เด็กคัดจมูก

แสดง %d รายการ

ยาแก้แพ้

เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้จะกระตุ้น ให้ร่างกายมีการหลั่งสาร histamin,prostaglandin สารเหล่านี้ทำให้เกิดอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล

 

360 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ยาลดน้ำมูก จาม

น้ำมูกไหล ทำไมเภสัชจ่ายยาแก้แพ้

เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ไปซื้อยากินเองเพื่อบรรเทาอาการน้ำมูกไหลที่ร้านยา แต่กลับกลายเป็นว่าได้ยาแก้แพ้มาแทน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ายาแก้แพ้จะบรรเทาอาการน้ำมูกไหลได้อย่างไร? ยาแก้แพ้ชนิดง่วงและไม่ง่วงจะใช้อะไรดี?

น้ำมูกไหลที่มีลักษณะใส เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ

  • น้ำมูกไหลจากไข้หวัด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย จะทำให้เกิดอาการของไข้หวัดได้ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ซึ่งเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัส รวมทั้งมีการทำงานของต่อมภายในโพรงจมูกให้มีการหลั่งน้ำมูก ทำให้ผู้ป่วยมักมีน้ำมูกใสๆ ตลอดทั้งวัน แต่เมื่อพักผ่อนอย่างเพียงพอ อาการดังกล่าวจะสามารถหายไปได้เองใน 3-4 วัน
  • ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่มักทำให้เกิดน้ำมูกไหลได้คือ น้ำมูกไหลจากการแพ้ หรือ ภูมิแพ้ ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสารที่ทำให้เกิดการแพ้ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ เป็นต้น ร่างกายจึงตอบสนองต่อสารที่แพ้ด้วยการหลั่งฮีสตามีน (histamine) ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น มีผื่นคัน หายใจลำบาก คันจมูก รวมทั้งน้ำมูกไหล อาการจึงเป็นๆ หายๆ หรือมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี ขึ้นกับระยะเวลาที่ได้สัมผัสกับสารที่แพ้นั่นเอง

ยาแก้แพ้ (antihistamine)

คือยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนซึ่งหลั่งเมื่อเกิดอาการแพ้ ยาในกลุ่มนี้จึงถูกเรียกสั้นๆ ว่า ยาแก้แพ้ โดยในปัจจุบัน มีอยู่หลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มดั้งเดิม (conventional antihistamines) ที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วง
  2. กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines)

ยากลุ่มดั้งเดิม

เช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine), บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) , ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine), ไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate), ไฮดรอไซซีน (hydroxyzine), ทริโปรลิดีน (triprolidine) เป็นต้น

ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนและยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีน (anticholinergic) ที่ทำให้ต่อมภายในโพรงจมูกหลั่งน้ำมูก ทำให้น้ำมูกลดลงจึงสามารถใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากทั้งสาเหตุไข้หวัดและอาการแพ้ได้

ยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองไปกดระบบประสาท ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญ คือมีอาการง่วงซึม และอาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้อีก เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง

ยากลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน

เช่น เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine), ลอราทาดีน (loratadine), เซทิริซีน (cetirizine), เลโวเซทิริซีน (levocetirizine) เป็นต้น

ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนโดยไม่ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีน ทำให้ใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากภูมิแพ้ได้ดี และพบว่ามีผลข้างเคียงต่ำกว่ากลุ่มดั้งเดิม อันได้แก่ อาการปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง รวมทั้งยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยกว่าจึงทำให้เกิดผลข้างเคียงง่วงซึมได้น้อยกว่าอีกด้วย

สรุปคือ การเลือกใช้ยาลดน้ำมูกจะต้องพิจาณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ประกอบกับประสิทธิภาพของยาและความปลอดภัยของผู้ป่วย

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่

เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลมและปอด เชื้ออาจจะลุกลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ

แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน

ไข้หวัดธรรมดา  เป็นการติดเชื้อไวรัสผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้จะไม่สูงมาก

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ คือ Influenza A, B, C และ D ซึ่งสายพันธุ์ A และ B เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการระบาดในท้องถิ่น ตามฤดูกาล

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการติดต่อระหว่างสัตว์ หรือการกลายพันธุ์ในระหว่างกระบวนการจำลองรหัสพันธุกรรมของไวรัสตัวใหม่

โดยหากไม่ได้รับการรักษาในระยะเวลาที่เหมาะสม ไข้หวัดใหญ่อาจนำไปสู่โรคปอดบวม, หลอดลมอักเสบ, ไซนัสอักเสบ,ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพในระยะยาว เช่น หอบหืด หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ไข้หวัดใหญ่ติดต่ออย่างไร

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านการกระจายของเชื้อผ่านสารคัดหลั่ง ที่ผู้ป่วยไอ หรือ จามออกมา การแพร่กระจายในบางครั้ง อาจเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัส หรือสัมผัสพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ1

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้มากที่สุุดในช่วง 3-4 วันแรกที่มีอาการป่วย แต่ในบางคนสามารถแพร่เชื้อ ได้ก่อนที่จะมีอาการแสดงและคงอยู่นานถึง 7 วัน นอกจากนี้ในผู้ป่วยเด็กบางคนและคนทีมีภูมิคุ้มกันต่ำจะมีช่วงระยะเวลาของการแพร่เชื้อที่ยาวนานกว่า

ใครบ้างที่มีผลกระทบจากไข้หวัดใหญ่

ทุกคนสามารถได้รับผลกระทบจากไข้หวัดใหญ่ แต่ในคนบางกลุ่มจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า กลุ่มความเสี่ยงสูงนี้ประกอบด้วย

  • หญิงตั้งครรภ์
  • เด็ก อายุน้อยกว่า 5 ขวบ
  • ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด, โรคหัวใจเรื้อรัง, โรคไต, ตับเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่เกิดจาก โรคหรือยา เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV หรือผู้ป่วยที่ใช้ยา steroids
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่มีโอกาสพบปะกับผู้ป่วย

อาการแสดงของไข้หวัดใหญ่

  • อาการคลื่นไส้อาเจียน และท้องเสีย 
  • ไข้สูงอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังติดเชื้อ
  •  การติดเชื้อ สามารถทำให้เกิดอาการเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น เกิดโรคแทรกซ้อน คือปอดบวม 
  • อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อสามารถทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของเนื้อเยื่อและอวัยวะ เช่น ระบบสมอง, ระบบหัวใจและกล้ามเนื้อ

จัดการไข้หวัดใหญ่อย่างไร
การจัดการกับไข้หวัดใหญ่ มี 2 ประเภท คือ

  1. การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนก่อนการติดเชื้อ 
  2. การรักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสหลังจากมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่แล้ว

บทความล่าสุด