ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีการรณรงค์เรื่องสมุนไพรมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เคยมีครั้งไหนที่เป็นกระแสแรงและเร็วมากเท่า พืชสมุนไพรกัญชา ซึ่งประชาชนทั่วประเทศตื่นตัวให้ความสนใจและยอมรับอย่างล้นหลามแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
การปลดล็อคกัญชา หมายถึง การปลดล็อคเรื่องสารสกัด สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ คือ สารสกัดแคนนาบินอยด์ (CBD )บริสุทธิ์มี THC เจือปนไม่เกิน 0.2%
ตามกฎหมายใหม่ล่าสุดที่ออกมา ส่วนช่อดอกและเมล็ดพันธุ์ของกัญชายังคงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แต่สามารถนำไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ส่วนอื่นๆของต้นพืชกัญชาได้ถูกปลดล็อคไม่เป็นยาเสพติดอีกต่อไป
คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม : กัญชาทางการแพทย์
สารบัญเนื้อหา
- ความหมายและการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์
- สายพันธุ์กัญชา
- รูปแบบผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
- สรุป
1.ความหมายและการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์
ปัจจุบันประชาชาชนและผู้ป่วยจำนวนมากให้ความสนใจและต้องการใช้สารสกัดกัญชาในการบำบัดรักษา บรรเทาอาการของโรคและฟื้นฟูสุขภาพ แพทย์และบุคลากรสาธาณสุขที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมืออาชีพในการพิจารณาว่าผู้ป่วยรายใดหรืออาการเจ็บป่วยใดเหมาะสมกับการรักษาด้วยสารสกัดกัญชาหรือไม่
กัญชาเป็นพืชซับซ้อน แยกเพศผู้ เพศเมีย สารเคมีที่พบในกัญชาแต่ละพันธุ์ก็แตกต่างกันไป มีการใช้กัญชาเพื่อนันทนาการทั่วโลกมาเป็นเวลานานและมักสัมพันธ์กับการก่ออาชญากรรม
กัญชาทางการแพทย์ถือเป็นยาประเภทใหม่ ในช่วงต้นทศวรรษค.ศ. 1960 มีการค้นพบสารแคนนาบินอยด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพหลักคือ THC (delta 9-tetrahydrocannabinol) และ CBD(cannabidiol) ในต้นกัญชา และมีการทดลองทางคลินิกที่แสดงให้เห็นว่ากัญชามีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่อบำบัดรักษาโรคบางประเภท
สาร CBD ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่มีฤทธิ์เมา ไม่เสพติด ในทางการแพทย์ใช้ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
สาร THC มีฤทธิ์ต่อจิต ประสาท มีฤทธิ์เมา เสพติด ในทางการแพทย์ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร
ข้อบ่งใช้ของกัญชาในทางการแพทย์ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence-based document) ที่มีคุณภาพสนับสนุนยืนยันประสิทธิภาพการใช้กัญชาได้อย่างชัดเจน
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ( ดูสินค้าที่ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน > คลิ๊กที่นี่ )
- โรคลมชักที่รักษายากไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ด้วยยา 2 ชนิดขึ้นไป
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะปวดประสาทส่วนกลางที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานแล้วไม่ได้ผล
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
ข้อบ่งใช้ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุนอยู่จำกัดแต่มีรายงานการวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่าการใช้กัญชาอาจจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ
- ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอย่างน้อย 1 ปี หรือผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดหรือปวดเรื้อรังจากภาวะแข็งเกร็งที่ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด
- ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่ได้รับความทุกข์ยากลำบากในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม จากอาการผิดปกติต่างๆซึ่งมีการดำเนินของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ พฤติกรรมผิดปกติ การนอนผิดปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินอาการและวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะสมองเสื่อมโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาประสาทวิทยา
หากผู้ป่วยมีโรค และภาวะโรคที่ไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น การพิจารณาการใช้กัญชาควรดำเนินการภายใต้โครงการศึกษาวิจัยทางคลินิก(ควบคุมเข้มงวด)
การจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชาในแต่ละครั้งต้องไม่เกินปริมาณที่ต้องใช้สำหรับ 30 วัน
สำหรับโรคมะเร็งกับการใช้สารสกัดกัญชา การศึกษาทั้งหมดยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง โดยมีผลการศึกษาว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งหลายชนิดในห้องปฏิบัติการได้โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ การทดลองในสัตว์พบว่า สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดการแพร่กระจาย รวมทั้งมีหลักฐานในการลดอัตราการเกิดใหม่ของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ในหนู แต่มีการศึกษาที่ยังค้านกันอยู่ระหว่างการฝังเซลล์มะเร็งในหนูที่ถูกทำให้ไม่มีภูมิต้านทานกับหนูที่มีภูมิต้านทานปกติ มันให้ผลการทดลองขัดแย้งกันคือ สาร THC มีผลลดขนาดมะเร็งในกลุ่มแรกที่ไม่มีภูมิต้านทานแต่กลับทำให้เซลล์มะเร็งขยายโตขึ้นในกลุ่มที่ภูมิต้านทานปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดแต่ละประเด็นต่อไป
2.สายพันธุ์กัญชา
กัญชาเป็นพืชดอกล้มลุก มีอายุ 1 ปี แบ่งออกเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะการออกดอกที่แตกต่างกัน หลังจากออกดอกแล้วจะหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น หลังจากต้นเพศเมียได้รับการผสมพันธุ์ เมล็ดจะสุกและต้นจะตายไป เชื่อกันว่ากัญชามีมากกว่า 700 สายพันธุ์แต่ทั้งหมดจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis sativa แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์ย่อย คือ ซาติวา(sativa),อินดิกา (indica), รูเดอราลิส (ruderalis)
Cannabis sativa L.spp sativa : มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก แอฟริกากลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยมีลำต้นหนา ความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาวเรียว สีเขียวอ่อนเป็นแฉก 5-8 แฉก ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและอากาศร้อน มีสารTHC ( 9-tetrahydrocannabinol) สูงมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท
Cannabis sativa L.spp indica : มีแหล่งกำเนิดในประเทศปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, โมร็อคโค, และทิเบต ลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ใบกว้าง สั้น เป็นแฉก 5-8แฉก สีเขียวเข้ม กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น มีสารCBD (Cannabidiol)สูง ออกฤทธิ์ระงับประสาททำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง
Cannabis sativa L.spp ruderalis : มีแหล่งกำเนิดที่อากาศหนาวเย็นตอนกลางของรัสเซีย,ตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป ความสูงเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 1 เมตร ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยูได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น มีสาร THC น้อยแต่มี CBD สูง
กัญชาจะให้ตัวยาที่ดีที่สุดจากดอกตัวเมียที่ไม่ถูกผสม ในระยะที่ไทรโครมเป็นสีน้ำนม ไทรโครม(trichome) เป็นเซลล์ขนของพืชพบเฉพาะที่เกษรของช่อดอกตัวเมียเท่านั้น ถ้ามองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะมีรูปทรงคล้ายเห็ดมีคริสตัลอยู่บนหัวซึ่งเป็นที่สะสมสารแคนนาบินอยด์มากที่สุด เกสรตัวเมียที่ไม่ผสมจะมีไทรโครมอยู่หนาแน่น ถ้ามีการผสมจะทำให้ไทรโครมลดลงและเกิดเป็นเมล็ดแทน
รายละเอียดงานวิจัยเพิ่มเติมคลิ๊ก > หนังสือแนะนำการใช้กัญชาบำบัดรักษาโรค
3.รูปแบบผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
การใช้สารสกัดกัญชาในทางการแพทย์มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตั้งแต่รูปแบบไอระเหย สเปรย์และน้ำมันหยดใต้ลิ้น แคปซูลรับประทาน ชาชง อาหารและขนม แต่รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือน้ำมันสารสกัดกัญชาหยดใต้ลิ้น เพราะยาจะดูดซึมผ่านเยื่อบุในช่องปากแล้วเข้าสู่กระแสเลือดได้เลยโดยไม่ต้องผ่านตับหรือไต ยาออกฤทธิ์เร็วและวิธีบริหารยาง่ายสะดวกต่อการปรับขนาดยา
น้ำมันกัญชา เป็นรูปแบบยาเตรียมจากช่อดอกกัญชาตัวเมียประกอบด้วยสารแคนนาบินอยด์และเทอร์ปีนที่มีความเข้มข้น ใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำมัน มีลักษณะเหนียวหนืด สีเข้มอำพัน โดยน้ำมันที่นิยมใช้เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วลิสง
คุณภาพของน้ำมันกัญชาขึ้นอยู่กับคุณภาพช่อดอกกัญชา ช่อดอกกัญชาที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีปริมาณสารแคนนาบินอยด์ไม่ได้มาตรฐานไม่ทราบปริมาณและสัดส่วนที่ชัดเจนของสาร THC:CBD มีการปนเปื้อนโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ผลการรักษาและอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นได้
คลิ๊กกอ่านรายละเอียดงานวิจัยในประเทศไทย : งานวิจัยกัญชาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยมี 3 รูปแบบทั้งหมดถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้เท่านั้น
- ยาสารกัดกัญชา ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมและโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
- ตำรับยากัญชาแผนไทย ผลิตโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
น้ำมันกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน ผลิตโดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ยาสารสกัดกัญชามีรูปแบบยาเตรียมเป็นน้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น มี 3 สูตรดังนี้
- สูตรที่มีอัตราส่วนสาร THC:CBD 1:1 ขนาดบรรจุ 5 มล.(ใน 1 มล.ประกอบด้วย THC 27 มก.และ CBD 25 มก.)
ข้อบ่งใช้ : –
-ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล
-ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
-ภาวะปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล
-บรรเทาปวดในมะเร็งระยะสุดท้ายที่ควบคุมอาการไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน
-อัลไซเมอร์
- สูตรที่มีความเข้มข้น CBD 10% ขนาดบรรจุ 5 มล.(ใน 1 มล.ประกอบด้วย CBD 100 มก.)
ข้อบ่งใช้ :-
-โรคลมชักที่รักษายากหรือดื้อต่อการรักษา
-โรคพาร์กินสันที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน
- สูตรที่มีความเข้มข้น THC 7% ผลิตโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาภูเบศรและสูตรที่มี THC 0.5 มก.ในยา1 หยด
ข้อบ่งใช้ :-
-ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
-ภาวะปวดเส้นประสาท
- ตำรับยากัญชาแผนไทย มีทั้งหมด 16 ตำรับแต่ที่ผลิตเป็นยาออกมาใช้แล้วมี 3 ตำรับดังนี้
1.ยาศุขไสยาศน์ สรรพคุณช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร
2.ยาทำลายพระสุเมรุ สรรพคุณแก้ลมจุกเสียด เมื่อยขบตามร่างกาย แก้ปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
3.ยาแก้ลมแก้เส้น สรรพคุณแก้ลมในเส้น บรรเทาอาการมือเท้าชา อ่อนแรง
- น้ำมันกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน ชื่อ DTAM GANJA OIL น้ำมันกัญชาตำรับหมอเดชา เป็นสารสกกัดกัญชาในน้ำมันมะพร้าวความเข้มข้น 10 % ของน้ำหนักกัญชาแห้ง การสั่งจ่ายต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์แผนไทยเท่านั้น
สรุป
กัญชาทางการแพทย์มีทั้งคุณและโทษ ในขณะที่บางส่วนของกัญชาช่วยบำบัดรักษาโรค แต่กัญชาเป็นยาเสพติด มีฤทธิ์เสพติดจริง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่กล่าวอ้างประโยชน์เกินจริง สุดท้ายประเทศไทยยังไม่ควรก้าวไปสู่โมเดลกัญชาเพื่อเศรษฐกิจเนื่องจากยังไม่มีระบบควบคุมกำกับที่ดีพอและอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบทางลบรุนแรงต่อสังคมภายหลังได้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีการลงทุนกับการวิจัยและการสร้างระบบเฝ้าระวังผลกระทบจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์อย่างจริงจังและเพียงพอด้วย
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกเด็กเล็ก
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา