ของใช้
ใช้ภายนอก
65 บาท115 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
-30%
Original price was: 100 บาท.Current price is: 70 บาท.
75 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
75 บาท99 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
-24%
Original price was: 99 บาท.Current price is: 75 บาท.
79 บาท128 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

เกร็ดความรู้เรื่องเวชภัณฑ์ใช้ภายนอก

คนตั้งครรภ์ใช้กระเป๋าน้ำร้อนได้หรือไม่

การใช้แผ่นประคบร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนระหว่างตั้งครรภ์เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อ เป็นการรักษาที่ง่ายและค่อนข้างปลอดภัย ไม่ส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ 

การประคบร้อนจะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่ปวดดีขึ้น ช่วยเพิ่มออกซิเจนและสารอาหารเข้าสู่กล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดการเกิดตะคริวให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้

วิธีประคบร้อนระหว่างตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์อาจใช้อุปกรณ์ประคบร้อนไฟฟ้าหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ โดยพันผ้ารอบตัวประคบร้อนเพื่อไม่ให้ความร้อนสัมผัสผิวหนังโดยตรง ระยะเวลาประคบไม่ควรเกิน 20 นาที ถ้าอุปกรณ์ประคบร้อนปรับอุณหภูมิได้ แนะนำให้ปรับอุณหภูมิในจุดที่รู้สึกสบาย และหลีกเลี่ยงการนอนหลับโดยมีอุปกรณ์ประคบร้อนวางอยู่บนร่างกาย

สิ่งที่ไม่นะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทำ คือแช่ตัวในอ่างน้ำร้อนหรืออบซาวน่าเป็นเวลานาน (หรือหากอยากทำจริงๆ ต้องมีการจำกัดระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที ที่อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส) เนื่องจากการแช่น้ำร้อนหรืออบซาวน่าจะเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรือทารกแรกเกิดพิการได้

ส่วนเรื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น คอมพิวเตอร์ เตาไมโครเวฟ โทรศัพท์มือถือ เครื่องตรวจจับโลหะหรืออาวุธในสนามบิน หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่ามีความเชื่อมโยงหรือเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์แต่อย่างใด

หลังคลอดใช้กระเป๋าน้ำร้อนได้หรือไม่

หลังคลอดลูกแล้วร่างกายก็จะผลิตน้ำนม เพื่อที่จะให้ลูกดื่มแต่ว่าในตอนแรกน้ำนมจะยังไม่ไหลออกมา ต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 4 วัน ในระหว่างนี้น้ำนมผลิตมาเยอะมากพร้อมที่จะให้ลูกดื่มแล้วแต่ยังหาทางออกไม่ได้ หน้าอกก็จะตึงและใหญ่ขึ้น ๆ จะทำให้เกิดอาการตึง คัด ปวดร้าว มีไข้ได้ เพราะท่อน้ำนมขยาย

ถ้ามีอาการปวดไม่มาก ให้ประคบด้วยความร้อน อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนอังประคบแต่ต้องมีผ้ารอง อย่าให้สัมผัสโดยตรงกับผิวหน้าอก ใช้เวลาประคบ 10-15 นาทีต่อวัน

แต่ถ้ามีอาการปวดมาก อาจเปลี่ยนมาประคบเย็นแทน ด้วยการใส่น้ำเย็นหรือน้ำแข็งในกระเป๋าน้ำร้อนแทน ใช้เวลาประคบ 10-15 นาทีต่อวัน

 

ลักษณะเล็บบอกบ่งบอกสุขภาพได้

เล็บที่มีสุขภาพดี จะมีสีออกชมพูจางๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรงและเล็บมีความหนาไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ถ้าเล็บมีความแตกต่างไปจากนี้ ถือว่าเป็นเล็บที่ไม่ปกติจะเป็นสัญญาณบอกโรคได้

เล็บที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น

1. เล็บที่มีความหนาหรือบางผิดปกติ 

  • โรคที่ทำให้เล็บหนาขึ้น เช่น โรคเชื้อรา ที่นอกจากเล็บจะหนาขึ้นแล้ว อาจมีสีเปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองหรือขาว ผิวเล็บและส่วนปลายเล็บอาจขรุขระ โรคสะเก็ดเงินมักจะมีอาการเล็บหนาหลายๆ เล็บ 
  • ผู้ที่เป็นโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก เล็บจะมีลักษณะบางและแอ่นคล้ายช้อน

2. เล็บเปลี่ยนสี

  • เล็บที่มีสีขาวครึ่งเล็บพบได้ในคนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง
  • เล็บที่มีสีขาว 2 ใน 3 ของเล็บพบได้ในคนเป็นโรคเบาหวาน โรคตับแข็งและโรคหัวใจวาย
  • เล็บที่มีสีขาวเป็นแถบขวางอาจเป็นโรคโปรตีนในร่างกายต่ำ

3. ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง คนที่สัมผัสกับน้ำบ่อยๆ ผิวหนังรอบเล็บอาจมีการเปื่อยยุ่ย หรือเกิดการระคายเคืองจากสารเคมี เช่น น้ำยาล้างจานและน้ำยาทำความสะอาด บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อราเนื่องจากไม่รักษาความสะอาด ผู้ป่วยบางรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง รอบเล็บอาจบวมแดงและมีหนองร่วมด้วย

4. ปลายเล็บร่น ปกติแล้วผิวหนังส่วนปลายจะติดกับเล็บ แต่หากมีโรคบางอย่าง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ โรคเชื้อราและโรคผื่นผิวหนังอักเสบ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด อาจทำให้ขอบของผิวหนังที่ติดกับเล็บมีการร่นลง

5. เล็บที่มีพื้นผิวขรุขระเป็นอาการที่พบได้บ่อย ผิวเล็บอาจเป็นหลุมเล็กๆ ถ้าเป็นหลายเล็บ อาจบ่งบอกถึงโรคสะเก็ดเงินหรือโรคภูมิแพ้ แต่อาจพบได้ในเด็กบางคนโดยที่ไม่มีสาเหตุ บางกรณีผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง อาจพบเล็บเป็นร่องลึกตามแนวขวางจากการที่มีการสร้างเล็บผิดปกติ

การดูแลรักษาเล็บ ควรหลีกเลี่ยงการทาเล็บเป็นประจำ เพราะจะทำให้เล็บเปราะปลายเล็บเผยอ เล็บบุ๋มมีลูกคลื่น ควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดเล็บ โดยเมื่อตัดเล็บ ไม่แคะซอกเล็บมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เล็บฉีกขาด เกิดแผล ทำให้เชื้อโรคเข้า ควรสวมถุงมือขณะทำงานบ้าน หรือเมื่อต้องใช้สารเคมี นอกจากนี้ หมั่นทาโลชั่นเพื่อถนอมผิวที่มือและเล็บเป็นประจำ จะช่วยให้เล็บแข็งแรง เงางาม เรียบเนียน มีสุขภาพ เล็บที่ดี

 

ยากันยุงใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

ปัจจุบันยากันยุงมักเป็นชนิดทาหรือฉีดพ่นตามร่างกาย เพราะหาซื้อได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน และมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นครีม โลชั่น หรือสเปรย์ แต่ส่วนประกอบหลักในยากันยุงแต่ละชนิดมักไม่แตกต่างกันมากนัก

โดยส่วนประกอบหลักที่มักพบในยากันยุง ได้แก่

  • ดีอีอีที (DEET) เป็นสารเคมีสังเคราะห์ประสิทธิภาพสูงที่นิยมใช้ป้องกันยุงกันมาอย่างยาวนาน มักผสมอยู่ในยากันยุงตั้งแต่ 4-100 เปอร์เซ็นต์ แต่สารดีอีอีทีที่มีความเข้มข้นสูงก็อาจเสี่ยงทำให้เกิดการระคายเคืองทางผิวหนัง ชัก และมีอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ โดยเฉพาะในทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือนและหญิงตั้งครรภ์
  • อิคาริดิน (Icaridin) หรือพิคาริดิน (Picaridin) เป็นสารสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพป้องกันยุงเทียบเท่าสารดีอีอีที แต่ก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าและกลิ่นไม่แรง มักผสมอยู่ในยากันยุงตั้งแต่ 5-20 เปอร์เซ็นต์
  • เพอร์เมทริน (Permethrin) เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ชุบหรือฉีดพ่นตามเสื้อผ้า ไม่สามารถใช้กับผิวหนังได้โดยตรง
  • เอธิล บิวทิลอะเซทิลอะมิโน โปรปิโอเนท (Ethyl Butylacetylamino Propionate: IR3535) เป็นสารสังเคราะห์ที่พบอยู่ในยากันยุงหลายชนิด
  • น้ำมันตะไคร้หอม เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีงานวิจัยระบุว่าช่วยป้องกันยุงได้เหมือนกับสารดีอีอีทีที่มีความเข้มข้นต่ำ
  • น้ำมันยูคาลิปตัส เป็นสารสกัดจากธรรมชาติอีกชนิดที่ช่วยป้องกันยุง แต่ควรมีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ จึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงได้ดี

ใช้ยากันยุงอย่างไรให้ปลอดภัยกับทารกและเด็กเล็ก 

  1. สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากันยุงทุกประเภทกับเด็ก โดยเฉพาะชนิดที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เพราะอาจเสี่ยงเกิดการระคายเคืองต่อผิวเด็ก แต่ควรป้องกันยุงกัดด้วยวิธีอื่นแทน เช่น ให้เด็กอยู่ในห้องที่มีมุ้งลวดกั้น นอนเปลที่มีมุ้งผ้า ใช้รถเข็นที่มีตาข่ายกันยุง สวมเสื้อผ้ามิดชิด เป็นต้น
  2. โดยทั่วไป สามารถใช้ยากันยุงกับทารกที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไปได้ แต่ไม่ควรใช้ยากันยุงที่มีส่วนผสมของน้ำมันยูคาลิปตัส เลม่อนแบบเข้มข้นกับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ และไม่ควรใช้ยากันยุงที่มีสารดีอีอีทีที่มีความเข้มข้นเกิน 30 เปอร์เซ็นต์กับเด็กเล็กเช่นกัน ซึ่งการใช้ยากันยุงกับเด็กนั้น ผู้ปกครองควรพิจารณาจากระยะเวลาที่เด็กต้องเสี่ยงกับยุงกัดด้วย เช่น เมื่ออยู่ข้างนอกไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงก็ควรใช้ชนิดที่มีความเข้มข้นน้อย แต่ถ้าระยะเวลานานกว่านั้นก็อาจเลือกชนิดที่ผสมสารกันยุงความเข้มข้นสูงขึ้น เป็นต้น
  3. ยากันยุงชนิดพ่นหรือทาควรใช้เฉพาะบริเวณผิวหนังส่วนที่อยู่นอกเสื้อผ้า ซึ่งสามารถทาหรือพ่นซ้ำได้เมื่อต้องอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการถูกยุงกัด เพราะประสิทธิภาพในการป้องกันยุงจะคงอยู่ได้ไม่กี่ชั่วโมง ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเพอร์เมทริน ซึ่งไม่ควรนำมาใช้กับผิวหนังโดยตรง
  4. ใช้ยากันยุงตามปริมาณที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ ไม่ควรทาหนาหรือนำมาใช้โดยไม่จำเป็น เพราะยากันยุงปริมาณมากไม่ได้ช่วยป้องกันยุงได้ดีไปกว่าปริมาณปกติ
  5. เมื่อกลับเข้าบ้านควรล้างทำความสะอาดผิวของเด็กบริเวณที่ใช้ยากันยุงด้วยสบู่และน้ำสะอาด เพื่อล้างเอาสารไล่ยุงที่เคลือบผิวอยู่ออกไป สำหรับเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ควรซักให้สะอาดก่อนนำกลับมาใส่ใหม่อีกครั้ง
  6. ไม่ควรพ่นยากันยุงแบบสเปรย์ที่ใบหน้าของเด็กโดยตรง แต่ให้ฉีดใส่มือในปริมาณเล็กน้อยก่อนนำไปทาบริเวณหน้า หรือทาตามส่วนอื่นของร่างกาย โดยต้องไม่ทายากันยุงบริเวณรอบดวงตาหรือปากของเด็ก
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ยากันยุงกับบริเวณที่มีบาดแผล ผิวหนังฉีกขาด หรือเกิดการระคายเคือง
  8. ไม่ควรใช้ยากันยุงที่ผสมดีอีอีทีร่วมกับการใช้ครีมกันแดดเพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดลดลง และเสี่ยงต่อการได้รับสารดีอีอีทีมากขึ้นจากการทาครีมกันแดดซ้ำ ในกรณีที่จำเป็นควรทาครีมกันแดดก่อนเป็นอันดับแรก

บทความล่าสุด

โรคข้อเข่าเสื่อม : อาการ สาเหตุ และวิธีการดูแล

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมของข้อเข่า ในส่วนของกระดูกอ่อนผิวข้อ

ปัสสาวะไม่ออก เสี่ยงกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ

ปัสสาวะไม่ออก พบบ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อาการอาจไม่รุนแรง แต่เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดได้

อาหารไม่ย่อย..ดูแลอย่างไร

โรคอาหารไม่ย่อย เป็นโรคที่มีหลากหลายอาการ เป็นภาวะเรื้อรัง ความทำความเข้าใจต่อโรคเป็นสิ่งสำคัญ