ความเหมือนความต่างระหว่างบุหรี่ธรรมดากับบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า

ในปัจจุบันปัญหาการติดบุหรี่ยังคงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 90 มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบร้อยละ 80 และโรคหัวใจร้อยละ 50 ก็มีผลมาจากการสูบบุหรี่  ความเหมือน ความต่างระหว่างบุหรี่ธรรมดากับบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอย่าไร เรารู้จักบุหรี่ธรรมดากันมานานแล้ว ขณะที่บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นของใหม่ ยังไม่มีข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้าว่ามีอันตรายหรือไม่ แต่การยังไม่มีข้อมูลว่าอันตรายไม่ได้แปลว่าปลอดภัยไม่มีอันตราย

 

(ต้องการดูรายละเอียดเกียวกับหมากฝรั่งช่วยเลิกบุหรี่คลิ๊กที่นี่

( รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่ : บุหรี่ไฟฟ้า  )

 

บุหรี่ธรรมดา คือ บุหรี่ที่ผู้สูบจะเสพนิโคตินจากยาสูบด้วยวิธีการเผาไหม้โดยตรง

บุหรี่ไฟฟ้า คือ บุหรี่ที่ผู้สูบจะใช้วิธีการเสพนิโคตินเหลวด้วยความร้อนที่มาจากอุปกรณ์อิเลคโทรนิค

บุหรี่ไฟฟ้า

 

สารบัญ

  1. ต้นกำเนิดบุหรี่
  2. ส่วนประกอบของบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า
  3. สารเคมีในใบยาสูบและบุหรี่/โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
  4. ความเหมือนและความต่างของการสูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า
  5. สรุป

ต้นกำเนิดบุหรี่

ชาวอินเดียนแดง ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาพวกแรกที่ใช้ยาสูบเป็นยาและนำมาใช้สูบในพิธีกรรมต่างๆ  ในปี พ.ศ. 2035 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส(Christopher Columbus) ได้เดินเรือไปยังหมู่เกาะเวสต์อินดีส์ และได้พบเห็นพฤติกรรมการใช้สูบยาของชาวพื้นเมือง นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ยาสูบหรือบุหรี่เป็นที่รู้จักสู่โลกภายนอก

พ.ศ. 2091 มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในทวีปอมริกาใต้และขยายเข้ามาในโปรตุเกศและสเปนตามลำดับ

พ.ศ. 2103 นายฌอง นิโกต์ ( Nicot)ฑูตฝรั่งเศสประจำโปรตุเกศส่งเมล็ดยาสูบมายังประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้ชื่อของเขาเป็นที่มาของชื่อ สารนิโคติน (nicotin)ในปัจจุบัน

พ.ศ.2107 ยาสูบแพร่ขยายเข้ามาในอังกฤษ และ เริ่มมีการปลูกยาสูบเชิงณิชย์ประสบผลสำเร็จ ในปี พ.ศ.2155

ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยา ในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้น โดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบ จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมกรมสรรพมิต กระทรวงการคลัง จากนั้นรัฐบาลซื้อกิจการของบริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟัน และบริษัทบริติช อเมริกาโทแบคโค เพิ่มขึ้นและรวมกิจการเข้าด้วยกันภายชื่อว่าโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มาจนถึงปัจจุบัน

ส่วนประกอบของบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า

  • บุหรี่ธรรมดา : ภายในมวนบุหรี่จะบรรจุใบยาสูบบดและอัดแน่นอยู่ โดยมีการปรุงแต่งเพิ่มสารเคมีลงไปอีกกว่าพันชนิดเพื่อให้ถูกใจผู้สูบมวนบุหรี่มี 2 ด้าน ด้านหนึ่งใช้สำหรับจุดไฟ อีกด้านหนึ่งใช้สำหรับดูดเรียกว่าก้นกรองที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นที่เกิดขึ้นระหว่างสูบบุหรี่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :  สารเคมีในควันบุหรี่

  • บุหรี่ไฟฟ้า : เป็นยาสูบชนิดใหม่ ที่ผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินเหลว ที่ระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนประกอยหลัก 3 ส่วน
    1.ส่วนหนึ่งคือแบตเตอรี่
    2.ส่วนที่สองคือตัวทำให้เกิดไอและความร้อน
    3.ส่วนที่สามคือ น้ำยาที่มีส่วนผสมของนิโคติน
    เวลาสูบสวิตท์ไฟจะถูกเปิดเกิดไฟแดงที่ปลายแท่งพร้อมการทำงานของแบตเตอรี่ เกิดความร้อนทำให้ของเหลวในขวดที่บรรจุไว้ระเหยขึ้นมาเป็นไอ เมื่อสูดเข้าไปนิโคตินจะเข้าไปในปอด ก่อนที่จะถูกพ่นออกมาบางส่วน โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้

 

บุหรี่ไฟฟ้า
ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า

 

หยุดการใช้บุหรี่

 

สารเคมีในใบยาสูบและบุหรี่/โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่

   ไส้บุหรี่ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมีและมีการเพิ่มสารอื่นๆ ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งล้วนแต่ก่อโรคแก่ผู้สูบแทบทั้งสิ้น ได้แก่

นิโคติน : ในบุหรี่ 1 มวนจะมีปริมาณนิโคติน 15-20 มก. ซึ่งมากพอที่จะทำให้เสพติด เพราะการเสพนิโคตินผ่านการสูบบุหรี่ จะมีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านไปสู่สมองอย่างรวดเร็วทำให้อาการเคลิ้มสุข และเมื่อระดับนิโคตินลดลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายตัว ต้องสูบใหม่  นิโคตินจึงจัดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนติดบุหรี่

นิโคตินมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดหดตัว ความดันเพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด นอกจากนี้ นิโคตินยังกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ซิซอลเพิ่มขึ้น สารนี้ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน

สำหรับหญิงตั้งครรภ์  นิโคตินส่งผลต่อการพัฒนาสมองของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์  และหากได้รับปริมาณมากอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้ นิโคตินขนาด 6 มก.ทำให้เด็กเล็กเสียชีวิตได้  และ ในผู้ใหญ่นิโคตินขนาด 60 มก. จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

ทาร์หรือน้ำมันดิน : เกิดจากการเผาไหม้ของใบยาสูบ กระดาษมวน และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆในบุหรี่ ในทาร์ประกอบด้วยสารเคมีนับร้อยชนิดที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะและเป็นตัวการสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด

คาร์บอนมอนนอกไซด์ : เป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ทุกครั้งที่สูบบุหรี่คือการสูดก๊าซนี้เข้าปอด ซึ่งคาร์บอนมอนนอกไซด์จะทำลายเม็ดเลือดแดงไม่ให้จับกับออกซิเจนได้ตามปกติ ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายขาดออกซิเจน ร่างกายจึงต้องเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ส่งผลให้เลือดข้นและหนืดมากขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ตัดสินใจช้า มึนงง เหนื่อยง่าย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจตามมา

ไฮโดรเจนไซยาไนด์และไนโตรเจนไดออกไซด์: เป็นตัวทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมและถุงลมปอด ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะมากในตอนเช้า และเกิดถุงลมโป่งพองตามมา เมื่อถุงลมเล็กๆแตกรวมเป็นถุงลมใหญ่จะส่งผลให้มีถุงลมน้อยลงส่งผลให้หายใจลำบากและเหนื่อยง่าย

นอกจากนี้ยังมี อะซีโตน สารหนู บิวเทน แคดเมียม ปรอท ฟอร์มัลดีไฮด์  พอโลเนียม คลอโรฟอร์ม เบนซีน ซึ่งล้วนเป็นสารพิษต่อร่างกายแทบทั้งสิ้น

ในบุหรี่ไฟฟ้า จะมีโพรพีลีนไกลคอลเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดไอ กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้นที่จะผสมผสานกับโพรพีลีนไกลคอล  สาร 2 ตัวนี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าปลอดภัยเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูดเข้าไปในปอดโดยตรง  มีงานวิจัยพบว่าไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถสูดเข้าปอดได้ลึกมากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับกับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้
นอกจากนี้ไอระเหยของโพรพีลีนไกลคอลและกลีเซอรีน อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อ ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้
กลีเซอรีนเป็นสารที่มีรสหวาน ไม่มีสีและกลิ่น สกัดจากน้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว  ไอระเหยของมันเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบในผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า EVALI (e-cigarette or vaping product use associated lung injury)

 

 

บุหรี่ไฟฟ้า

 

ความเหมือนและความต่างของการสูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า

        ทั้งการสูบบุหรี่ธรรมดาและการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นการนำสารเสพติดนิโคตินเข้าสู่ปอดเหมือนกัน แต่รูปแบบต่างกัน ในบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นนิโคตินเหลว ส่วนบุหรี่ธรรมดาเป็นนิโคตินในผงใบยาสูบ ดังนั้นการสูบบุหรี่ทั้ง 2 ชนิดยังคงทำให้ผู้สูบเสพติดได้เหมือนกัน นอกจากนี้ขั้นตอนการสูบก็ใกล้เคียงกันมาก ทำให้ผู้สูบยังคงติดในพฤติกรรมการสูบบุหรี่เหมือนกัน

แต่การสูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า มีวิธีเผาไหม้แตกต่างกัน โดยการสูบบุหรี่ธรรมดามีการเผาไหม้ที่ทำให้เกิดทาร์(น้ำมันดิน)และคาร์บอนมอนนอกไซด์  ในขณะที่การสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่มีการเผาไหม้ แต่อาศัยความร้อนทำให้เกิดไอระเหยของนิโคติน โพรพีลีนไกลคอลและกลีเซอรีน เข้าสู่ปอดซึ่งในขณะนี้เรายังไม่มีข้อมูลว่าในระยะยาวมันมีอันตรายหรือโทษต่อร่างกายอย่างไร เพราะเป็นสิ่งใหม่  แต่ใช่ว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะอันตรายน้อยกว่า เพราะถ้าอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ใช้อาจได้รับสารนิโคตินมากเกินขนาด และ นิโคตินเหลวที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นอันตรายต่อผู้สูบได้

อย่างไรก็ตามในบุหรี่ทั้ง 2 ชนิดพบโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท แมงกานีส โครเมียม เหมือนกัน แต่ในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารปรุงแต่งรสกลิ่นน้อยกว่าคือประมาณ 10-20 ชนิด ในขณะที่บุหรี่ธรรมดาต้องใช้สารปรุงแต่งรสกลิ่นนับร้อยชนิด

บุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่มวนธรรมดาได้ไหม

ข้อเท็จจริงคือ คนที่เลิกสูบบุหรี่มวนธรรมดาได้ด้วยบุหรี่ไฟฟ้า จะยังคงสูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อไปโดยไม่สามารถเลิกใช้ได้

และในขณะที่คนสูบบุหรี่มวนธรรมดาที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกสูบบุหรี่ พบว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาได้  และยังทำให้คนที่เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาไปแล้วกลับมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังทำให้เด็กที่ไม่เคยสูบบุหรี่ เข้ามาทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า และเพิ่มความเสี่ยงที่จะสูบบุหรี่ธรรมดามากกว่าเด็กทั่วไป 2-4 เท่า  

 

ห้ามสูบบุหรี่

 

สรุป

      มีข้อสงสัยว่า เรื่องความเหมือน ความต่างระหว่างบุหรี่ธรรมดากับบุหรี่ไฟฟ้า หากอยากเลิกบุหรี่ธรรมดาแล้วหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนจะช่วยได้หรือไม่ ผลสรุปตรงกันข้ามคือ การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดการสูบบุหรี่ธรรมดาลง  กลับทำให้อัตราการสูบบุหรี่โดยรวมเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพราะเยาวชนที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ไม่ว่าเริ่มจากบุหรี่ชนิดไหน จะมีการแลกเปลี่ยนทดลองกันภายในกลุ่มจนคุ้นเคยกับบุหรี่ทุกรูปแบบ

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊ก > เหตุผลที่ไม่ควรสูบบุหรี่

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า