ผื่นแพ้ยามีอาการแบบไหนบ้าง

ผื่นแพ้ยา

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผื่นที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังเป็น โรคผิวหนังหรือว่าเป็นผื่นแพ้ยา ลักษณะของผื่นแพ้ยาเป็นอย่างไร ผื่นแพ้ยามีหลากหลายลักษณะมาก

การแบ่งลักษณะผื่นแพ้ยา จะยึดหลักเกณฑ์ลักษณะกายภาพภายนอกที่ปรากฏ ความชุกหรือความบ่อยที่จะเกิดของผื่น  ในเบื้องต้นสามารถแบ่งได้หลักๆเป็น 9 แบบดังนี้

  1. Maculo-papular rash
  2. Urticaria
  3. Fix-drug eruption
  4. Ezematous eruption
  5. Erythema multiforme
  6. Bullous eruption
  7. Steven-Johnson syndrome (SJS) / Toxic epidermal necrolysis(TEN)
  8. Exfoliative dermatitis
  9. อื่นๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : Drug Hypersensitivity Reaction

 

แพ้ยา

สารบัญ

89 บาท190 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
159 บาท389 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

Maculo-papular rash (MP rash)

ผื่นแพ้ยาที่พบได้บ่อยที่สุด มีผู้ป่วยที่เกิดผื่นแพ้ยาชนิดนี้มากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีผื่นแพ้ยาทั้งหมด

ลักษณะเด่นของผื่น MP

  • มีผื่น 2 ลักษณะรวมกันอยู่ คือ ผื่นแดงราบจุดเล็กๆรวมกันจนเป็นปื้นขนาดใหญ่ และ ตุ่มนูนแดง การแพ้ยาในผู้ป่วยแต่ลคนจะมีสัดส่วนของผื่นทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันออกไป เช่น ถ้ามีผื่นจุดแดงราบมากกว่า จะดูคล้ายโรคหัด แต่ถ้ามีตุ่มนูนแดงสัดส่วนมากกว่า จะดูคล้ายหัดเยอรมัน
  • ผื่นแพ้ยาชนิดนี้มักเป็นที่ลำตัวมากกว่าที่อื่น และจะเริ่มขึ้นที่ลำตัวเป็นลำดับแรกก่อนมีการแพร่กระจายไปที่บริเวณอื่นๆ แต่จะไม่พบผื่นแพ้ยาชนิดนี้ที่ ช่องปาก เยื่อบุตา และอวัยวะเพศ ผื่นมีสีแดงชัดเจน ถ้าเอามือกดลงไปสีแดงจะซีดจางลง
  • ภายหลังจากหยุดยาที่แพ้ ผื่นจะค่อยจางลงและหายได้เองโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
  • ลักษณะเด่นที่สำคัญของผื่นชนิดนี้คือจะเกิดร่วมกับอาการคันเสมอ และมักมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย เป็นผลจากมีการขยายตัวเส้นเลือดที่ผิวหนัง ทำให้มีการระบายความร้อนออกจากร่างกายหรือ อาจเกิดจากกระบวนการอักเสบ

 

mp rash

 

back rash

Urticaria

หรือที่เรียกกันว่า ลมพิษ พบบ่อยรองจากผื่น Maculo-paular rash

ลักษณะเด่นของผื่นลมพิษ

  • เป็นผื่นที่สามารถยุบหายไปเองได้ ไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดผื่นขึ้น
  • สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้เร็วเช่นกันหลังจากยุบหายไป
  • มีรูปร่างไม่แน่นอน เกิดขึ้นหลายๆแห่งพร้อมกัน
  • มักต้องใช้เวลานานหลังได้รับสารที่แพ้ จึงจะเกิดผื่น โดยทั่วไปประมาณ 7-10 วัน
  • บางรายมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ แต่พบน้อยมาก
  • สาเหตุมักเกิดจาก อาหาร ไรฝุ่น มลภาวะ มากกว่ายา
  • ยาที่อาจทำให้เกิดผื่นชนิดนี้ เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดเอ็นเสด NSAID ยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน  ยาลดความดันโลหิต enalapril

 

ลมพิษ

Fixed-drug eruption

ลักษณะเด่น คือ

  • ลักษณะที่สำคัญที่สุด คือ ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเดิมที่แพ้ จะเกิดผื่นตรงตำแห่งเดิมทุกครั้ง
  • มีอาการเจ็บแสบและคัน ร่วมด้วยเสมอ
  • ลักษณะผื่น มีรูปร่างกลม ขอบชัดเจน มีสีแดงจัด และอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำหรือม่วงได้ อาจมีตุ่มน้ำได้
  • โดยส่วนมากมักเกิดขึ้น 1-2 ผื่นเท่านั้น
  • ผื่นจะเกิดขึ้นหลังรับยาที่แพ้ไม่นาน ประมาณ 30 นาที
  • เมื่อผื่นยุบหายไปจะทิ้งรอยดำคล้ำไว้ชัดเจน และนาน
  • การแพ้ซ้ำไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง แต่จะมีรอยแผลเป็นดำและนานมากขึ้น

 

fixed drug eruption

Eczematous drug eruption

ลักษณะเด่น คือ

  • ผื่นเกิดร่วมกับน้ำเหลืองไหลเยิ้ม คนทั่วๆไปเรียกว่า น้ำเหลืองไม่ดี

เมื่อน้ำเหลืองแห้งจะตกสะเก็ด แต่ทางการแพทย์จะเรียกว่า ผื่นแพ้สัมผัส

  • มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเม็ดเลือดขาว T – lymphocyte
  • โดยส่วนมากใช้เวลา 2 วัน หลังได้สัมผัสสารก่อภูมิแพ้
  • มีอาการเจ็บ แสบ คันร่วมด้วยกับการเกิดผื่นที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : กลไกการเกิดการแพ้ยา

ผื่นแพ้สัมผัส

ผื่นแพ้ยาย้อมผม

Erythema Multiforme  (EM)

ลักษณะเด่น คือ

  • ผื่นมีรูปร่างคล้ายเป้ายิงธนู ผื่นจะมีรูปร่างกลมเป็นวง 3 ชั้น ชั้นในสุดมีสีแดงเข้มจัดหรือมีตุ่มน้ำพอง ชั้นที่2 ถัดมามีสีแดงจางลง และชั้นนอกสุดจะมีสีซีดจางลง
  • ขนาดผื่นประมาณ 2 มม.-2 ซม.
  • มีการเกิดผื่นมักจะเป็น 2 ข้างของร่างกายเท่าๆกัน แต่จะกินพื้นที่แค่ 10% ของผิวหนังทั้งหมด
  • กลไกการเกิดผื่นเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คือ แอนติบอดี้ของร่างกายจะจับกับยาเกิดเป็น สารประกอบใหม่ ที่ไปเกาะกับผนังเส้นเลือด ทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นเลือดนั้นๆ
  • บางครั้งผู้ป่วยมีอาการ ไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ คล้ายไข้หวัด
  • สาเหตุของผื่นเกิดจากเชื้อโรคแบคที่เรีย ไวรัส หรือโรคมะเร็ง มากกว่า ยาหรือสารเคมี

 

ผื่นแพ้เป้ายิงธนู

Bullous eruption

ลักษณะเด่น คือ

  • ตุ่มน้ำพองขนาดใหญ่  มีจำนวนไม่กี่แห่ง 1-3 แห่ง
  • ไม่มีอาการแทรกซ้อน

 

ตุ่มน้ำพอง

 

ตุ่มน้ำพอง

Stevens-Johnson syndrome/Toxic epidermal necrolysis (TEN)

ลักษณะเด่น คือ

  • ผื่นทั้ง 2 ชนิดมีความเหมือนและความรุนแรงพอๆกัน โดยแยกกันที่ ขนาดพื้นที่ที่เกิดผื่น ถ้าน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดเรียกว่า Steven-Johnson syndrome แต่ถ้ามากกว่า 30% ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดเรียกว่า TEN
  • Steven-Johnson syndrome มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเอดส์
  • มักมีการหลุดลอกของผิวหนังบริเวณเยื่อบุตา ช่องปาก อวัยวะเพศ ร่วกับอาการแทรกซ้อนกับอวัยวะภายใน เช่น แผลทางดินอาหาร ปอดอักเสบ
  • สาเหตุที่สำคัญของการเกิดผื่นแพ้ แบบ Steven-Johnson syndrome และ Toxic epidermal necrolysis ประมาณ 50 % คือยา  และยาที่มักทำให้เกิดการแพ้แบบนี้ คือ
  1. ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลฟา
  2. ยากันชัก โดยเฉพาะ carbamazepine พบบ่อยและมากกว่า phenytoin , phenobarb
  3. ยาแก้ปวดกลุ่มNSAIDs เช่น piroxicam
  4. ยารักษาโรคเกาท์ Allopurinol
  • หลังผื่นหายดีแล้วมักเป็นรอยแผลเป็นอยู่นาน
  • ส่วน ผื่นแพ้แบบTEN ลักษณะเด่นที่สุดคือ ผิงหนังจะหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นใหญ่ๆ มีน้ำเหลืองและเลือดไหลเยิ้ม ถ้าเอามือถูผิวจะหลุดออกตามรอยถู เกิดร่วมกับ การอักเสบของอวัยวะภายใน เช่น ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ปอดอักเสบ ติดเชื้อโรคแทรกซ้อนง่ายมาก.

 

sjs

Exofoliative dermatitis

ลักษณะเด่น คือ

  • ผื่นหนา แห้ง ลอกหลุดเป็นขุยแห้งๆ ผิวแตกลายงา มันเงา จะค่อยๆลุกลามขยายตัวมากขึ้น รุนแรงขึ้นถ้าไม่รักษา
  • บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า จะมีขุยสะสมจนเป็นปื้นหนา เล็บมือและเท้าจะหนาเป็นสีคล้ำ
  • เป็นผื่นที่เกิดจากโรคผิวหนังไม่ใช่การแพ้ยา และเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจมีโรคแทรกซ้อนติดเชื้อได้ เป็นอันตรายเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • บางครั้งมีภาวะขาดน้ำ ต่อมน้ำเหลืองโต ภาวะไตวาย ร่วมด้วยได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : Cutaneous Drug Eruption

 

ผื่นแตกแห้ง

 

ผื่นแพ้ exfoliative

ผื่นแพ้แบบอื่นๆ

1. ผื่นแพ้ยาที่เกี่ยวกับแสงแดด

เป็นผื่นแพ้ยาที่จะมีแสงแดดเข้าเกี่ยวข้องด้วยเสมอ คือ ผื่นที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยสัมผัสแสงแดดเท่านั้น  ลักษณะเด่นที่สังเกตได้ชัดเจนคือ บริเวณที่เกิดผื่นจะอยู่นอกร่มผ้าที่สัมผัสแสงแดด จะไม่พบผื่นบริเวณในร่มผ้าที่ไม่สัมผัสแสงแดด  แบ่งเป็น 2 แบบ

  1. แบบแรก ผื่นไหม้เหมือนโดนแดดเผา สีดำคล้ำ อาจมีตุ่มน้ำพอง แสบ ร้อน แดง
  • ถ้าเป็นหลายวัน ผื่นจะลอกเป็นขุย
  • เกิดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่รับยา โดยจะใช้เวลา 5-20 ชั่วโมงหลังจากรับยา
  • ยาที่เป็นสาเหตุจะเป็นยาเม็ดแบบรับประทาน ไม่ใช่ยาทา
  1. แบบที่สอง เป็นผื่นลักษณะเดียวกับ Eczema คือ แดง คัน บวม มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
  • เป็นการแพ้ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ยาที่เป็นสาเหตุจะเป็นได้ทุกชนิด ยากิน ยาฉีด และยาทา แต่ถ้าเป็นการแพ้ยาทา ผื่นจะขึ้นเฉพาะบริเวณที่ทายาและสัมผัสแสงแดด

 

ผื่นแพ้แสง

 

ผื่นแพ้ยาสัมผัสแสง

 

2.ผื่นแพ้ยาที่ทำให้สีผิวเข้มขึ้น

  • เป็นผื่นที่มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าของผู้ป่วย จะมีผลกระทบด้านจิตใจผู้ป่วยมากเพราะทำให้ไม่สวยงาม
  • มีความเกี่ยวข้องกับแสงแดด สีจะเข้มมากบริเวณที่โดนแดด เป็นได้ 2 ลักษณะ ถ้ายาไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง จะเกิดผื่นสีออกน้ำตาลคล้ำ แต่ถ้ายาไปสะสมอยู่บริเวณผิวหนัง จะเกิดผื่นสีออกเทาๆอมฟ้า
  • ตัวอย่างเช่น ยาคุมกำเนิดกระตุ้นให้เป็นฝ้า กระ มากขึ้นและสีเข้มขึ้น

ใบกระท่อม จะทำให้เกิดผื่นจุดดำๆ บริเวณลำตัวได้ ถ้าใช้ยาเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน  ยารักษาโรคหัวใจ amiodarone ทำให้เกิดผื่นสีเทาบริเวณแก้มคล้ายฝ้า

 

ฝ้า

 

ีผิวคล้ำ

3.ผื่นแพ้ยาที่คล้ายสิว

  • เป็นผื่นแพ้ยาที่พบบ่อย แตกต่างจากสิวทั่วไปคือ เป็นเม็ดตุ่มสีแดง ขนาด 2-3 มม. มักเกิดขึ้นจำนวนมาก พร้อมๆกัน เกิดบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ ใบหน้า มีอาคาคันร่วมด้วย
  • ยาที่มักเป็นสาเหตุ เช่น ยากลุ่มฮอร์โมนต่างๆ ยากันชัก ฟีโนบาร์บ phynobarb ยารักษาวัณโรค ไรแฟมพิซิน Rifampicin

ยาครีมสเตียรอยด์แบบทา ที่มีความแรงสูงๆ เช่น โคลเบทตาโซน clobetasone

 

ผื่นแพ้สิว

 

4. ผื่นแพ้ยาที่ทำให้เกิดเส้นเลือดอักเสบ

  • ลักษณะเป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กๆ มักเป็นบริเวณขา ทั้ง 2 ข้าง
  • เป็นผื่นแพ้ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มี 2 แบบ
  1. แบบแรก มีการอักเสบของเส้นเลือด ผื่นจะเป็นตุ่มนูน อาจพองเป็นน้ำ เกิดร่วมกับไข้ มีข้ออักสบ ไตอักเสบ

 

vasculitis

 

2.แบบที่สองมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ไม่มีการอักเสบของเส้นเลือด ผื่นจะแบนราบ ไม่นูน เกิดจากยาทำให้เกล็ดเลือดลดต่ำลง

 

เส้นเลือดอักเสบ

 

  • ยาที่มักเป็นสาเหตุ เช่น ยารักษาเชื้อรา คีโตโคนาโซล KETOCONAZOLE ยาแก้ปวด NSAID

5. ผมร่วงหรือผมดกดำขึ้นจากการแพ้ยา

  • อาการผมร่วงที่เกิดจากยา จะไม่มีการอักเสบ ไม่มีรังแค ไม่มีผื่นแดง อาจเกิดร่วมกับการหลุดร่วงของขนตามร่างกายบริเวณอื่นๆร่วมด้วย
  • อาการผมร่วงจะค่อยๆเกิด ใช้เวานาน 1-3 เดือน และเมื่อหยุดยาที่แพ้ ผมจะค่อยๆหยุดร่วงและงอกใหม่ได้เอง
  • ยาที่มักทำให้ผมร่วงเช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาต้านการแข็งตัวของเลือด coumadin
  • ยาบางชนิดทำให้ขนหรือผมดกดำ ยาวมากขึ้น เช่น ยาที่เคยใช้ลดความดันโลหิต ไมน๊อดซีดิล minoxidil ยาที่ใช้รักษาต่อมลูกหมากโต Finasteride  และยาสเตียรอยด์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : ความหมายผื่นแพ้ยา

 

ผมร่วงจากแพ้ยา

 

หนวดขึ้นในผู้หญิง

สรุป

จากที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าผื่นที่เกิดจากการแพ้ยานั้นมีมากมายหลายรูปแบบ มีทั้งที่เกิดจากยา และ ไม่ได้เกิดจากยาแต่เป็นโรคผิวหนัง  การที่จะบอกหรือแยกได้ว่าผื่นแบบไหนมีสาเหตุจากอะไร ต้องมีการสอบสวนโรค ซึ่งก็คงเป็นหน้าที่ของบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า