ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีการรณรงค์เรื่องสมุนไพรมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เคยมีครั้งไหนที่เป็นกระแสแรงและเร็วมากเท่า พืชสมุนไพรกัญชา ซึ่งประชาชนทั่วประเทศตื่นตัวให้ความสนใจและยอมรับอย่างล้นหลามแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
การปลดล็อคกัญชา หมายถึง การปลดล็อคเรื่องสารสกัด สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ คือ สารสกัดแคนนาบินอยด์ (CBD )บริสุทธิ์มี THC เจือปนไม่เกิน 0.2%
ตามกฎหมายใหม่ล่าสุดที่ออกมา ส่วนช่อดอกและเมล็ดพันธุ์ของกัญชายังคงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แต่สามารถนำไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ส่วนอื่นๆของต้นพืชกัญชาได้ถูกปลดล็อคไม่เป็นยาเสพติดอีกต่อไป
คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม : กัญชาทางการแพทย์
สารบัญเนื้อหา
- ความหมายและการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์
- สายพันธุ์กัญชา
- รูปแบบผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
- สรุป
1.ความหมายและการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์
ปัจจุบันประชาชาชนและผู้ป่วยจำนวนมากให้ความสนใจและต้องการใช้สารสกัดกัญชาในการบำบัดรักษา บรรเทาอาการของโรคและฟื้นฟูสุขภาพ แพทย์และบุคลากรสาธาณสุขที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมืออาชีพในการพิจารณาว่าผู้ป่วยรายใดหรืออาการเจ็บป่วยใดเหมาะสมกับการรักษาด้วยสารสกัดกัญชาหรือไม่
กัญชาเป็นพืชซับซ้อน แยกเพศผู้ เพศเมีย สารเคมีที่พบในกัญชาแต่ละพันธุ์ก็แตกต่างกันไป มีการใช้กัญชาเพื่อนันทนาการทั่วโลกมาเป็นเวลานานและมักสัมพันธ์กับการก่ออาชญากรรม
กัญชาทางการแพทย์ถือเป็นยาประเภทใหม่ ในช่วงต้นทศวรรษค.ศ. 1960 มีการค้นพบสารแคนนาบินอยด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพหลักคือ THC (delta 9-tetrahydrocannabinol) และ CBD(cannabidiol) ในต้นกัญชา และมีการทดลองทางคลินิกที่แสดงให้เห็นว่ากัญชามีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่อบำบัดรักษาโรคบางประเภท
สาร CBD ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่มีฤทธิ์เมา ไม่เสพติด ในทางการแพทย์ใช้ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
สาร THC มีฤทธิ์ต่อจิต ประสาท มีฤทธิ์เมา เสพติด ในทางการแพทย์ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร
ข้อบ่งใช้ของกัญชาในทางการแพทย์ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence-based document) ที่มีคุณภาพสนับสนุนยืนยันประสิทธิภาพการใช้กัญชาได้อย่างชัดเจน
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ( ดูสินค้าที่ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน > คลิ๊กที่นี่ )
- โรคลมชักที่รักษายากไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ด้วยยา 2 ชนิดขึ้นไป
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะปวดประสาทส่วนกลางที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานแล้วไม่ได้ผล
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
ข้อบ่งใช้ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุนอยู่จำกัดแต่มีรายงานการวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่าการใช้กัญชาอาจจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ
- ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอย่างน้อย 1 ปี หรือผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดหรือปวดเรื้อรังจากภาวะแข็งเกร็งที่ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด
- ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่ได้รับความทุกข์ยากลำบากในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม จากอาการผิดปกติต่างๆซึ่งมีการดำเนินของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ พฤติกรรมผิดปกติ การนอนผิดปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินอาการและวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะสมองเสื่อมโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาประสาทวิทยา
หากผู้ป่วยมีโรค และภาวะโรคที่ไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น การพิจารณาการใช้กัญชาควรดำเนินการภายใต้โครงการศึกษาวิจัยทางคลินิก(ควบคุมเข้มงวด)
การจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชาในแต่ละครั้งต้องไม่เกินปริมาณที่ต้องใช้สำหรับ 30 วัน
สำหรับโรคมะเร็งกับการใช้สารสกัดกัญชา การศึกษาทั้งหมดยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง โดยมีผลการศึกษาว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งหลายชนิดในห้องปฏิบัติการได้โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ การทดลองในสัตว์พบว่า สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดการแพร่กระจาย รวมทั้งมีหลักฐานในการลดอัตราการเกิดใหม่ของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ในหนู แต่มีการศึกษาที่ยังค้านกันอยู่ระหว่างการฝังเซลล์มะเร็งในหนูที่ถูกทำให้ไม่มีภูมิต้านทานกับหนูที่มีภูมิต้านทานปกติ มันให้ผลการทดลองขัดแย้งกันคือ สาร THC มีผลลดขนาดมะเร็งในกลุ่มแรกที่ไม่มีภูมิต้านทานแต่กลับทำให้เซลล์มะเร็งขยายโตขึ้นในกลุ่มที่ภูมิต้านทานปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดแต่ละประเด็นต่อไป
2.สายพันธุ์กัญชา
กัญชาเป็นพืชดอกล้มลุก มีอายุ 1 ปี แบ่งออกเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะการออกดอกที่แตกต่างกัน หลังจากออกดอกแล้วจะหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น หลังจากต้นเพศเมียได้รับการผสมพันธุ์ เมล็ดจะสุกและต้นจะตายไป เชื่อกันว่ากัญชามีมากกว่า 700 สายพันธุ์แต่ทั้งหมดจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis sativa แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์ย่อย คือ ซาติวา(sativa),อินดิกา (indica), รูเดอราลิส (ruderalis)
Cannabis sativa L.spp sativa : มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก แอฟริกากลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยมีลำต้นหนา ความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาวเรียว สีเขียวอ่อนเป็นแฉก 5-8 แฉก ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและอากาศร้อน มีสารTHC ( 9-tetrahydrocannabinol) สูงมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท
Cannabis sativa L.spp indica : มีแหล่งกำเนิดในประเทศปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, โมร็อคโค, และทิเบต ลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ใบกว้าง สั้น เป็นแฉก 5-8แฉก สีเขียวเข้ม กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น มีสารCBD (Cannabidiol)สูง ออกฤทธิ์ระงับประสาททำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง
Cannabis sativa L.spp ruderalis : มีแหล่งกำเนิดที่อากาศหนาวเย็นตอนกลางของรัสเซีย,ตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป ความสูงเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 1 เมตร ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยูได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น มีสาร THC น้อยแต่มี CBD สูง
กัญชาจะให้ตัวยาที่ดีที่สุดจากดอกตัวเมียที่ไม่ถูกผสม ในระยะที่ไทรโครมเป็นสีน้ำนม ไทรโครม(trichome) เป็นเซลล์ขนของพืชพบเฉพาะที่เกษรของช่อดอกตัวเมียเท่านั้น ถ้ามองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะมีรูปทรงคล้ายเห็ดมีคริสตัลอยู่บนหัวซึ่งเป็นที่สะสมสารแคนนาบินอยด์มากที่สุด เกสรตัวเมียที่ไม่ผสมจะมีไทรโครมอยู่หนาแน่น ถ้ามีการผสมจะทำให้ไทรโครมลดลงและเกิดเป็นเมล็ดแทน
รายละเอียดงานวิจัยเพิ่มเติมคลิ๊ก > หนังสือแนะนำการใช้กัญชาบำบัดรักษาโรค
3.รูปแบบผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
การใช้สารสกัดกัญชาในทางการแพทย์มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตั้งแต่รูปแบบไอระเหย สเปรย์และน้ำมันหยดใต้ลิ้น แคปซูลรับประทาน ชาชง อาหารและขนม แต่รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือน้ำมันสารสกัดกัญชาหยดใต้ลิ้น เพราะยาจะดูดซึมผ่านเยื่อบุในช่องปากแล้วเข้าสู่กระแสเลือดได้เลยโดยไม่ต้องผ่านตับหรือไต ยาออกฤทธิ์เร็วและวิธีบริหารยาง่ายสะดวกต่อการปรับขนาดยา
น้ำมันกัญชา เป็นรูปแบบยาเตรียมจากช่อดอกกัญชาตัวเมียประกอบด้วยสารแคนนาบินอยด์และเทอร์ปีนที่มีความเข้มข้น ใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำมัน มีลักษณะเหนียวหนืด สีเข้มอำพัน โดยน้ำมันที่นิยมใช้เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วลิสง
คุณภาพของน้ำมันกัญชาขึ้นอยู่กับคุณภาพช่อดอกกัญชา ช่อดอกกัญชาที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีปริมาณสารแคนนาบินอยด์ไม่ได้มาตรฐานไม่ทราบปริมาณและสัดส่วนที่ชัดเจนของสาร THC:CBD มีการปนเปื้อนโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ผลการรักษาและอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นได้
คลิ๊กกอ่านรายละเอียดงานวิจัยในประเทศไทย : งานวิจัยกัญชาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยมี 3 รูปแบบทั้งหมดถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้เท่านั้น
- ยาสารกัดกัญชา ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมและโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
- ตำรับยากัญชาแผนไทย ผลิตโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
น้ำมันกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน ผลิตโดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ยาสารสกัดกัญชามีรูปแบบยาเตรียมเป็นน้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น มี 3 สูตรดังนี้
- สูตรที่มีอัตราส่วนสาร THC:CBD 1:1 ขนาดบรรจุ 5 มล.(ใน 1 มล.ประกอบด้วย THC 27 มก.และ CBD 25 มก.)
ข้อบ่งใช้ : –
-ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล
-ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
-ภาวะปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล
-บรรเทาปวดในมะเร็งระยะสุดท้ายที่ควบคุมอาการไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน
-อัลไซเมอร์
- สูตรที่มีความเข้มข้น CBD 10% ขนาดบรรจุ 5 มล.(ใน 1 มล.ประกอบด้วย CBD 100 มก.)
ข้อบ่งใช้ :-
-โรคลมชักที่รักษายากหรือดื้อต่อการรักษา
-โรคพาร์กินสันที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน
- สูตรที่มีความเข้มข้น THC 7% ผลิตโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาภูเบศรและสูตรที่มี THC 0.5 มก.ในยา1 หยด
ข้อบ่งใช้ :-
-ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
-ภาวะปวดเส้นประสาท
- ตำรับยากัญชาแผนไทย มีทั้งหมด 16 ตำรับแต่ที่ผลิตเป็นยาออกมาใช้แล้วมี 3 ตำรับดังนี้
1.ยาศุขไสยาศน์ สรรพคุณช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร
2.ยาทำลายพระสุเมรุ สรรพคุณแก้ลมจุกเสียด เมื่อยขบตามร่างกาย แก้ปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
3.ยาแก้ลมแก้เส้น สรรพคุณแก้ลมในเส้น บรรเทาอาการมือเท้าชา อ่อนแรง
- น้ำมันกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน ชื่อ DTAM GANJA OIL น้ำมันกัญชาตำรับหมอเดชา เป็นสารสกกัดกัญชาในน้ำมันมะพร้าวความเข้มข้น 10 % ของน้ำหนักกัญชาแห้ง การสั่งจ่ายต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์แผนไทยเท่านั้น
สรุป
กัญชาทางการแพทย์มีทั้งคุณและโทษ ในขณะที่บางส่วนของกัญชาช่วยบำบัดรักษาโรค แต่กัญชาเป็นยาเสพติด มีฤทธิ์เสพติดจริง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่กล่าวอ้างประโยชน์เกินจริง สุดท้ายประเทศไทยยังไม่ควรก้าวไปสู่โมเดลกัญชาเพื่อเศรษฐกิจเนื่องจากยังไม่มีระบบควบคุมกำกับที่ดีพอและอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบทางลบรุนแรงต่อสังคมภายหลังได้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีการลงทุนกับการวิจัยและการสร้างระบบเฝ้าระวังผลกระทบจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์อย่างจริงจังและเพียงพอด้วย
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์
459 บาท399 บาทแนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
160 บาท100 บาทยาเบญจกูล
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก
อินอควา (หนัก 10กรัม)
ไบโอฟลอร์ผง
ไบโอฟลอร์แคปซูล
ฮีรูดอยด์ เอสเซ้นส์ (หนัก 110 กรัม)
ดราก้อนบลัด
มาร์ คิดส์ โนส
255 บาท190 บาทแผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา