การใช้ยาในผู้ป่วยเด็ก

การใช้ยาในเด็ก

เด็กมีสรีระร่างกายแตกต่างจากผู้ใหญ่หลายประการ ดังที่มีคำกล่าวไว้ว่า “ เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็ก”   ดังนั้นในทางการแพทย์จึงมีหลักการใช้ยาในเด็กที่จำเพาะ และมีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเด็กออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 ทารกแรกเกิด neonate : วันแรก- 1 เดือน

กลุ่มที่ 2 ทารก infant : 1 เดือน- 1 ปี

กลุ่มที่ 3 วัยเด็ก children :  1 ปี- 11 ปี

กลุ่มที่ 4 วัยรุ่น adoleccent : 12 ปี- 18 ปี

วัยเด็ก

สารบัญ

ลักษณะร่างกายเด็กที่ส่งผลต่อการตอบสนองยา

  • ผิวหนังของเด็กมีสัดส่วนของน้ำมากกว่าวัยอื่นๆ ทำให้มีการดูดซึมยาผ่านผิวหนังได้ดีมากกว่าวัยผู้ใหญ่
  • ร่างกายเด็กมีไขมันน้อย มีสัดส่วนที่เป็นน้ำมาก และระบบผนังกั้นเยื่อหุ้มสมอง blood-brain barrier ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจะมีสัดส่วนยาที่ซึมผ่านเข้าสู่สมองได้ในระดับสูง
  • โปรตีนอัลบูมินที่จับคู่กับยาในเลือดของเด็กมีน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ ทำให้ยาที่ให้เด็กเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอยู่ในรูปที่เป็นอิสระไม่ถูกจับโปรตีนในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ใหญ่
  • การทำงานของตับในเด็กยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้ระบบการเปลี่ยนแปลงยาหรือกระบวนการเมตาโบลิซึม metabolism ของเด็กจะไม่เหมือนผู้ใหญ่
  • ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปที่ตับในเด็กมีมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้มีอัตราการกำจัดยาเร็วกว่าในวัยอื่นๆ
  • การทำงานของไตในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นการกำจัดยาออกจากร่างกายจะมีน้อยกว่าในวัยผู้ใหญ่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การใช้ยาในเด็ก

เด็กแรกคลอด

สิ่งที่ผู้ดูแลเด็กควรทราบเพื่อให้เด็กมีความปลอดภัยจากการใช้ยา

  1. ควรชั่งน้ำหนักตัวเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพราะการใช้ยาในเด็กต้องอ้างอิงจากน้ำหนักตัวในการใช้คำนวณขนาดยาที่ต้องใช้ในเด็ก จะไม่นำอายุของเด็กมาใช้นำนวณหาขนาดยา
  2. ขนาดยาของเด็กจะอ้างอิงตามเอกสารทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ไม่ได้ใช้การทอนส่วนจากขนาดยาของผู้ใหญ่  เนื่องจากร่างกายเด็กมีการทำงานต่างจากผู้ใหญ่
  3. ไม่ผสมยาในอาหารหรือนม เพราะหากเด็กรับประทานนมไม่หมด จะได้ขนาดยาไม่ครบตามที่กำหนด และเนื่องจากยาบางชนิดไม่ทนต่อความร้อน หรือความเป็นกรดด่างของอาหารหรือนม ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา

น้ำหนักเด็ก

4. ไม่ควรบังคับหรือใช้อารมณ์กับเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา แต่ควรใช้วิธีการให้รางวัลกับเด็กมากกว่า

5. การป้อนยาเด็กให้ใช้ช้อนตวง หลอดฉีดยา อุปกรณ์ที่ติดมากับยา หรือที่ได้มาจากโรงพยาบาล คลินิกหรือร้านยาเท่านั้น เพื่อให้ได้ขนาดยาที่ถูกต้องปลอดภัยต่อเด็ก ไม่ควรใช้ช้อนชงกาแฟ ช้อนกินข้าวมาป้อนยาเด็กเพราะอาจทำให้ได้ขนาดยาไม่ถูกต้องส่งผลต่อผลการรักษาและความปลอดภัย

6. การป้อนยาเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้ทำดังต่อไปนี้

    • ให้ผู้ปกครองอุ้มเด็กไว้ในวงแขน หรือวางเด็กหนุนตัก ยกศีรษะเด็กให้สูงขึ้นเล็กน้อย
    • สบตา พูดคุยกับเด็ก ทำท่าทางให้เด็กอ้าปากหรือใช้นิ้วดึงเบาๆบริเวณคางเด็ก
    • ใช้หลอดฉีดยาตวงยา สอดกระบอกยาที่มุมปากค่อยๆหยอดยาให้ไหลผ่านกระพุ้งแก้ม อย่าดันยาจนหมดในครั้งเดียว เพราะเด็กมีปริมาณการกลืนที่จำกัด อาจทำให้เด็กบ้วนยาออกมาได้
    • ห้ามป้อนยาเด็กในขณะที่เด็กนอนราบ

