สมองมีรูปร่างเป็นก้อนรูปไข่ มีน้ำหนักประมาณ 2 % ของร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ความทรงจำของมนุษย์ถูกจัดเก็บไว้ในเซลล์ประสาท ยิ่งเซลล์ประสาทเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันมากขึ้นเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการจำก็จะดีขึ้น ตามไปด้วย
สารบัญ
ความทรงจำมีความสำคัญอย่างไร
ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ ความทรงจำแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับดังนี้
- ความจำระยะสั้น (short-term memory) : ความจำที่เราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราว ถ้าไม่มีการทบทวน ความทรงจำก็จะลืมไปได้
- ความจำระยะยาว (long-term memory) : ความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิต
ประเภทของความทรงจำ
สมองมีความสามารถในการจำต่างๆ ได้โดยการสร้างทางเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน เมื่อได้ระบบการเชื่อมต่อแล้ว ความทรงจำจะจัดถูกเก็บเป็นหมวดหมู่เรียกว่า เอ็นแกรม โดยจะถูกเก็บไว้ตามกลีบสมอง
ความทรงจำแบ่งตามประเด็นหน่วยความจำ ได้เป็น 3 ประเภท
- ความจำเชิงประกาศ (Declarative memory) : เป็นความทรงจำที่เกิดขึ้นในเวลาที่เรารู้ตัวและตั้งใจจดจำ ซึ่งมันจะถูกจัดเก็บไว้ในจิตสำนึก เป็นความจำที่สร้างขึ้นมาได้ง่ายแต่ก็จะมีโอกาสที่สูญหายไปได้ง่ายด้วย หากไม่มีการทบทวนนำมาใช้บ่อยๆ
ยกตัวอย่างเช่น ความรู้ที่เรารับรู้โดยการฟัง อ่าน เขียน เช่น เมืองหลวงของประเทศไทยคือ กรุงเทพมหานคร หรือ ประสบการณ์ความประทับใจเวลาเราไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ
2. ความจำเชิงไม่ประกาศ (Nondeclarative memory) : เป็นความทรงจำที่เกิดขึ้นโดยเราไม่ได้ตั้งใจหรือรู้ตัว และไม่สามารถกำหนดควบคุมการตอบสนองของร่างกายได้ เป็นความทรงจำที่ถูกจัดเก็บไว้ใต้จิตสำนึก เช่น อาการเกร็งเมื่อตกอยู่ในสภาวะคับขัน อาการขมวดคิ้วเมื่ออยู่ในภาวะสับสน งุนงง
3. ความจำเชิงกระบวนวิธี ( Procedural memory) : เป็นความทรงจำที่เกิดขึ้นจากการที่เราพยามยามสร้างและฝึกฝน จดจำทักษะจากสิ่งที่เรียนรู้มา เป็นความทรงจำที่ต้องใช้เวลาในการสร้างมาก และเกิดขึ้นได้ยากกว่าความทรงจำ 2 ประเภทแรก แต่จะถูกจัดเก็บไว้อย่างถาวร
ยกตัวอย่าง เช่น การฝึกฝนเล่นเครื่องดนตรีที่ชอบ การฝึกฝนเล่นกีฬาที่ชอบหรือถนัด การฝึกขับรถยนต์ การฝึกฝนขี่จักรยานต์ เป็นต้น ถ้าเราฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ชำนาญแล้ว โอกาสที่เราจะลืมแทบไม่มีทางเกิดขึ้นแน่นอน
รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ความจำของมนุษย์
โครงสร้างของสมอง
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมองใหญ่ และมีคุณภาพมากที่สุด สมองมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,300-1,400 กรัม มีโครงสร้างป้องกันคือ กะโหลกศีรษะ ซึ่งมีความหนาและแข็งแรงมาก
เนื้อสมองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- Grey Matter เป็นเนื้อสมองส่วนนอก มีสีเทา เป็นที่รวมของเซลล์ประสาท
- White Matter เป็นเนื้อสมองชั้นในมีสีขาว เป็นที่รวมของเส้นประสาทที่ถูกหุ้มด้วยเยื่อไมอีลิน (Myelin)
เนื้อสมองจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น ดังนี้
- เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ( Dura mater) จะมีความเหนียว แข็งแรงมาก โดยมีหน้าที่ ป้องกันการกระทบกระเทือน
- เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
- เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมาย ทำหน้าที่ส่งอาหารเลี้ยงสมอง
ในระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางและเยื่อหุ้มสมองชั้นใน จะมีของเหลวบรรจุแทรกอยู่ เรียกว่าน้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง ทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
สมองคนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า(forebrain), ส่วนกลาง (midbrain), และส่วนหลัง (hindbrain) แต่ละส่วนมีการควบคุมการทำงานของร่างกายแตกต่างกันดังนี้
- สมองส่วนหน้า มีความสำคัญมากที่สุด ประกอบด้วย ซีรีบรัม (cerebrum) , ไฮโปธาลามัส (hypothalamus) , ทาลามัส ( thalamus)
- สมองส่วนกลาง เป็น OPTIC LOBE ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา ศีรษะ และ ลำตัว เพื่อตอบสนองต่อ แสง เสียง และประมวลผลเสียงที่ได้ยิน
- สมองส่วนหลัง ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม (cerebellum), พอนด์(pons),เมดัลลาออบลองกาตา(medulla oblongata)
ในที่นี้จะขอกล่าวรายละเอียดถึงเฉพาะสมองส่วนหน้าที่ชื่อ ซีรีบรัม (cerebrum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำ เชาว์ปัญญา การวิเคราะห์ การใช้เหตุผลและอารมณ์ เป็นที่ประมวลผลสุดท้ายของความรู้สึกทุกชนิด เช่น การมองแห็น การดมกลิ่น การรับรส การสัมผัส
ซีรีบรัมเป็นส่วนของสมองส่วนหน้าที่อยู่บนสุดของศีรษะ มีรูปร่างเป็นพูย้อย ตั้งแต่หน้าผากไปตามรูปของกะโหลกศีรษะจนถึงท้ายทอย มีขนาดใหญ่สุดประมาณ 80% ของสมองทั้งหมด
บริเวณเปลือกนอกของซีรีบรัม จะมีลักษณะเป็นรอยหยัก ยับย่นจีบ เป็นร่องลึก เรียกว่า คอร์เท็กซ์ (cortex) ซึ่งจัดว่าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญมาก พบว่าคนที่ฉลาดและเป็นอัจฉริยะ จะมีคอร์เท็กซ์หรือรอยหยักมากกว่าคนทั่วไป การที่มีรอยหยักมากจะทำให้สมองมีพื้นที่ในการใช้งานมากตามไปด้วย
โครงสร้างและหน้าที่ของซีรีบรัมในการบันทึกความทรงจำ
ซีรีบรัม แบ่งได้เป็น 4 ส่วนย่อยดังนี้
- พูสมองส่วนหน้า (frontal lobe) : ในบริเวณนี้แบ่งออกได้อีก 2 ซีก คือ
- ซีกซ้าย (left themispere) จะทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกะ (logic) เป็นการคิดแบบใช้เหตุผลแยกแยะ เชิงวิเคราะห์ (analytical) และ ควบคุมการทำงานเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆด้านขวาของร่างกาย
- ซีกขวา (right themispere) จะทำหน้าที่รับผิดชอบการรับรู้ด้านอารมณ์ ( Emotional) ความรัก ความเมตตา สัญชาตญาน ตลอดจนลางสังหรณ์ต่างๆ รวมถึงความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และควบคุมการทำงานเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆด้านซ้ายของร่างกาย
- พูสมองส่วนกลาง (parietal lobe) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก ต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ร้อน หนาว เจ็บปวด เป็นต้น เรียกส่วนนี้ว่า เขตรับสัมผัส
- พูสมองส่วนข้าง (temporal lobe) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณด้านข้างสมองตรงขมับ มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรู้ด้าน รส กลิ่น เสียง และความเข้าใจด้านภาษา เรียกส่วนนี้ว่าเขตการฟัง
- พูสมองส่วนหลัง (occipital lobe) เป็นบริเวณที่อยู่ท้ายทอย มีหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตาให้เกิดการมองเห็นภาพต่างๆทั้งแนวตั้งและแนวนอน เรียกส่วนนี้ว่า เขตการมองเห็น
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ระบบประสาทมนุษย์
การทำงานของสมองในการสร้าง จัดเก็บ บันทึกและเรียกใช้ความทรงจำ
พื้นที่ของสมองแต่ละส่วนต่างช่วยกันทำหน้าที่สร้างและจัดเก็บความทรงจำแตกต่างกันไป ไม่มีส่วนใดในสมองที่สามารถเก็บความทรงจำได้ทั้งหมด
สันนิษฐานว่าส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำคือ กลุ่มเซลล์ประสาทที่อยู่ในพื้นที่สมองส่วนต่างๆ โดยเซลล์ประสาทเหล่านี้เป็นตัวตอบสนองและไปกระตุ้นความทรงจำต่างๆ
ยกตัวอย่าง เช่น การตอบสนองอารมณ์ความกลัว จะถูกสร้างและจัดเก็บที่สมองส่วนที่เรียกว่า อะมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายเมล็ดอัลมอนด์อยู่ในส่วน temporal lobe พูสมองส่วนข้างของ Cerebrum
ความจำเชิงประกาศ จะถูกสร้างและจัดเก็บในสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งใกล้ๆ อะมิกดาลา
ข้อมูลต่างๆมากมายที่สมองรับเข้ามาในตอนแรกยังคงเป็นความจำระยะสั้น (short-term memory) อยู่ ดังนั้น เราต้องเรียกใช้ข้อมูลนั้นซ้ำไปซ้ำมา มันจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นความจำระยะยาวได้ (long-term memory) ผ่านกระบวนการทำงานที่เรียกว่า การสร้างสเถียรภาพแก่ความทรงจำ (memory consolidation)
อย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างความจำระยะยาวนั้น ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยความจำระยะสั้นเสมอไป แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเรื่องราวและเหตุการณ์นั้นสร้างแรงกระตุ้นได้มากน้อยแค่ไหนด้วย
เมื่อใดก็ตามที่เราหวนระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต เซลล์ประสาททั้งที่อยู่ในเยื่อหุ้มสมองไปจนถึงเซลล์ประสาทที่อยู่ในเนื้อสมองจะเริ่มทำงานประสานกันอย่างทันที ยิ่งเซลล์ประสาทเหล่านี้ทำงานร่วมกันมากขึ้นเท่าไหร่ การเชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ภาวะสูญเสียความทรงจำ
เมื่ออายุมากขึ้น สมองก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น เช่น อาการหลงลืมเป็นครั้งคราว ทั้งนี้เป็นเพราะว่ากระบวนความจำในสมองมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่กระบวนการนี้ไม่ใช่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่จะทำให้ผู้สูงวัยสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมเป็นประจำ อย่าพึ่งตื่นตระหนกมากเกินไป เพราะอาการหลงลืมเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุ
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมคือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ เช่น พาร์กินสัน เนื้องอกในสมอง โรคโพรงน้ำในสมองขยายตัว โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
ปัจจุบันทางการแพทย์พบว่า การชะลอความเสื่อมของสมองคือ การออกกำลังกายและการฝึกหัดทำสมาธิ อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยหลีกเลี่ยงและยืดระยะเวลาการมีภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการคล้ายสมองเสื่อม มีดังนี้
- ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงต่อสมอง
- การดื่มแอลกอออล์ที่มากเกินไป
- การได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรงบริเวณศรีษะ
- มีภาวะเครียดเป็นประจำ
- มีโรคประจำตัวเช่น ซึมเศร้า โรคจิตเภท เป็นต้น
ภาวะสูญสียความทรงจำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.ภาวะการสูญเสียความทรงจำย้อนหลัง (Retrograde amnesia) : จะเกิดขึ้นเมื่อสมองได้รับแรงกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง อาจจะส่งผลให้คุณหลงลืมเรื่องราวต่างๆในอดีตหรือเรื่องราวก่อนหน้านี้ไปแทบทั้งสิ้น
2. ภาวะการสูญเสียความทรงจำแบบไปข้างหน้า (Anterograde amnesia) : จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพในสมอง เช่น การเกิดโพรงน้ำในสมอง โรคเกี่ยวกับ เช่น หลอดเลือดสมองตีบ การเกิดเส้นเลือดสมองแตก จะทำให้สมองทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิมคือไม่สามารถจดจำเรื่องราวใหม่ๆได้ ซึ่งทำให้มีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ทำอย่างไร ห่างไกลสมองเสื่อม
อาหารและสมุนไพรที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่ามีส่วนช่วยเสริมความจำ
สารอาหารที่มีส่วนเสริมกลไกการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง จะต้องมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และ ควรช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง เช่น น้ำมันปลา สารสกัดใบแป๊ะก๋วย เลซิติน เป็นต้น
น้ำมันปลาโอเมก้าดีเอชเอ :
มีสารอาหารสำคัญคือกรดไขมันโอเมก้า 3 (omega-3 fatty acid) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ พบมากในส่วนเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทสมองและเยื่อหุ้มเส้นประสาทสมอง ไมอีลิน ( myelin sheath) โอเมก้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
- กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA) เป็นกรดไขมันที่มีความสำคัญในการพัฒนาของระบบประสาทสมอง เพราะเป็นส่วนประกอบของเซลล์สมองถึง 65 % และเป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์จอประสาทตาด้วย
มีการค้นพบว่า ทารกในครรภ์และเด็ก ที่ได้รับ OMEGA DHA อย่างเพียงพอจะส่งผลให้สมองถูกพัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีการพัฒนาความจำระยะสั้นมากขึ้น ส่งเสริมให้มีสมาธิจดจ่อกับการเรียนรู้ดีขึ้น
ในทางกลับกันหากทารกในครรภ์และเด็ก ได้รับโอเมก้า DHA ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อระบบการมองเห็นและอาจทำให้มีสมาธิสั้นได้ - กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic:EPA) เป็นกรดไขมันที่ช่วยลดการอักเสบต่างๆของร่างกาย และช่วยลดความเครียด
- กรดไขมันแอลฟา-ไลโนเลนิก (Alpha-Linoleic acid : ALA) เป็นกรดไขมันที่เมื่อดูดซึมเข้าไปในร่างกาย จะถูกเปลี่ยนรูปนำไปสังเคราะห์ใหม่เกิดเป็น EPA และ DHA
สนใจรายละเอียด อ่านได้ที่ : เมก้าดีเอชเอ
สารสกัดจากใบแป๊ะก๋วย (Gingkgo biloba extract) :
มีสารสำคัญฟลาโวนอยด์ ( flavonoids) และเทอร์พีนอยด์ (terpenoids) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระพวกนี้เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดสมองอุดตัน
สารสำคัญทั้ง 2 ตัวในสารสกัดใบแป๊ะก๋วย จะป้องกันการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนสู่สมอง ส่งผลให้สมองมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น
นอกจากนี้ในสารสกัดใบแป๊ะก๋วย ยังสารที่เรียกว่า ซาโปนิน (saponin) เป็นสารประกอบประเภทไกลโคไซด์ (glycoside) มีคุณสมบัติปรับให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ปรับสมดุลความดันโลหิต ทำให้ร่างกายต่อต้านความเครียดได้ดีขึ้น
สนใจรายละเอียด อ่านเพิ่มเติมที่ : เมม-โอ-จี
เลซิติน (lecithin):
มีสารประกอบของ ฟอสโฟไลปิด (phospholipid)และ วิตามินบี 2 ตัว คือ โคลีน (choline) และ อินอสซิตอล (inositol) ซึ่งมีความสำคัญต่อสมองของคนเรา พบว่าคนที่มีสุขภาพดีจะมีสารเลซิตินถึง 30 % ในสมอง
ในร่างกยมนุษย์สามารถผลิตเลซิตินได้เองจากตับ ในแหล่งอาหารธรรมชาติ พบมากใน ไข่แดง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดทานทะวัน และ จมูกข้าวสาลี
เมื่อเราทานเลซิตินเข้าไป ร่างกายจะเปลี่ยนเลซิตินเป็นสารที่ชื่อ “โคลีน” จากนั้น โคลีน จะถูกสังเคราะห์โดยเซลล์ประสาทเปลี่ยนเป็นสารชื่อ “อะซิติลโคลีน”
อะซิติลโคลีน เป็นตัวหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท ช่วยในการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ในสมอง ส่งผลให้มีการถ่ายทอดข้อมูลได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีพัฒนาการเรียนรู้มากขึ้น ความจำดีขึ้น ตามมา
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงความจำ
อภัยบี กลีบบัวแดง
สมุนไพรที่มีการนำมาใช้จะอยู่ในรูปตำรับยาไทยที่มีพืชสมุนไพรอยู่รวมกัน คือ กลีบบัวหลวงหรือบัวแดง ใบบัวบก และพริกไทย ที่มีจำหน่ายและรู้จักกันมากคือ อภัยบี ที่ผลิตโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปทุมธานี
สมุนไพรทั้ง 3 ชนิดทั้ง ดอกบัวแดงหรือดอกบัวหลวง ใบบัวบก และพริกไทย มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กลไกช่วยเสริมความจำ คือ ยับยั้งเอนไซม์อะเซทธิลโคลีนเอสเทอเรส (acethylcholinesterase inhibitor) ที่เป็นตัวทำลาย เอนไซม์อะเซทธิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในเซลล์ประสาทและมีความจำเป็นต่อการสร้างความทรงจำของมนุษย์
นอกจากนี้ ดอกบัวแดง ยังออกฤทธิ์
- ลดระดับฮอร์โมนความเครียดในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่มีหน้าที่เปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะยาว
- ยับยั้งการสะสมของคราบโปรตีนที่เรียกว่า อะไมลอยด์เบต้า (amyloid beta) ซึ่งพบมากในสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระบวนการอักเสบและนำไปสู่การตายของเซลล์ประสาท
บัวบกและพริกไทย ยังมีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้นอีกด้วย ทำให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพิ่มขึ้น
สนใจรายละเอียด อ่านเพิ่มเติม : กลีบบัวแดง
สรุป
การทำงานของสมองมีความซับซ้อนมาก ความสามารถของสมองในกาจดจำสิ่งต่างๆ เกิดจาก การสร้างทางเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน และจะจัดเก็บความทรงจำไว้เป็นหมวดหมู่ที่เรียกว่า เอ็นแกรม ซึ่งจะถูกเก็บไว้ตามกลีบสมองส่วนต่างๆตามหน้าที่ของส่วนนั้นๆ
สมองทุกส่วนจะทำงานสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย แม้ว่าแต่ละส่วนจะมีหน้าที่หลักต่างกัน แต่การทำงานไม่ได้แยกขาดจากกัน
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกเด็กเล็ก
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา