หัวเข่า
หัวเข่าเด็ก

แสดงทั้งหมด 4 ผลลัพท์

ยาทาบาดแผล

แผลติดเชื้อ คือ แผลที่มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณกว้างซึ่งเกิดจากการติดเชื้อที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนมากในแผล ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน

 

45 บาท75 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
285 บาท830 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

โพวิโดนไอโอดีน

จากข่าวการระเบิดของโรงงานกัมมันตรังสีที่ฟูกูชิมาในประเทศญี่ปุ่นที่สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีหลายชนิดเช่น ซีเซียม 137 (Cesium-137 [137Ce]), (ไอโอดีน 131 (Iodine-131 [131I]) มีการฟุ้งกระจายและออกมาปะปนกับชั้นบรรยากาศของพื้นที่ใกล้เคียง

โดยเฉพาะ ไอโอดีน 131 ที่มีความสามารถในฟุ้งกระจายในอากาศได้สูงกว่าสารกัมมันตรังสีชนิดอื่นๆ ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงมีมาตรการป้องกันการได้รับสารกัมมันตรังสีดังกล่าวตามหลักการสากล โดยมาตรการป้องกันดังกล่าวแนะนำสำหรับประชาชนที่มีความเสี่ยงสูง

 Iodine-131 (131I) คือ แร่ธาตุไอโอดีนที่มีคุณสมบัติเป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีความคงตัวต่ำ มีค่าครึ่งชีวิตของการสลายตัวประมาณ 8 วัน โดยการสลายตัวของไอโอดีน 131 สามารถสลายตัวได้อนุภาคหลายชนิดรวมถึงรังสีเบต้าและรังสีแกมมา ซึ่งรังสีเบต้าดังกล่าวนี้เองที่มีคุณสมบัติในการทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดี

การประยุกต์ใช้คุณสมบัติดังกล่าวของไอโอดีน 131 มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทั้งนี้มีการนำเอาไอโอดีน 131 มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นคอหอยพอกซึ่งมีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ

โดยปกติ เนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์เป็นเนื้อเยื่อที่มีความสามารถสูงในการจับกับไอโอดีน (ซึ่งหมายความรวมถึงไอโอดีนทุกชนิด) เพื่อนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ในการทำหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ดังนั้นเมื่อต่อมไทรอยด์มีขนาดโตผิดปกติเนื่องจากมะเร็งหรือเป็นคอหอยพอก ไอโอดีน 131 ที่ให้เข้าไปก็จะถูกจับไว้ในเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์และไปทำลายมะเร็งหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกตินั้นได้

คนปกติหากได้รับ ไอโอดีน 131 แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเราสามารถหาวิธีป้องกัน หรือลดความเสี่ยงนั้นได้อย่างไร

 ร่างกายจะมีการดูดซึมไอโอดีน 131เข้าสู่กระแสเลือดและถูกดักจับเพื่อขนส่งเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์อาจถูกทำลาย และกลายไปเป็นภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนได้ และทำให้เป็นมะเร็งได้

พบว่ากลุ่มประชากรที่อยู่บริเวณที่มีสารกัมมันตรังสีชนิด ไอโอดีน 131 สูง โดยเฉพาะเด็กทารก มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้สูงกว่าคนทั่วไป อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ได้อีกด้วย

จากความเสี่ยงดังกล่าวนี้เอง มาตรการการป้องกันต่างๆ จึงถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงให้มากที่สุด โดยวิธีการลดความเสี่ยงที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในขณะนี้คือการใช้ไอโอดีนทั้งในรูปแบบการรับประทานและการทาผิวหนังนั่นเอง

 เกลือโปแตสเซียม ไอโอไดด์ (potassium iodide) ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้สำหรับการป้องกันการได้รับ ไอโอดีน 131 (radiation exposure) แต่ไม่มีผลป้องกันในสารกัมมันตรังสีชนิดอื่นๆ

ขนาดที่แนะนำคือ โปแตสเซียม ไอโอไดด์ 130 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานก่อนที่จะเข้าเขตกัมมันตภาพรังสีอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันได้มากกว่าร้อยละ 90 และแนะนำให้รับประทานต่อเนื่องจนกว่าจะออกจากบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม หากรับประทาน โปแตสเซียม ไอโอไดด์ หลังจากที่ได้รับ ไอโอดีน 131 แล้วภายใน 3-4 ชั่วโมง ยังพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ร้อยละ 50 แต่หากรับประทานหลังจากนั้นเกิน 6 ชั่วโมง ยังไม่มีการศึกษายืนยันถึงประสิทธิภาพ

โปแตสเซียมไอโอไดด์ ทำงานอย่างไร

การที่ต่อมไทรอยด์นั้นสามารถดักจับแร่ธาตุไอโอดีนได้ในทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตามต่อมไทรอยด์นั้นจะจับกับไอโอดีนได้ในปริมาณจำกัด ดังนั้นจึงอาศัยหลักการนี้ในการให้แร่ธาตุไอโอดีนในรูปที่มีความคงตัวสูงในปริมาณสูง เพื่อให้เนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์จับกับไอโอดีนจนอิ่มตัว ดังนั้นหากมีการเข้าพื้นที่ที่มีสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน 131 จะไม่สามารถจับกับเนื้อเยื่อในต่อมไทรอยด์ได้อีก แต่จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ

 

อย่างไรก็ตามการรับประทานไอโอดีนในปริมาณสูงนั้นมีข้อควรระวังหลายประการ เช่น เกิดการแพ้อย่างรุนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ นอกจากนี้ควรพิจารณาใช้ในกรณีที่มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน ซี่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

หากไม่สามารถหา เกลือโปแตสเซียม ไอโอไดด์ได้ มีบางคำแนะนำที่แนะนำให้ใช้ lugol’s solution ซึ่งเป็นสารละลายที่มีเกลือโปแตสเซียม ไอโอไดด์อยู่ร้อยละ 10 แทนได้
 

การใช้ยาเบตาดีนซึ่งเป็นยาทาแผล หากนำมาทาผิวหนังจะสามารถป้องกันอันตรายจาก ไอโอดีน 131 ได้หรือไม่ 

เบตาดีน คืออะไร  เบตาดีน (betadine) เป็นชื่อการค้าของยาโพวิโดนไอโอดีน (povidone iodine) ผลิตภัณฑ์เป็นสารละลายมีความเข้มข้น 10%

โพวิโดน ไอโอดีน คืออะไร  โพวิโดน ไอโอดีน เป็นยาฆ่าเชื้อใช้ภายนอก (topical antiseptic) ที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน มีประสิทธิภาพดีต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และโปรโตซัว

 โพวิโดน ไอโอดีน ชนิดสารละลาย ที่จำหน่ายในประเทศไทยมีความเข้มข้นของโพวิโดน ไอโอดีน 10% ซึ่งเทียบเท่ากับไอโอดีนความเข้มข้น 1%

โพวิโดน ไอโอดีน เป็นยาฆ่าเชื้อใช้ภายนอกที่มีประสิทธิภาพดี จึงนิยมนำมาใช้เพื่อรักษาแผลสด หรือใช้ในโรงพยาบาลเพื่อฆ่าเชื้อก่อนและ/หลังผ่าตัด เป็นต้น

ข้อควระวังการใช้โพวิโดน ไอโอดีน อาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นได้ ซึ่งมีตั้งแต่ผื่นคัน ไปจนถึงปากบวม หายใจไม่ออก 

การใช้โพวิโดน ไอโอดีนเพื่อป้องกันสารกัมมันตรังสี  การใช้ โพวิโดน ไอโอดีน ทาที่ผิวหนัง เช่น แขน หรือคอ  การทายาอาจมีไอโอดีนดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยมากไม่เพียงพอที่จะจับกับเนื่อเยื่อต่อมทรอยด์ได้มากพอ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อการดูดซึมของโพวิโดนไอโอดีน เช่น ขนาดความเข้มข้นของตัวยา ปริมาณยา รูปแบบของยาเตรียม บริเวณที่ทายา หากทายาบริเวณที่มีชั้นไขมันมาก การดูดซึมจะต่ำ 

สภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ขณะทายายังมีผลต่อการดูดซึมยาได้อีกด้วย จากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ที่ทายารูปแบบดังกล่าวที่ผิวหนังจะได้รับไอโอดีนในปริมาณที่สามารถป้องกัน ไอโอดีน 131 ได้

 ปัจจุบันยังขาดข้อมูลสนับสนุนทางคลินิกเกี่ยวกับ ปริมาณโพวิโดน ไอโอดีน และระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อใช้ป้องกันสารกัมมันตรังสีชนิด ไอโอดีน 131 ดังนั้นจึงไม่แนะนำการใช้ยาดังกล่าวในข้อบ่งใช้นี้

เบตาดีนใช้รักษาสิวได้หรือไม่

เบตาดีน® เป็นชื่อการค้า มีตัวยาสำคัญคือ povidone iodine 10% เป็นยาใช้ภายนอก มีฤทธิ์ในการต้านรา ไวรัส และแบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรียแกรมบวก ทำให้ต้านเชื้อ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้กลไกในการทำลายเชื้อคือ ทำให้การสังเคราะห์โปรตีนและกรดนิวคลีอิกของเชื้อดังกล่าวผิดปกติ

ส่วนในประเด็นการใช้ povidone iodine บนผิวหน้านั้นยังไม่พบการศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้บริเวณดังกล่าว จึงควรระวังเรื่องอาการไม่พึงประสงค์ เช่น อาการแสบร้อน เนื่องจากผิวหน้าบอบบางกว่าผิวในส่วนอื่นๆ

บาดแผล

การทำแผล ขั้นตอน วิธีการ และการดูแลตนเอง

ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และทำแผลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที หากเกิดแผลในลักษณะดังต่อไปนี้

  • บาดแผลมีขนาดใหญ่ มีความรุนแรง หรือเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง
  • เป็นแผลลึกเกินกว่า 1/2 นิ้ว
  • แผลมีเลือดไหลไม่หยุดแม้พยายามกดห้ามเลือดแล้ว
  • บาดแผลมีเลือดไหลออกมาไม่หยุดอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 20 นาที

ชนิดของบาดแผล

  1. แผลถลอก: ผิวหนังถูกขูดเป็นรอยจากการเสียดสีกับวัตถุหรือพื้นผิวที่แข็ง หยาบ และขรุขระ โดยแผลชนิดนี้มักเป็นแผลตื้น ๆ ที่ไม่ทำให้เลือดไหลซึมออกมามากนัก แต่ผู้ป่วยอาจต้องล้างทำความสะอาดแผล และเช็ดทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เกิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  2. แผลถูกบาด: เป็นแผลตัดที่เกิดจากการถูกของมีคมบาด เช่น มีด หรือเศษแก้ว โดยแผลมักมีเลือดไหลออกมามากและอย่างรวดเร็ว หากแผลถูกบาดลึกอาจรุนแรงจนสร้างความเสียหายแก่กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นได้
  3. แผลฉีกขาด: มีลักษณะเป็นแผลตัดลึกและมีผิวหนังฉีกขาดขอบไม่เรียบ มักมีเลือดไหลออกมาอย่างรวดเร็วหรือกระจายเป็นบริเวณกว้าง มักเกิดจากอุบัติเหตุในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรต่าง ๆ
  4. แผลถูกแทง: ปากแผลมีลักษณะเป็นช่องขนาดเล็ก เนื่องจากถูกวัตถุปลายแหลมหรือมีความยาวแทงทะลุผิวหนังเข้าไป แม้อาจมีเลือดออกภายนอกไม่มาก แต่อาจสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในได้ เมื่อเกิดแผลลักษณะดังกล่าว แม้แผลจะมีขนาดเล็ก แต่ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อให้ตรวจวินิจฉัย และอาจต้องรับวัคซีนป้องกันบาดทะยักและยาป้องกันการติดเชื้อ
  5. แผลเนื้อเยื่อฉีกขาดจนหลุดออก: เป็นแผลที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อบางส่วนหรือทั้งหมดฉีกขาดจนหลุดออกมา มักเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง ซึ่งเป็นผลทำให้มีเลือดไหลออกมามากอย่างรวดเร็ว

วิธีการทำแผลด้วยตนเอง

การทำแผลขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของบาดแผล สำหรับแผลที่ไม่รุนแรงหรือมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยอาจทำแผลได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น

  1. ล้างสิ่งสกปรกออกจากแผล และล้างแผลให้สะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ
  2. กดห้ามเลือดและยกส่วนที่เกิดแผลให้สูงขึ้น เพื่อให้เลือดหยุดไหล และลดอาการบวม
  3. หากเป็นแผลขนาดเล็กอาจไม่ต้องปิดปากแผล แต่ในบางกรณีควรปิดหรือพันด้วยผ้าพันแผลที่ปลอดเชื้อ
  4. รักษาความสะอาดและดูแลให้แผลแห้ง บาดแผลที่ไม่รุนแรงอาจฟื้นฟูและหายดีในเวลาไม่กี่วัน
  5. หากเจ็บปวดจากบาดแผล อาจรับประทานยาแก้ปวดได้
  6. ประคบน้ำแข็งบริเวณผิวหนังรอบบาดแผลที่เป็นรอยช้ำหรือบวมในระยะแรกที่เกิดบาดแผล

การดูแลตนเองหลังการทำแผล

  1. หลังทำแผลแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเริ่มเกิดกระบวนการอักเสบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของบาดแผล โดยจะเริ่มมีอาการบวม แดง และเจ็บปวดบริเวณบาดแผล ซึ่งบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ
  2. ปิดแผลไว้ หรือรักษาความสะอาดบริเวณที่เกิดแผล ให้แผลแห้งและสะอาดอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้แผลสมานตัวดีและเร็วขึ้น
  3. ต้องล้างมือให้สะอาดขณะล้างแผลและเปลี่ยนผ้าพันแผลเสมอ ในบางราย 
  4. ในรายที่มีแผลรุนแรงและผ่านการผ่าตัดมา ควรรอ 2-4 วันหลังผ่าตัดทำแผลแล้วจึงอาบน้ำได้ หรือสอบถามข้อมูลและคำแนะนำจากแพทย์ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่กลับไปอาบน้ำ
  5. หลีกเลี่ยงการแช่ในอ่างอาบน้ำหรือการว่ายน้ำจนกว่าแผลจะหายดี หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาต เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ
  6. เมื่อแผลเริ่มแห้งและสมานตัว อาจเกิดสะเก็ดแผลและรอยแผลเป็นขึ้น โดยผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาแผลบริเวณที่แห้งและตกสะเก็ด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผิวหนังด้านล่างจนแผลสมานตัวช้าลงไปอีก และป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นที่รุนแรงขึ้น
  7. หลังแผลหายดี แล้วมีรอยแผลเป็นปรากฏขึ้น ให้นวดหรือทาบริเวณแผลเป็นนั้นด้วยโลชั่นหรือปิโตรเลียมเจลลี่ ซึ่งช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนที่ผิวโดยรอบ เพื่อรักษาบรรเทาความรุนแรงของรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้น
  8. ป้องกันสัตว์เลี้ยงมาอยู่ใกล้บริเวณที่เป็นแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดบาดแผลและการทำแผล

หลังเกิดแผล หรือแม้แต่หลังทำแผลแล้ว ผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) เป็นโรคติดเชื้อของผิวหนังและเนื่อเยื่อใต้ผิวหนังชนิดที่ยังไม่ทำให้เกิดเนื้อตาย และหากมีการติดเชื้อรุนแรงก็อาจเสี่ยงทำให้เนื้อเยื่อเน่าหรือตายได้
  • โรคหนังเน่า (Gas Gangrene) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสทริเดีย (Clostridia)
  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก หากไม่ได้รับวัคซีนป้องกันอย่างเหมาะสม

ดังนั้น ผู้ป่วยควรสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ แล้วรีบไปพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้

  • แผลไม่ดีขึ้นแม้เวลาผ่านไป
  • บาดแผลมีเลือดไหลออกมาเรื่อย ๆ
  • แผลมีอาการบวมเพิ่มขึ้น
  • แผลมีอาการแดงและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รอบแผล หรือมีรอยแดงเกิดขึ้นตามผิวหนังรอบ ๆ แผล
  • บาดแผลมีสีคล้ำและแห้ง ขยายขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีความลึกมากขึ้น
  • มีเลือดหรือหนองไหลออกมาจากแผล
  • มีหนองสีเขียว เหลือง หรือสีน้ำตาล และหนองที่เกิดขึ้นนั้นส่งกลิ่นเหม็น
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ยาวนานเกินกว่า 4 ชั่วโมง
  • มีก้อนที่กดแล้วเจ็บเกิดขึ้นบริเวณรักแร้หรือขาหนีบซึ่งเป็นเพราะต่อมน้ำเหลืองโตจากการติดเชื้อลุกลาม

บทความที่เกียวข้อง

การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กั

การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า