาใช้ต่อ
สรุป
การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็นอยู่ด้วย ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอที่เป็นสมุนไพรก็เป็นทางเลือกที่ดี คนไข้อาจจะสามารถเลือกใช้เองได้เลยจากความพึงพอใจ แต่ถ้ามีอาการมากและรุนแรง เช่น เป็นแผลในปาก มากกว่า 3 ตำแหน่ง แผลใหญ่ มีอาการปวดมาก หรือ คอแดง เจ็บคอมาก ควรขอคำแนะการใช้จากเภสัชกรประจำร้านยาเพื่อให้ได้ยาที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยในการใช้
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา