รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

อาหารเพื่อสุขภาพ

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพ( functional foods)หรืออาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง  ตามกระแสนิยมเรื่องการดูแลสุขภาพ คนเราจะเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชะลอความเจ็บป่วย มากกว่าที่จะบริโภคอาหารเพื่อบรรเทาความหิวอย่างเดียว อย่างไรตามแนะนำว่าผู้บริโภคควรพิจารณาข้อมูลที่ได้รับอย่างรอบด้านเพื่อการเลือกบริโภคที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย

Functional foods คือ อาหารเพื่อสุขภาพจะประกอบด้วยสารที่มีหน้าที่ทางชีวภาพมีผลต่อการปรับปรุงสุขภาพ เช่น เสริมภูมิต้านทาน ลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐาน (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และ เกลือแร่) โดยควรมีลักษณะทางกายภาพ เหมือนอาหารรูปแบบปกติ  สามารถบริโภคเป็นอาหารได้ไม่มีข้อจำกัดเหมือนยา

อาหารฟังก์ชั่น

1.ความแตกต่างระหว่าง อาหารฟังค์ชั่น  โภชนเภสัชภัณฑ์ และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

โภชนเภสัชภัณฑ์ Nutraceuticals คือ สารที่แยกได้จากอาหาร ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพในเชิงการแพทย์  โดยสามารถป้องกันและรักษาโรคได้ ตัวอย่าง สารสกัดไลโคปีน ( lycopene) จากมะเขือเทศ สารสกัดคาเทซิน (catechin) จากชาเขียว   สารสกัด oligomeric proanthocyanidin. OPC  จากเมล็ดองุ่น

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Dietary Supplements คือ ผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มพิเศษที่ใช้รับประทานเสริมนอกเหนือจากการรับประทานอาหารปกติ ได้มาจากการสกัดหรือทำให้เข้มข้นจากอาหาร ทำให้อยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง ไม่ได้อยู่ในรูปแบบอาหารที่รับประทานตามปกติ

ในปัจจุบัน อาหารฟังค์ชั่น โภชนเภสัชภัณฑ์ และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มักจะถูกนำมาใช้ในร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน เพื่อให้เติมเต็มและเสริมการรักษาในส่วนที่การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขได้  เราเรียกว่า “การแพทย์แบบผสมผสาน”Complementary Medicines

แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ร่วมกันระหว่างอาหารเสริมสุขภาพ กับ ยารักษาโรคแผนปัจจุบัน อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันได้ในบางโอกาส จึงต้องมีการใช้ร่วมกันอย่างระมัดระวังด้วย

2. ประเภทของอาหารเสริมสุขภาพ( functional foods)

สมาคมนักกำหนดอาหาร ภายใต้หน่วยงานของคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S.Food and Administration;FDA) แบ่งอาหารฟังค์ชั่นออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

2.1 Conventional food :

อาหารรูปแบบปกติ ตามธรรมชาติ ที่ไม่ผ่านการดัดแปลง แต่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น

  • ผลิตภัณฑ์นมหมักที่มีโพรไบโอติกตามธรรมชาติ สามารถปรับปรุงสุขภาพลำไส้ ป้องกันและบรรเทาภาวะลำไส้แปรปรวน
  • Dark chocolate ช่วยปรับปรุงคุณภาพของเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือดซึ่งส่งผลดีต่อหัวใจ
  • น้ำผลไม้แครนเบอรี่ช่วยลดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
โภชนการพื้นฐาน

2.2 Modified foods :

อาหารดัดแปลง หมายถึง อาหารที่มีการเติมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหรือสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อให้มีผลต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น

  • ขนมปังที่มีการเติมโฟเลต เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์มารดา
  • มาการีนเติมสเตอรอลเอสเทอร์เพื่อลดโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด
  • น้ำปลาเสริมไอโอดีน
  • ไข่ไก่เสริมไอโอดีนหรือOMEGA-3
  • นมเสริมแคลเซียม

2.3 Medical foods :

อาหารที่ผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษทางการแพทย์ ที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เฉพาะเจาะจงอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เรียกว่า โภชนบำบัด แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • อาหารทางการแพทย์สำหรับทารกและเด็ก
  • อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนหรือสูตรมาตรฐาน
  • อาหารทางการแพทย์สูตรเฉพาะโรค

การดูแลภาวะโภชนาการของผู้ป่วยด้วยการให้โภชนบำบัดที่เหมาะสมควบคู่กับการรักษาโรค เพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ลดวันนอนโรงพยาบาล ป้องกันภาวะทุพโภชนาการ

การให้อาหารทางการแพทย์แก่ผู้ป่วย สามารถให้ได้  2 ลักษณะ คือ

  • การให้ทางปาก แก่ผู้ป่วยที่ยังรับประทานทางปากได้
  • การให้ทางสายให้อาหาร แก้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานทางปากได้ แต่ระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหาร ยังทำงานได้ตามปกติ

 

  รายละเอียดเกี่ยวกับอาหารทางการแพทย์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ อะไรคืออาหารทางการแพทย์

3. สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

คือ สารประกอบในอาหารที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น สารฟังค์ชั่น สารเชิงพันธภาพ หรือสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่ ซึ่งจัดเป็นอาหารเพื่อเสริมสุขภาพเช่นกัน  จำแนกออกได้ เป็น 5 กลุ่มหลักดังนี้

3.1 Bioactive protein and peptides : โปรตีนและเปปไทด์

3.2 Polyunsaturated fatty acids;PUFAs: กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

3.3 Fiber :ใยอาหาร

3.4 Probiotics and prebiotics : โพรไบโอติกและพรีไบโอติก

3.5 Phytochemicals and phytoestrogens : สารพฤกษเคมีและไฟโตเอสโตรเจน

3.1 Bioactive protein and peptide

เป็นชิ้นส่วนโปรตีน ( protein fragments ) ที่มีความจำเพาะเจาะจงและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น

  • โปรตีนปลาไฮโดรไลเซต ช่วยปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ต้านการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด ช่วยดูดซึมแคลเซียมในลำไส้เข้าสู่ร่างกาย
  • เวย์โปรตีน จะมีสาร lactoferrin,lactoperoxidase,growth factor มีฤทธิ์ต้านความดันโลหิตสูง
  • โปรตีนจากถั่วเหลือง (soy protein) ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไขมันในร่างกายได้ ผ่านกลไกการยับยั้งยีนสังเคราะห์กรดไขมัน

3.2 Polyunsaturated fatty acids;PUFAs:

กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน มีประโยชน์ในด้านเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการอักเสษ ปรับสมดุลภูมิต้านทาน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด กรดไขมันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • กรดไขมันโอเมก้า -3 เช่น EPA (eicosapentaeeeeeeenoic acid), DHA(docsahexexaenoic acid
  • กรดไขมันโอเมก้า-6 เช่น CLA ( conjugated linoleic acid) , GLA (gamma-linoleic acid)

สามารถพบกรดไขมันเหล่านี้ในแหล่งอาหารธรรมชาติ เช่น ปลา อาหารทะเล  อะโวกาโด เมล็ดฟักทอง น้ำมันคาโนลา น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น

3.3 ใยอาหาร (Fiber)

คือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ทางเดินอาหารของมนุษย์ จึงไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ แต่ถูกย่อยได้ด้วยจุลลินทรีย์ชนิดดีในร่างกาย gut microflora   จึงจัดใยอาหารเป็นพรีไบโอติก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • ใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ( soluble fiber) เช่น แลคตูโลส (lactulose), อินนูลิน (inulin) ,FOS;fructooligosaccharide มีคุณสมบัติลดการดูดซึมกลูโคสและไขมันในเลือด ถูกย่อยสลายได้จากจุลลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้
    แหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีเส้นใยชนิดนี้ ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ พืชตระกูลถั่ว (ถั่วลันเตา ถั่วแดงหลวง และถั่วเลนทิล) แอปเปิ้ล ส้ม บร็อคเคอรี่ มันฝรั่ง
  • ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble fiber) เช่น เซลลูโลส (cellulose), ลิกนิน (lignin) จะพองตัวในน้ำเหมือนฟองน้ำ ทำให้เพิ่มปริมาตรอาหารในกระเพาะ ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระและลดปัญหาท้องผูกได้
    แหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีเส้นใยชนิดนี้ ได้แก่ ข้าวกล้อง พืชผักใบเขียว

3.4 Probiotics and Prebiotics

โพรไบโอติก คือ จุลลินทรีย์ที่มีชีวิตชนิดดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอ

พรีไบโอติก คือ แหล่งอาหารของเชื้อจุลลินทรีย์ชนิดดี โพรไบโอติก

ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีทั้งโพรไบติกและพรีไบโอติก เรียกว่า SYNBIOTIC

ประโยชน์ของซินไบโอติก คือ ปรับสมดุลลำไส้ กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน ป้องกันภาวะภูมิแพ้และโรคผิวหนังอักเสบ

กลไกการทำงานของโพรไบโอติก คือ แย่งจับพื้นที่เยื่อบุผิวลำไส้กับจุลลินทรีย์ก่อโรค ผลิตแบคทีริโอซิน กรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคิก กรดอะซิติก ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สภาวะแวดล้อมในลำไส้ของมนุษย์ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

โพรไบโอติก ที่นำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในปัจจุบัน มี 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. Lactobacillus
  2. Bifidobacterium
  3. Saccharomyces
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   —-->  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก

พรีไบโอติก ที่นำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน มี 3 กลุ่ม

  1. NDD : non-digestible disaccharide เช่น แลคตูโลส
  2. NDO : non-digestible oligosaccharide เช่น FOS (fructooligosaccharide),GOS (galactooligosaccharide)
  3. NDP : non-digestible polysaccharide เช่น อินนูลิน (inulin)

3.5 Phytochemicals and phytoestrogens

สารสำคัญที่พบในพืชและมีการนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ได้แก่

  • ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบมากในพืชตระกูลส้ม โกโก้ และ ช็อกโกแลตดำ
  • แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1)กลุ่มรงควัตถุสีเหลือง เช่น lutein และ zeaxanthin  ซึ่งมีประโยชน์ต่อจอประสาทตา

2) กลุ่มรงควัตถุสีชมพู-แดงส้ม เช่น ไลโคปีน มีประโยชน์ต่อหลอดเลือดu

  • ไฟโตเอสโตรเจน เป็นสารที่ออกฤทธิ์ คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ isoflavone พบได้มากใน ถั่วเหลือง เมล็ดแฟลกซ์

สรุป

แม้ว่า อาหารเสริมสุขภาพ จะเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าโภชนาการพื้นฐาน แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนอาหารหลักได้ เนื่องจากการดำรงชีพของคนเรายังต้องใช้พลังงานจากโภชนาการพื้นฐานอยู่
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตนวัตกรรมการผลิต อาหารฟังค์ชั่น ยังคงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คำกล่าวอ้างทางสุขภาพของผลิตภัณฑ์ ยังคงมีความจำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์และนำไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

  1. ศนิ จิระสถิย์,สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในอาหารเพื่อสุขภาพ.ภาควิชาวิทยาศาสร์การอาหาร มหาวิทยาลัยศรีบูรพา ปี พ.ศ. 2561

2. ดร.ภญ.กุสาวดี เมลืองนนท์, อาหารทางการแพทย์. บทความวิชาการเพื่อการศึกษต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า