ฝ้า
กระบนหน้า

แสดง %d รายการ

ครีมรักษาฝ้า กระ

ฝ้าและกระสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนผิวหน้าและผิวกายโดยเฉพาะกับบริเวณที่ต้องเผชิญกับแสงแดด ผู้ที่มีผิวขาวมักมีแนวโน้มการเกิดฝ้า กระมากกว่าผู้ที่มีผิวสีเข้ม


ฝ้า กระ จุดด่างดำ

อัลตร้าไวโอเลตในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนส่งผลให้ผิวคล้ำขึ้น และเกิด ฝ้า กระ ได้

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ คือ
- รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ที่มีอยู่ในแสงแดด และฮอร์โมนกรรมพันธุ์ เมื่อเม็ดสีดำ (Melanin) สะสมมากขึ้นเป็นเวลานาน ทำให้เห็นรอยบนใบหน้าเป็นแผ่นหรือเป็นวงๆสีน้ำตาลได้อย่างชัดเจน บริเวณที่มักจะเกิดฝ้ามากที่สุดก็คือ โหนกแก้ม สันจมูก หน้าผาก กระ ฝ้า (Melasma)

- พันธุกรรมและฮอร์โมน ถือเป็นปัจจัยภายในที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ เช่น ‘ฝ้า’ ที่มักพบได้ในคนช่วงวัย 30+ และผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น ทำให้ฝ้าปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัด หรือ ‘กระ’ ที่มักพบได้มากว่ามีสาเหตุการเกิดมาจากพันธุกรรม ทำให้บางคนมีกระขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็ก หรือในกลุ่มที่มีผิวขาว 

สาเหตุการเกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ
- เกิดจากกระบวนการสร้างสีของเซลล์เม็ดสี (Melanocyte) ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นรอยสีน้ำตาลบนผิวหนัง และ การใช้ยาบางตัว เช่น hormone ยาคุมกำเนิด, พันธุกรรม, สารบางอย่าง สารกระตุ้นการอักเสบความร้อนและแสงแดด โอกาสการเกิดฝ้ากระจุดด่างดำ 

จากการวิจัยพบว่า จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานมากผิดปกติ ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงรับประทานยาคุมกำเนิดหรือการรับประทานฮอร์โมนช่วงวัยทอง

การดูแลรักษา ฝ้า กระ จุดด่างดำ

ฝ้า กระ จุดด่างดำ เป็นปัญหาผิวที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถช่วยลดเลือนจุดด่างดำให้จางลงได้

1.การทำทรีทเม้นต์หน้าเพื่อลดจุดด่างดำ

- เคมิคอล พีล : การใช้สารที่เป็นกรดช่วยผลัดผิวหนังชั้นบนออก โดยการทำให้ผิวพุพองก่อน หลังจากผิวหลุดลอกไปแล้วก็จะมีผิวใหม่ที่สีสม่ำเสมอ

- การใช้เลเซอร์ : ทำงานบนหลักการคล้ายกับเคมิคอล พีล คือทำให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าและสร้างผิวใหม่ขึ้น แต่สามารถเจาะจงบริเวณที่จะทำการรักษาได้ เนื่องจากแพทย์ผิวหนังสามารถควบคุมความเข้มข้นของการรักษาได้ โดยลำแสงเลเซอร์สามารถเข้าถึงได้ตั้งแต่ผิวหนังชั้นบนสุดจนถึงผิวหนังชั้นล่างสุด

2. ครีมดูแลฝ้า กระ จุดด่างดำ

 

การรักษาฝ้าด้วยวิธีธรรมชาติ

19 วิธีรักษาฝ้าด้วยวิธีธรรมชาติ 

1. หลีกเลี่ยงแสงแดด : ถ้าหากต้องเผชิญแสงแดดก็ควรแต่งกายแบบไม่เผยผิวพร้อมกับทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันผิวจากรังสียูวี โดยเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF30 ขึ้นไป และต้องเป็นแบบ PA+++  ช่วยปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมั่นทาครีมกันแดดบ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 

2. ดูแลตัวเองจากภายใน : โดยการรับประทานทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ที่เป็นตัวช่วยทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝ้าขยายตัวใหญ่ขึ้น

3. เลือกใช้ครีมบำรุง : เลือกครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของ AHA, วิตามินซี, อาร์บูติน (Arbutin), กรดโคจิก (Kojic) รวมไปถึงครีมทาฝ้า ครีมแก้ฝ้า หรือครีมรักษาฝ้าต่าง สามารถทำให้ฝ้าจางลงและทำให้หน้าดูกระจ่างใสขึ้นได้

4. สูตรหัวไชเท้า : พอกหน้า โดยการนำหัวไชเท้าบดหยาบ ๆ มาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10-20 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง หรือวันเว้นวัน ช่วยลดฝ้าทำให้ฝ้าดูจางลงได้ ช่วยลดริ้วรอยต่าง ๆ และทำให้หน้ากระจ่างใสขึ้น

5. สูตรว่านหางจระเข้ : โดยการใช้ว่านหางจระเข้ 1 ใบ นำไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที จากนั้นก็ปอกเปลือกออกและล้างให้สะอาด นำไปปั่นหรือบดก็ได้ตามถนัด แล้วจึงนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง 

6. สูตรมะขามเปียก : โดยการนำเนื้อมะขามเปียกมาพอกหรือทาบาง ๆ บริเวณผิวที่เป็นรอยฝ้า ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที แล้วล้างออก วิธีนี้จะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าทำให้รอยฝ้าดูจางลงและยังช่วยลดรอยด่างดำได้

7. สูตรใบบัวบก : โดยการนำมาปั่นแล้วใช้น้ำใบบัวบกมาเช็ดหน้าแทนการใช้โทนเนอร์ก่อนนอนทุกวัน

8. สูตรไข่ขาว : โดยการนำไข่ขาว มาทาบาง ๆ ให้ทั่วบริเวณที่เป็นฝ้า ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ไข่ขาวจะช่วยดูดซับรอยฝ้าและสิ่งสกปรก

9. สูตรน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ : โดยการนำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์มาผสมกับน้ำเปล่าเล็กน้อย แล้วใช้สำลีชุบและเช็ดให้ทั่วใบหน้า รอจนแห้งแล้วจึงล้างออก

10. ลอกฝ้าด้วยกรด TCA, กรด AHA ฯลฯ : สามารถช่วยทำให้เซลล์ผิวชั้นบนกับเม็ดสีเมลานินหลุดออกมาได้ โดยเป็นการผลัดเซลล์ผิวเก่าและช่วยผลักดันให้เซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ 

11. ยากินรักษาฝ้า (Tranexamic acid) : เพื่อรักษาฝ้านั้นก็เนื่องมาจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่ใช้สร้างเม็ดสีเมลานินได้ จึงมีผลทำให้ฝ้าจางลง 

12. รักษาด้วยไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) : สามารถช่วยให้การผลิตเม็ดสีถูกขัดขวางจนทำให้ผิวบริเวณที่เป็นฝ้าขาวขึ้นมาได้ 

13. ฉีดเมโสรักษาฝ้า (Mesotherapy) : เป็นการใช้เข็มเล็ก ๆ ฉีดตัวยาเข้าไปในชั้นผิวตื้น ๆ เพื่อการกระจายตัวยาที่ใช้รักษากระลงสู่ชั้นเซลล์ที่มีปัญหา โดยจะฉีดลึกลงไปประมาณ 1-2 มม. ระยะห่างกันไม่เกิน 1 เซนติเมตร เฉพาะบริเวณที่มีปัญหากระและฝ้า แต่ต้องทำการฉีดซ้ำทุก ๆ 1-2 อาทิตย์ 

14. ฉีดสเต็มเซลล์ : การฉีดสเต็มเซลล์ให้กับคนที่ต้องการรักษาผิวพรรณเพื่อย้อนวัยตัวเอง จะส่งผลทำให้ฝ้าลดลงตามไปด้วย 

15. ไอออนโตรักษาฝ้า (Iontophoresis) : เครื่องมือชนิดนี้อาศัยหลักการให้กำเนิดกระแสไฟฟ้าในระดับอ่อน ๆ มีผลช่วยผลักยาหรือวิตามินที่เราทาไว้บนผิวให้ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ยาออกฤทธิ์ในการรักษาได้ดี 

16. กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Microdermabrasion : MD) เพื่อช่วยเร่งการขจัดเซลล์ชั้นหนังกำพร้าให้หลุดเร็วขึ้น สามารถช่วยลดรอยดำจากฝ้าได้ (เหมาะกับฝ้าแบบตื้น) 

17. รักษาฝ้าด้วย IPL (Intense Pulsed Light) เครื่องประเภทนี้มีหลักการทำงานคล้ายเลเซอร์ เป็นการใช้แสงยิงลงไปที่ผิวให้เกิดความร้อน และความร้อนนั้นจะไปทำลายโปรตีนของเม็ดสีผิวหรือเมลานิน ทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น 

18. เลเซอร์ Fraxel เป็นเลเซอร์ที่ใช้พลังงานความร้อนเพื่อเข้าไปกระตุ้นเซลล์ผิวให้ผลัดผิวไวยิ่งขึ้น จึงทำให้ส่วนที่เป็นฝ้าถูกผลัดออกไป

19. เลเซอร์ Yag เป็นการส่งคลื่นแสงลงไปถึงชั้นผิว 

 

 

บทความล่าสุด

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า