ขี้เหล็ก
วาเลอเรียน

แสดง %d รายการ

ยาสมุนไพรช่วยการนอนหลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับเกิดจากธาตุไฟในร่างกายมีมากเกินไป ส่งผลให้นอนไม่หลับ การที่จะลดธาตุไฟในร่างกายนั้นแนะนำให้ใช้ สมุนไพรที่มีรสขม เย็น จืด


อาการของความเครียด

ความเครียด (Stress)

คือภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก ที่ถูกบีบคั้น หรือกดดัน ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีวิธีการปรับตัวให้ผ่านพ้นไปได้

ความเครียดที่หาทางระบายออกไม่ได้ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจเปลี่ยนเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety disorders)

คนที่ไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งของตนเองและผู้อื่น ควรพบจิตแพทย์เพื่อรับการปรึกษาและรักษาอย่างถูกวิธี

ความเครียดนั้น มีสาเหตุทั้งจากความคิดของตนเอง และจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยสามารถ แบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. ความกดดันจากสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น มลภาวะ เสียงดังเกินไป อากาศที่ร้อนจัด สถานที่ที่วุ่นวายสับสน อยู่ท่ามกลางความรุนแรงหรือสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย
2. ความขาดจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่น่าพอใจ เช่น รายได้น้อยกว่ารายจ่าย กดดันหรือเครียดเรื่องเงิน ที่จำเป็นต้องใช้ด่วน ทำให้รู้สึกไม่มั่นคง
3. ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆที่ไม่ราบรื่น ขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง หรือถูกเอาเปรียบ
4. ความรู้สึกตนเองต่ำต้อย มองโลกอย่างเปรียบเทียบ ต้องพยายามพิสูจน์คุณค่า
5. ไม่มีทางเลือกที่ลงตัวในชีวิต เช่น ต้องรับผิดชอบเรื่องที่ไม่ได้อยากทำ ทำไปก็ไม่มีความสุข ไม่ทำก็ผิด
6. มีปัญหาสุขภาพรุมเร้า มีโรคเรื้อรัง สร้างความทรมานและจำกัดการใช้ชีวิต

สัญญาณความเครียดสะสม

  • ปวดหัว ปวดเมื่อย ปวดท้อง 
  • ท้องผูก
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • วิตกกังวล
  • นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก
  • กระสับกระส่าย กังวล และเหมือนจะประสาทเสีย
  • รู้สึกไม่มีแรง หมดแรง
  • รู้สึกว่าปัญหาที่เข้ามาในชีวิตยุ่งยากมากเกินจนรับได้
  • มีปัญหาเรื่องสมาธิและความจำสั้น
  • รับประทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงกว่าปกติ
  • มักโกรธและอาละวาดได้ง่าย
  • สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดอื่น ๆ
  • ไม่เข้าสังคม ไม่พบปะผู้คน รวมทั้งไม่สนใจสิ่งรอบตัว
  • ทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง

 

การดูแลตนเองเมื่อรู้สึกเครียด

  • พยายามวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เราเครียด และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น
  • ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มกระตุ้นประสาท
  • พบปะเพื่อนฝูง เพื่อพูดคุยในเรื่องที่สร้างเสียงหัวเราะ และระบายปัญหาต่างๆ (หากเพื่อนรับฟัง)
  • จัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เช่น จัดบ้าน หรือโต๊ะทำงานให้ผ่อนคลาย ปลูกต้นไม้เล็กๆ หรือแจกันดอกไม้สร้างความสดชื่น
  • ดูภาพยนตร์และอ่านหนังสือตลกหรือสนุกสนาน
    การรักษาอาการเครียด
  • ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคม เช่น กิจกรรมจิตอาสา หรือลงเรียนสิ่งใหม่ ๆ ต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่า

หากความเครียดรบกวนการใช้ช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงกระทบต่อการทำงาน หรือมีผลต่อผู้อื่น การพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาและรักษาอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง โดยจิตแพทย์จะทำการรักษาโดย

การรักษาโรคเครียด

1. การรักษาด้วยยา : วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อช่วยบรรเทาอาการทางกายให้ดีขึ้น เช่น

  • ใช้ยาลดกรดในกระเพาะ เพื่อรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร 
  • ยาลดความดันโลหิต เพื่อลดระดับความดันโลหิต
  •  ใช้ยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ 
  • ให้ยากลุ่มคลายเครียด เพื่อช่วยให้นอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น หรือมีอาการเครียดน้อยลง

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็มีความจำเป็นเพราะจะช่วยลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และทำให้ง่ายต่อการจัดการกับปัญหา หรือความเครียดที่เป็นต้นเหตุต่อไป ไม่เช่นนั้นอาการทางกายอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดมากขึ้นได้

2. การรักษาด้วยการทำจิตบำบัด : เป็นการรักษาด้วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้ปรับสภาพจิตใจ และสามารถจัดการกับความเครียดข้างในความคิดได้ เช่น

  • เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเอง เช่น ฝึกสมาธิ ออกกำลังกาย
  • การเสริมทักษะในการปรับตัว และการจัดการปัญหา
  • การเข้าร่วมกลุ่มทางสังคม
  • การทำจิตบำบัดแบบกลุ่ม และการทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม
  • การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าต่างจากอารมณ์เศร้าตามปกติอย่างไร

คนที่เศร้าไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้เสมอไป เพราะในคนปกติจะไม่อยู่ในภาวะเศร้านานนัก จะสามารถจัดการกับอารมณ์กับความรู้สึกแล้วกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เช่น คนที่อกหัก อาจร้องไห้ เสียใจ กินข้าวไม่ได้สักพัก แต่ถ้าได้เพื่อนปลอบใจหรือทำใจได้ในที่สุดก็จะหายเศร้าไปเองแล้วกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า อารมณ์นี้จะไม่ต้องได้รับการรักษาจึงจะดีขึ้น 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า 

  • ความผิดปกติในสมอง เช่น สารสื่อประสาท ฮอร์โมนและวงจรระบบประสาท
  • สภาพจิตใจของแต่ละคนอันเนื่องมาจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการคิดและมุมมองต่อตนเอง เช่น มองโลกในแง่ร้าย สิ้นหวังหรือขาดความภูมิใจในตนเอง
  • ภาวะซึมเศ้ราอาจเกิดจากความผิดปกติอื่นๆ เช้น โรคทางกาย (ไทรอยด์ ลมชัก สมองเสื่อม ฯลฯ) ยารักษาโรคบางชนิด ปัญหายาเสพติด โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ฯลฯ

อาการของโรคซึมเศร้า :ผู้เป็นโรคซึมเศร้ามักมีอาการดังต่อไปนี้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

  • ก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
  • รู้สึกเศ้รา ท้อแท้ และสิ้นหวัง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา
  • ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • เคลื่อนไหวช้าลงหรือกระสับกระส่าย
  • เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง
  • เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
  • นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9

โปรดใส่คะแนนให้ตรงกับคำตอบของท่าน (เกณฑ์ให้คะแนน: ไม่เลย = 0, มีบางวันหรือไม่บ่อย = 1, มีค่อนข้างบ่อย = 2, มีเกือบทุกวัน = 3)
ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ท่านมีอาการดังต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน?

1. เบื่อ ทำอะไร ๆ ก็ไม่เพลิดเพลิน
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้
3. หลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากไป
4. เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง
5.เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือเป็นคนทำให้ตัวเอง หรือครอบครัวผิดหวัง
7. สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานท่ีต้องใช้ความตั้งใจ
8. พูดหรือทำอะไรช้าจนคนอื่นมองเห็น หรือกระสับกระส่ายจนท่านอยู่ไม่นิ่งเหมือนเคย
9. คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตาย ๆ ไปเสียคงจะดี

 

ประเภทของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้ามีหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น

  • โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression): โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยมากมักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ หลับยาก น้ำหนักขึ้นหรือลงฮวบฮาบ รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อยๆ เนือยๆ ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกไร้ค่า ช่วงภาวะซึมเศร้านี้สามารถเกิดในช่วงหลังคลอดได้ และมีอาการหลง หูแว่วประสาทหลอนเกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนั้นควรเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้โรครุนแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  • โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression) : โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิด เมเจอร์ ดีเพรสชั่น แต่จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยมีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง และรู้สึกหมดหวัง

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

แพทย์จะมีขั้นตอนในการตรวจสอบเริ่มจากตรวจสอบร่างกายเพื่อหาความผิดปกติ หรือโรคที่อาจนำพาไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ หากมีการตรวจพบโรคที่เกี่ยวข้องจะสามารถรักษาได้ทัน ส่งผลให้โอกาสการเกิดโรคทางอารมณ์ลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้การตรวจที่สำคัญด้วยเครื่องมือแพทย์ทั้ง CT Scan หรือตรวจ EKG หัวใจก็สามารถทำให้ได้รู้ผลที่ละเอียด และแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แพทย์อาจใช้แบบประเมินผ่านการสอบถามถึงความรู้สึกหรืออาการในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้าที่จะมาพบแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยโรคต่อไป โดยหากพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจริง แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรงของโรคในขั้นตอนที่เหมาะสมต่อไป โดยการรักษาต้องใช้เวลา และปรับเปลี่ยนไปตามอาการของโรคด้วย

การรักษาโรคซึมเศร้า

  • การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา ในอาการระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรงจะเป็นการให้ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น กลุ่มยา SSRIs (Selective serotonin reuptake inhibitors) และกลุ่มยา SNRIs (Serotonin-noradrenaline reuptake inhibitors) 
  • การบำบัดพฤติกรรมและความคิด จะเป็นวิธีการรักษาที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยส่วนมากการบำบัดพฤติกรรมและความคิดจะรักษาควบคู่กันไปกับการกินยา วิธีการรักษาจะเป็นการ พูดคุยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเปลี่ยนพฤติกรรมและมุมมองในการใช้ชีวิตให้เป็นในทางที่ดีขึ้น 
  • การกระตุ้นเซลล์สมองและประสาท เป็นวิธีการที่ใช้กับผู้ป่วยอาการรุนแรงที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย โดยจะมีการใช้กระแสไฟฟ้าปล่อยผ่านสมองของผู้ป่วยขณะที่ดมยาสลบอยู่ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยอาจะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ ความจำเสื่อม และอาจะเกิดอาการชักเป็นช่วง ๆ ในระหว่างการรักษา

การป้องกันโรคซึมเศร้า

ภาวะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสาเหตุที่หลากหลายจึงไม่สามารถควบคุมได้ แต่การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การออกไปเที่ยวนอกบ้าน และการรักษาสภาวะอารมณ์ของตัวเองให้เป็นปกติและมีชีวิตชีวา ไม่เก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้กับตัวเองมากจนเกินไป การมองโลกในแง่ดีก็จะทำให้เราห่างไกลจากโรคซึมเศร้าได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า