มาตรฐานคุณภาพของร้านขายยา

มาตรฐานร้านขายยา

ร้านขายยาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขที่อยู่ในภาคเอกชน แต่เกือบทั้งหมดกลับไม่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการและดูแล ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นธุรกิจที่มุ่งแสวงหาผลกำไรสูงสุดแบบไร้มาตรฐานที่ควรจะมี  ประกอบกับมีจำนวนมากเกือบ 20,000 แห่ง กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย ดังนั้นการกำหนมาตรฐานที่ดีของร้านขายยาขึ้นมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาในระบบธุรกิจร้านขายยาที่สะสมมายาวนานนับสิบๆปี มีความจำเป็นต้องทำเพื่อพัฒนาให้มีการปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านขายยา

มาตรฐานคุณภาพที่ดีร้านขายยา คือ หลักสากลโลกเกี่ยวกับข้อกำหนดหลักการปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม กำหนดโดย The International Pharmaceutical Federation (FIP) 

เนื่องจากร้านขายยาถือเป็นหน่วยบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน มีหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และดูแลสุขภาพของประชาชน การพัฒนาให้มี การปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านขายยา จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริการ และถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยด้วย

ร้านยาGPP
FIP

ความเป็นมาของมาตรฐานร้านขายยา

หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม ( Good Pharmacy Practice : GPP) เป็นแนววิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในการดูแลสุขภาพ เป็นข้อกำหนดสำคัญของมาตรฐานคุณภาพร้านขายยา ซึ่งได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2534 ภายใต้ชื่อ Standard for quality of pharmacy services โดย The International Pharmaceutical Federation (FIP) และได้จัดทำแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2536

องค์การอนามัยโลก ( World Health Assembly : WHO) ให้การรับรอง GPP เป็นมติที่ WHA 47.12 : Role of the pharmacist in support of the WHO revised drug strategy ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537

ร้านยา
GPP ร้านขายยา

เป้าหมายของการใช้ GPP ในประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของการนำมาตรฐานวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม GPP. Good Pharmacy Practice มีดังนี้

  1. ตอบสนองต่อกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัยในการใช้บริการในร้านขายยา
  2. เตรียมความพร้อมให้ร้านขายยาในประเทศไทยสามารถเข้าสู่การแข่งขันในระบบเปิดเสรีการค้าประชาคมอาเซียนได้
  3. ยกระดับมาตรฐานการให้บริการของเภสัชกรในร้านขายยาให้เชื่อมโยงการให้บริการของเภสัชกรในโรงพยาบาลได้ “แบบไร้รอยต่อ” เพื่อพัฒนาระบบยาและระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยให้ยั่งยืน
  4. ยกระดับร้านขายยาให้เป็นหน่วยบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน มีหน้าที่ บริการจัดหา จำหน่าย ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนง่ายต่อการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของประชาชน เช่น คัดกรองโรค ให้คำปรึกษา ส่งต่อ และติดตามผู้ป่วย
สินค้า

คลิ๊กดูสินค้าของเรา

เภสัชกร

เกี่ยวกับเภสัชกร

ร้านของเรา

เราช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง

การบังคับใช้ GPP ในประเทศไทย

ในประเทศไทย ระยะแรกมีการนำมาตรฐานร้านขายยา GPP มาใช้แบบให้ร้านขายยาสมัครใจเข้าร่วม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากร้านขายยาน้อยมากและไม่ประสบผลสำเร็จ

ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาให้มีการนำ หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม มาใช้ในร้านขายยาที่ยั่งยืน  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.  ) จึงได้ยกร่างกฏกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการออกใบอนุญาตและต่อใบอนุญาตเกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ.2556 โดยนำเกณฑ์หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม GPP มาเป็นข้อบังคับใช้ ให้ร้านขายยาแผนปัจุบันทุกประเภทต้องปฏิบัติตาม  และเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา

ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 4 ประเภทที่จะต้องอยู่ภายใต้กฎกระทรวงนี้ มีดังนี้

  1. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1)
  2. ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.2)
  3. ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์(ข.ย.3)
  4. ร้านขายยส่งยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.4)

ในส่วนของการนำมาบังคับใช้ จะแยกบังคับกับร้านขายยาแผนปัจจุบัน  2 กลุ่มดังนี้

  1. กลุ่มร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตก่อนวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จะให้เวลาผ่อนผันในการปรับตัว ปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามกฎกระทรวงภายในระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี นับแต่วันที่ กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ คือ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยแบ่งบังคับตามระยะเวลา แบบขั้นบันได 3 ขั้น ดังนี้

บันได GPP ขั้นที่ 1 ต้องปฏิบัติภายในการต่ออายุสิ้นปี พ.ศ.2561

บันได GPP ขั้นที่ 2 ต้องปฏิบัติภายในการต่ออายุสิ้นปี พ.ศ. 2563

บันได GPP ขั้นที่ 3 ต้องปฏิบัติภายในการต่ออายุสิ้นปี พ.ศ. 2565

2.กลุ่มร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตนับตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557เป็นต้นมา  

ให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ทันที

รายละเอียดทั้งหมดอ่านเพิ่มเติมที่ : GOOD PHARMACY PRACTICE (GPP)

การใช้มาตรฐานคุณภาพร้านขายยาแบบบันได 3 ขั้น

การบังคับใช้มาตรฐานร้านขายยา แบบบันได GPP 3 ขั้นมีดังนี้

บันได GPP ขั้นที่1  ประกอบด้วยข้อกำหนด 21ข้อ แยกย่อยเป็น 5 หมวด

  1. หมวดสถานที่
  2. หมวดอุปกรณ์
  3. หมวดบุคลากร
  4. หมวดคุณภาพยา
  5. หมวดบริการ

หมวดสถานที่

  • สถานที่ขายยาต้องมีความแข็งแรงก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทนถาวรเป็นสัดส่วน ถูกสุขลักษณะ สะอาด และเป็นระเบียบ
  • ติดเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในร้านและต้องควบคุมอุณหภูมิภายในบริเวณให้บริการและพื้นที่เก็บยาไม่ให้เกิน 30 องศาเซลเซียส และต้องมีหลักฐานลงบันทึกประจำวัน
  • ไม่มีสิ่งก่อความชื้นในร้านเช่น ตู้ปลา แอร์น้ำ ไม้ถูพื้น เป็นต้น
  • ใช้แสงสีขาว (day light) มีความสว่างเพียงพอต่อการอ่านฉลากยา
  • มีป้ายแสดงตนของเภสัชกร ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
  •  ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ต้องอยู่ใน “พื้นที่ให้บริการโดยเภสัชกร” เท่านั้น และมีม่านปิดบังส่วนนี้เมื่อไม่มีเภสัชกรให้บริการ
  • มีป้ายบอกประเภทยา เช่น ยาทาภายนอก ยาสามัญประจำบ้าน ยาล้างแผลทำแผล เป็นต้น
  • ต้องแยกพื้นที่สำรองยาออกจากบริเวณชั้นวางโชว์จำหน่ายยา  พร้อมมีป้ายระบุว่าเป็นพื้นที่สำรองยา
GPP ขั้นที่1

หมวดอุปกรณ์

-มีตู้เย็นสำหรับจัดเก็บยาที่ต้องเก็บรักษาในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และต้องรักษาอุณหภูมิในตู้เย็นให้ได้ 2-8 องศาเซลเซียสพร้อมทั้งต้องบันทึกอุณหภูมิประจำวัน 1-2 ครั้ง ในแบบบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

– ยาที่เก็บในตู้เย็นต้องแยกเก็บในภาชนะปิดมิดชิด เช่นซองซิปใส กล่องพลาสติคมีฝาปิด

– มีถาดนับเม็ดยา 2 ถาดขึ้นไป คือ ถาดนับเม็ดยาทั่วไปและถาดนับยาเพนนิซิลลิน

มีอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตสูงแบบอัติโนมัติ  เครื่องชั่งน้ำหนัก

1,100 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
2,169 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

หมวดคุณภาพยา

  • ต้องมีการคัดเลือกยาและจัดหายาจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า จำหน่ายถูกต้องตามกฏหมายและมีมาตรฐาน
  • มีระบบส่งคืนและทำลายยาหมดอายุ และตรวจสอบคุณภาพยาอย่างสม่ำเสมอ

หมวดบริการ

  • จัดให้มีแหล่งอ้างอิงด้านยาที่เหมาะสมและเชื่อถือได้ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงการให้บริการเภสัชสนเทศ
  • การทำกิจกรรมด้านสุขภาพโดยบุคคลกรที่ไม่ใช่เภสัชกรในร้าน ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเภสัชกร และถือเป็นความรับผิดชอบของเภสัชกรผู้ควบคุม
  • มีระบบกำกับ ติดตาม และ ตรวจสอบยาหมดอายุ
  • ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ในร้าน
ยาหมดอายุ

บันได GPP ขั้นที่ 2  มี 4 หมวด

1.หมวดสถานที่

2.หมวดอุปกรณ์

3.หมวดบุคลากร

4.หมวดบริการ

หมวดสถานที่ 

  • จุดให้บริการโดยเภสัชกรและจุดให้คำปรึกษาแนะนำด้านยามีพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร มีด้านที่สั้นที่สุดไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  • พื้นที่สำรองยาเป็นระเบียบ ไม่วางยาสัมผัสพื้นโดยตรง
  • สถานที่ขายยาต้องมีทะเบีนบ้านที่ออกโดยส่วนราชการ กรณีเป็นอาคารชุดต้องเป็นพื้นที่อนุญาตให้ประกอบกิจการไม่ใช่ที่พักอาศัย

หมวดอุปกรณ์

  • มีอุปกรณ์วัดส่วนสูงสภาพดี 1 ชุด
  • มีถังดับเพลิงติดตั้งไว้ในลักษณะหยิบใช้งานสะดวก คือ มีพื้นที่ว่างรอบๆ 30 เซนติเมตรขึ้นไป วางสูงจากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตร

หมวดบุคลากร

  • พนักงานผู้ช่วยเภสัชกรมีความรู้เรื่องกฎหมาย มีการอบรมความรู้อย่างต่อเนื่อง
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจนระหว่างเภสัชกรและผู้ช่วยเภสัชกร

หมวดบริการ

  • การให้บริการทางเภสัชกรรม การส่งมอบยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษต้องอยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของเภสัชกร
  • ซองยามีรายละเอียด ดังนี้

*ชื่อร้าน ที่อยู่ บอร์โทรศัพท์ติดต่อ

* ชื่อยา

*ชื่อผู้ใช้ยา

* ข้อบ่งใช้

*วิธีใช้ยา

* คำแนะนำ/คำเตือน

-มีการคัดกรองสื่อโฆษณาที่ถูกกฎหมาย สำหรับจัดวางในร้าน โดยต้องมีการปรึกษาเภสัชกรด้วย เพื่อป้องกันการโฆษณณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค

บันได GPP ขั้นที่ 3

หมวดสถานที่

  • ต้องมีบริเวณสำหรับให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ยาและมีอุปกรณ์พร้อม เช่นโต๊ะ เก้าอี้ พร้อมป้ายแสดงบริเวณให้คำแนะนำปรึกษา  โดยควรเป็นสัดส่วนชัดเจนเฉพาะไม่ปะปนกับบริเวณจำหน่ายยา

หมวดคุณภาพยา

  • จัดทำบัญชียาตามกฎหมาย

* บัญชีซื้อยา  (ข.ย.9)

* บัญชีขายยาอันตราย (ข.ย.11)

* บัญชีขายยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.10)

* บัญชีขายยาตามใบสั่งแพทย์ (ข.ย.12)

พื้นที่ให้ปรึกษา
councelling

สรุป

ภายในปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป หากร้านขายยาแผนปัจจุบันใดก็ตาม (ไม่มียกเว้น ทุกร้าน)ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพที่ดีร้านขายยา (GPP ) หรือหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม ผู้อนุญาตขายยา(หน่วยราชการ) มีสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตขายยาหรือไม่อนุญาตให้เปิดร้านขายยาได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า