แม่ลูก

7. การป้อนยาที่มีรสขม ให้ผสมน้ำหวานได้ โดยการแบ่งปริมาณยาที่จะป้อนออกเป็น 2-3ครั้ง   เทยาและน้ำหวานผสมกันในช้อนตวง ไม่ควรผสมน้ำหวานเข้าไปในขวดยาเลย เพราะมีผลต่อความคงตัวของยา และอาจทำให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ยาตีกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ

8. หากมีการเทยาออกมาใส่ถ้วยตวงแล้วใช้หลอดฉีดยาตวงยา เพื่อป้อนยาให้เด็ก หากมียาเหลือในถ้วยตวง ห้ามเทยากลับเข้าไปในขวดยา เพราะจะทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค

9. การใช้กระบอกฉีดยา ตวงยาให้เด็ก การอ่านปริมาตรขนาดยา คือ ให้จับหลอดให้ตรง หันให้ปลายหลอดอยู่ด้านบน อ่านที่ตรงขอบลูกสูบยางด้านบน ตามรูป

หลอดป้อนยา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : สาระปันยา

105 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
385 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ตัวอย่างขนาดยาตามเอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับเด็กทางการแพทย์

ขอนำตัวอย่างเอกสารอ้างอิงขนาดยาที่นำมาใช้คำนวณหาปริมาณยาให้เด็ก พอให้เห็นเป็นสังเขปดังนี้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละตัวยา

  1. ยาลดไข้ ที่มีตัวยาพาราเซตามอล paracetamol

-ขนาดยาที่แนะนำคือ น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัมจะใช้ต้องใช้ตัวยา paracetamol 10-15 มิลลิกรัม ต่อ 1 มื้อยา  ให้ยาห่างกันทุก 4-6 ชั่วโมง

  1. ยาลดไข้แก้ปวด ที่มีตัวยาไอบูโปรเฟน ibuprofen

– ใช้ได้ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนเท่านั้น

– ขนาดยาที่แนะนำคือ น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัมจะใช้ยาตัวยา ibuprofen 4-10 มิลลิกรัม ต่อ 1 มื้อยา ให้ยาห่างกันทุก 6-8 ชั่วโมง

เด็กมีไข้

  1. ยาลดน้ำมูก ที่มีตัวยาคลอเฟนิรามีน chlopheniramine (cpm)

– ขนาดยาที่แนะนำคือ น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม จะต้องใช้ตัวยา cpm 0.35 มิลลิกรัม ต่อ 1 วัน  โดยแบ่งให้ยาห่างกัน 6-8 ชั่วโมงในแต่ละมื้อ

  1. ยาแก้ไอขับเสมหะ ที่มีตัวยาบรอมเฮกซีน bromhexine

– ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  : ขนาดยาที่แนะนำคือ 1 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

– ในเด็กอายุ 2-5 ปี : ขนาดยาที่แนะนำคือ 2 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

– ในเด็กอายุ 5-10 ปี :  ขนาดยาที่แนะนำคือ 4 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

– ในเด็กอายุมากกว่า 10 ปี : ขนาดยาที่แนะนะคือ 8 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

โดยให้ยาห่างกันในแต่ละมื้อ 8-12 ชั่วโมง

เด็กเป็นหวัด

5. ยาแก้ท้องอืด ขับลม ที่มีตัวยา ไซเมททิโคน simeticone ความเข้มข้น 40 มก./0.6 มล.)

– ขนาดยาที่แนะนำ : ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  ให้ทานครั้งละ 0.3 มล. ทุก 6 ชั่วโมง

ในเด็กอายุ 2-6 ปี ให้ทานคร้งละ 0.6 มล. ทุก 6 ชั่วโมง

6. น้ำเกลือ ORS สำหรับป้องกันอาการขาดน้ำ

– ขนาดที่แนะนำ : ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  ให้ทาน 2 ซอง/วัน , ในเด็กอายุ 2-10 ปี ให้ทาน 3 -4 ซอง / วัน

7. ยาถ่ายพยาธิ ที่มีตัวยา อัลเบนดาโซล albendazole ความเข้มข้น 200 มก/5 มล.

-ขนาดยาที่แนะนำ : ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  ทานครั้งละ 200 มก./วัน  ทานซ้ำอีกครั้ง ในอีก 3 สปดาห์

ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป ทานครั้งละ 400 มก./วัน ทานซ้ำอีกครั้งในอีก 3 สัปดาห์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ขนาดยาเด็ก

สรุป

ร่างกายเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่หลายอย่าง ดังนั้นการใช้ยาในเด็กจึงมีความจำเพาะเจาะจง จะไม่นำการใช้ยาของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่มาอ้างอิง  เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก และสิ่งสำคัญคือผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก จำเป็นต้องหมั่นศึกษาวิธีการดูแลเด็กพร้อมขอคำแนะจากแพทย์หรือเภสัชกรในการใช้ยากับเด็ก โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 3-5 ปี

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า