เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผื่นที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังเป็น โรคผิวหนังหรือว่าเป็นผื่นแพ้ยา ลักษณะของผื่นแพ้ยาเป็นอย่างไร ผื่นแพ้ยามีหลากหลายลักษณะมาก
การแบ่งลักษณะผื่นแพ้ยา จะยึดหลักเกณฑ์ลักษณะกายภาพภายนอกที่ปรากฏ ความชุกหรือความบ่อยที่จะเกิดของผื่น ในเบื้องต้นสามารถแบ่งได้หลักๆเป็น 9 แบบดังนี้
- Maculo-papular rash
- Urticaria
- Fix-drug eruption
- Ezematous eruption
- Erythema multiforme
- Bullous eruption
- Steven-Johnson syndrome (SJS) / Toxic epidermal necrolysis(TEN)
- Exfoliative dermatitis
- อื่นๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : Drug Hypersensitivity Reaction
สารบัญ
- ลักษณะผื่น Maculo-papular rash
- ลักษณะผื่น Urticaria
- ลักษณะผื่น Fix-drug eruption
- ลักษณะผื่น Ezematous eruption
- ลักษณะผื่น Erythema multiforme
- ลักษณะผื่น Bullous eruption
- ลักษณะผื่น Steven-Johnson syndrome (SJS) / Toxic epidermal necrolysis(TEN)
- ลักษณะผื่น Exfoliative dermatitis
- ลักษณะผื่นอื่นๆ
- สรุป
Maculo-papular rash (MP rash)
ผื่นแพ้ยาที่พบได้บ่อยที่สุด มีผู้ป่วยที่เกิดผื่นแพ้ยาชนิดนี้มากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีผื่นแพ้ยาทั้งหมด
ลักษณะเด่นของผื่น MP
- มีผื่น 2 ลักษณะรวมกันอยู่ คือ ผื่นแดงราบจุดเล็กๆรวมกันจนเป็นปื้นขนาดใหญ่ และ ตุ่มนูนแดง การแพ้ยาในผู้ป่วยแต่ลคนจะมีสัดส่วนของผื่นทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันออกไป เช่น ถ้ามีผื่นจุดแดงราบมากกว่า จะดูคล้ายโรคหัด แต่ถ้ามีตุ่มนูนแดงสัดส่วนมากกว่า จะดูคล้ายหัดเยอรมัน
- ผื่นแพ้ยาชนิดนี้มักเป็นที่ลำตัวมากกว่าที่อื่น และจะเริ่มขึ้นที่ลำตัวเป็นลำดับแรกก่อนมีการแพร่กระจายไปที่บริเวณอื่นๆ แต่จะไม่พบผื่นแพ้ยาชนิดนี้ที่ ช่องปาก เยื่อบุตา และอวัยวะเพศ ผื่นมีสีแดงชัดเจน ถ้าเอามือกดลงไปสีแดงจะซีดจางลง
- ภายหลังจากหยุดยาที่แพ้ ผื่นจะค่อยจางลงและหายได้เองโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
- ลักษณะเด่นที่สำคัญของผื่นชนิดนี้คือจะเกิดร่วมกับอาการคันเสมอ และมักมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย เป็นผลจากมีการขยายตัวเส้นเลือดที่ผิวหนัง ทำให้มีการระบายความร้อนออกจากร่างกายหรือ อาจเกิดจากกระบวนการอักเสบ
Urticaria
หรือที่เรียกกันว่า ลมพิษ พบบ่อยรองจากผื่น Maculo-paular rash
ลักษณะเด่นของผื่นลมพิษ
- เป็นผื่นที่สามารถยุบหายไปเองได้ ไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดผื่นขึ้น
- สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้เร็วเช่นกันหลังจากยุบหายไป
- มีรูปร่างไม่แน่นอน เกิดขึ้นหลายๆแห่งพร้อมกัน
- มักต้องใช้เวลานานหลังได้รับสารที่แพ้ จึงจะเกิดผื่น โดยทั่วไปประมาณ 7-10 วัน
- บางรายมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ แต่พบน้อยมาก
- สาเหตุมักเกิดจาก อาหาร ไรฝุ่น มลภาวะ มากกว่ายา
- ยาที่อาจทำให้เกิดผื่นชนิดนี้ เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดเอ็นเสด NSAID ยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน ยาลดความดันโลหิต enalapril
Fixed-drug eruption
ลักษณะเด่น คือ
- ลักษณะที่สำคัญที่สุด คือ ถ้าผู้ป่วยได้รับยาเดิมที่แพ้ จะเกิดผื่นตรงตำแห่งเดิมทุกครั้ง
- มีอาการเจ็บแสบและคัน ร่วมด้วยเสมอ
- ลักษณะผื่น มีรูปร่างกลม ขอบชัดเจน มีสีแดงจัด และอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำหรือม่วงได้ อาจมีตุ่มน้ำได้
- โดยส่วนมากมักเกิดขึ้น 1-2 ผื่นเท่านั้น
- ผื่นจะเกิดขึ้นหลังรับยาที่แพ้ไม่นาน ประมาณ 30 นาที
- เมื่อผื่นยุบหายไปจะทิ้งรอยดำคล้ำไว้ชัดเจน และนาน
- การแพ้ซ้ำไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง แต่จะมีรอยแผลเป็นดำและนานมากขึ้น
Eczematous drug eruption
ลักษณะเด่น คือ
- ผื่นเกิดร่วมกับน้ำเหลืองไหลเยิ้ม คนทั่วๆไปเรียกว่า น้ำเหลืองไม่ดี
เมื่อน้ำเหลืองแห้งจะตกสะเก็ด แต่ทางการแพทย์จะเรียกว่า ผื่นแพ้สัมผัส
- มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเม็ดเลือดขาว T – lymphocyte
- โดยส่วนมากใช้เวลา 2 วัน หลังได้สัมผัสสารก่อภูมิแพ้
- มีอาการเจ็บ แสบ คันร่วมด้วยกับการเกิดผื่นที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : กลไกการเกิดการแพ้ยา
Erythema Multiforme (EM)
ลักษณะเด่น คือ
- ผื่นมีรูปร่างคล้ายเป้ายิงธนู ผื่นจะมีรูปร่างกลมเป็นวง 3 ชั้น ชั้นในสุดมีสีแดงเข้มจัดหรือมีตุ่มน้ำพอง ชั้นที่2 ถัดมามีสีแดงจางลง และชั้นนอกสุดจะมีสีซีดจางลง
- ขนาดผื่นประมาณ 2 มม.-2 ซม.
- มีการเกิดผื่นมักจะเป็น 2 ข้างของร่างกายเท่าๆกัน แต่จะกินพื้นที่แค่ 10% ของผิวหนังทั้งหมด
- กลไกการเกิดผื่นเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คือ แอนติบอดี้ของร่างกายจะจับกับยาเกิดเป็น สารประกอบใหม่ ที่ไปเกาะกับผนังเส้นเลือด ทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นเลือดนั้นๆ
- บางครั้งผู้ป่วยมีอาการ ไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ คล้ายไข้หวัด
- สาเหตุของผื่นเกิดจากเชื้อโรคแบคที่เรีย ไวรัส หรือโรคมะเร็ง มากกว่า ยาหรือสารเคมี
Bullous eruption
ลักษณะเด่น คือ
- ตุ่มน้ำพองขนาดใหญ่ มีจำนวนไม่กี่แห่ง 1-3 แห่ง
- ไม่มีอาการแทรกซ้อน
Stevens-Johnson syndrome/Toxic epidermal necrolysis (TEN)
ลักษณะเด่น คือ
- ผื่นทั้ง 2 ชนิดมีความเหมือนและความรุนแรงพอๆกัน โดยแยกกันที่ ขนาดพื้นที่ที่เกิดผื่น ถ้าน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดเรียกว่า Steven-Johnson syndrome แต่ถ้ามากกว่า 30% ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดเรียกว่า TEN
- Steven-Johnson syndrome มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเอดส์
- มักมีการหลุดลอกของผิวหนังบริเวณเยื่อบุตา ช่องปาก อวัยวะเพศ ร่วกับอาการแทรกซ้อนกับอวัยวะภายใน เช่น แผลทางดินอาหาร ปอดอักเสบ
- สาเหตุที่สำคัญของการเกิดผื่นแพ้ แบบ Steven-Johnson syndrome และ Toxic epidermal necrolysis ประมาณ 50 % คือยา และยาที่มักทำให้เกิดการแพ้แบบนี้ คือ
- ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลฟา
- ยากันชัก โดยเฉพาะ carbamazepine พบบ่อยและมากกว่า phenytoin , phenobarb
- ยาแก้ปวดกลุ่มNSAIDs เช่น piroxicam
- ยารักษาโรคเกาท์ Allopurinol
- หลังผื่นหายดีแล้วมักเป็นรอยแผลเป็นอยู่นาน
- ส่วน ผื่นแพ้แบบTEN ลักษณะเด่นที่สุดคือ ผิงหนังจะหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นใหญ่ๆ มีน้ำเหลืองและเลือดไหลเยิ้ม ถ้าเอามือถูผิวจะหลุดออกตามรอยถู เกิดร่วมกับ การอักเสบของอวัยวะภายใน เช่น ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ปอดอักเสบ ติดเชื้อโรคแทรกซ้อนง่ายมาก.
Exofoliative dermatitis
ลักษณะเด่น คือ
- ผื่นหนา แห้ง ลอกหลุดเป็นขุยแห้งๆ ผิวแตกลายงา มันเงา จะค่อยๆลุกลามขยายตัวมากขึ้น รุนแรงขึ้นถ้าไม่รักษา
- บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า จะมีขุยสะสมจนเป็นปื้นหนา เล็บมือและเท้าจะหนาเป็นสีคล้ำ
- เป็นผื่นที่เกิดจากโรคผิวหนังไม่ใช่การแพ้ยา และเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจมีโรคแทรกซ้อนติดเชื้อได้ เป็นอันตรายเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
- บางครั้งมีภาวะขาดน้ำ ต่อมน้ำเหลืองโต ภาวะไตวาย ร่วมด้วยได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : Cutaneous Drug Eruption
ผื่นแพ้แบบอื่นๆ
1. ผื่นแพ้ยาที่เกี่ยวกับแสงแดด
เป็นผื่นแพ้ยาที่จะมีแสงแดดเข้าเกี่ยวข้องด้วยเสมอ คือ ผื่นที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยสัมผัสแสงแดดเท่านั้น ลักษณะเด่นที่สังเกตได้ชัดเจนคือ บริเวณที่เกิดผื่นจะอยู่นอกร่มผ้าที่สัมผัสแสงแดด จะไม่พบผื่นบริเวณในร่มผ้าที่ไม่สัมผัสแสงแดด แบ่งเป็น 2 แบบ
- แบบแรก ผื่นไหม้เหมือนโดนแดดเผา สีดำคล้ำ อาจมีตุ่มน้ำพอง แสบ ร้อน แดง
- ถ้าเป็นหลายวัน ผื่นจะลอกเป็นขุย
- เกิดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่รับยา โดยจะใช้เวลา 5-20 ชั่วโมงหลังจากรับยา
- ยาที่เป็นสาเหตุจะเป็นยาเม็ดแบบรับประทาน ไม่ใช่ยาทา
- แบบที่สอง เป็นผื่นลักษณะเดียวกับ Eczema คือ แดง คัน บวม มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
- เป็นการแพ้ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ยาที่เป็นสาเหตุจะเป็นได้ทุกชนิด ยากิน ยาฉีด และยาทา แต่ถ้าเป็นการแพ้ยาทา ผื่นจะขึ้นเฉพาะบริเวณที่ทายาและสัมผัสแสงแดด
2.ผื่นแพ้ยาที่ทำให้สีผิวเข้มขึ้น
- เป็นผื่นที่มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าของผู้ป่วย จะมีผลกระทบด้านจิตใจผู้ป่วยมากเพราะทำให้ไม่สวยงาม
- มีความเกี่ยวข้องกับแสงแดด สีจะเข้มมากบริเวณที่โดนแดด เป็นได้ 2 ลักษณะ ถ้ายาไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง จะเกิดผื่นสีออกน้ำตาลคล้ำ แต่ถ้ายาไปสะสมอยู่บริเวณผิวหนัง จะเกิดผื่นสีออกเทาๆอมฟ้า
- ตัวอย่างเช่น ยาคุมกำเนิดกระตุ้นให้เป็นฝ้า กระ มากขึ้นและสีเข้มขึ้น
ใบกระท่อม จะทำให้เกิดผื่นจุดดำๆ บริเวณลำตัวได้ ถ้าใช้ยาเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน ยารักษาโรคหัวใจ amiodarone ทำให้เกิดผื่นสีเทาบริเวณแก้มคล้ายฝ้า
3.ผื่นแพ้ยาที่คล้ายสิว
- เป็นผื่นแพ้ยาที่พบบ่อย แตกต่างจากสิวทั่วไปคือ เป็นเม็ดตุ่มสีแดง ขนาด 2-3 มม. มักเกิดขึ้นจำนวนมาก พร้อมๆกัน เกิดบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ ใบหน้า มีอาคาคันร่วมด้วย
- ยาที่มักเป็นสาเหตุ เช่น ยากลุ่มฮอร์โมนต่างๆ ยากันชัก ฟีโนบาร์บ phynobarb ยารักษาวัณโรค ไรแฟมพิซิน Rifampicin
ยาครีมสเตียรอยด์แบบทา ที่มีความแรงสูงๆ เช่น โคลเบทตาโซน clobetasone
4. ผื่นแพ้ยาที่ทำให้เกิดเส้นเลือดอักเสบ
- ลักษณะเป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กๆ มักเป็นบริเวณขา ทั้ง 2 ข้าง
- เป็นผื่นแพ้ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มี 2 แบบ
- แบบแรก มีการอักเสบของเส้นเลือด ผื่นจะเป็นตุ่มนูน อาจพองเป็นน้ำ เกิดร่วมกับไข้ มีข้ออักสบ ไตอักเสบ
2.แบบที่สองมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ไม่มีการอักเสบของเส้นเลือด ผื่นจะแบนราบ ไม่นูน เกิดจากยาทำให้เกล็ดเลือดลดต่ำลง
- ยาที่มักเป็นสาเหตุ เช่น ยารักษาเชื้อรา คีโตโคนาโซล KETOCONAZOLE ยาแก้ปวด NSAID
5. ผมร่วงหรือผมดกดำขึ้นจากการแพ้ยา
- อาการผมร่วงที่เกิดจากยา จะไม่มีการอักเสบ ไม่มีรังแค ไม่มีผื่นแดง อาจเกิดร่วมกับการหลุดร่วงของขนตามร่างกายบริเวณอื่นๆร่วมด้วย
- อาการผมร่วงจะค่อยๆเกิด ใช้เวานาน 1-3 เดือน และเมื่อหยุดยาที่แพ้ ผมจะค่อยๆหยุดร่วงและงอกใหม่ได้เอง
- ยาที่มักทำให้ผมร่วงเช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาต้านการแข็งตัวของเลือด coumadin
- ยาบางชนิดทำให้ขนหรือผมดกดำ ยาวมากขึ้น เช่น ยาที่เคยใช้ลดความดันโลหิต ไมน๊อดซีดิล minoxidil ยาที่ใช้รักษาต่อมลูกหมากโต Finasteride และยาสเตียรอยด์
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : ความหมายผื่นแพ้ยา
สรุป
จากที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่าผื่นที่เกิดจากการแพ้ยานั้นมีมากมายหลายรูปแบบ มีทั้งที่เกิดจากยา และ ไม่ได้เกิดจากยาแต่เป็นโรคผิวหนัง การที่จะบอกหรือแยกได้ว่าผื่นแบบไหนมีสาเหตุจากอะไร ต้องมีการสอบสวนโรค ซึ่งก็คงเป็นหน้าที่ของบุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกเด็กเล็ก
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา