แม่ให้นมบุตรใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย

สตรีให้นมลูก

มีการสนับสนุนให้สตรีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะได้ประโยชน์มากมายทั้งในด้านสารอาหารที่มีคุณค่าและให้ผลดีต่อสุขภาพกายใจทั้งของแม่และเด็ก  ปกติระยะเวลาให้นมจะใช้เวลานานประมาณ 3-6 เดือน เพราะฉะนั้น การใช้ยาของคุณแม่ในช่วงนี้จึงต้องมีความตระหนักถึงความปลอดภัยทั้งต่อตัวแม่เองและเด็กที่ดื่มนมแม่ด้วย

มารดาให้นมบุตร

สารบัญ

ทำไมควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิด ประโยชน์ของนมแม่มีดังนี้

  • มีสารอาหารครบถ้วนและมีฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก
  • นมแม่ย่อยและดูดซึมง่าย ลดอาการท้องอืดโคลิกและอาการท้องผูก
  • น้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค โดยเฉพาะน้ำนมช่วงแรกหลังคลอดที่เรียกว่า colostrum มีหลักฐานยืนยันว่านมแม่ช่วยลดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจและหูชั้นกลางอักเสบ ลดการติดเชื้อของทางเดินอาหาร มีปัญหาฟันผุน้อย ลดอัตราการตายของทารกได้
  • นมแม่ช่วยป้องกันการแพ้โปรตีนและป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดอาการผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหอบหืด โดยเฉพาะในเด็กที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
  • น้ำนมแม่มีกรดไขมันจำเป็น DHA ที่ช่วยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและสมอง มีหลักฐานยืนยันว่าเด็กที่ดื่มนมแม่มีความสามารถด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด (ไอคิว)มากกว่าเด็กที่ดื่มนมชง
  • การดื่มนมจากเต้านมมารดา เด็กจะได้รับการโอบกอดจากแม่ไว้ในวงแขนและทรวงอก เป็นการสร้างพันธะทางใจ สร้างความอบอุ่น ความผูกพันระหว่างแม่และลูกที่เกิดขึ้นซ้ำๆและต่อเนื่อง ส่งผลให้เด็กมีสุขภาวะทางจิตและมีการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีเมื่อโตขึ้น
  • มีการศึกษาพบว่า ทารกที่ดื่มนมแม่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะยาวได้

เด็กไอคิวดี

นอกจากนี้การที่มารดาให้นมบุตร ยังส่งผลดีต่อตัวเองด้วย ได้แก่

  • ช่วยให้มดลูกคืนสภาพเร็ว
  • ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้เร็ว เนื่องจากมีการกระตุ้นการสร้างฮออร์โมนที่ลดการสะสมไขมัน ทำให้มารดามีรูปร่างดี
  • การให้นมแม่เป็นการคุมกำเนิดตามธรรมชาติได้ประมาณ 70 วัน นับจากหลังคลอดและยังช่วยให้มารดาไม่ขาดธาตุเหล็ก เพระมีระยะเวลาปลอดประจำเดือนนานขึ้น
  • ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
  • เกิดความรักและความผูกพันระหว่างมารดาและทารก ช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดา

สุขภาพแม่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : นมแม่มีประโยชน์อย่างไร

-30%
Original price was: 569 บาท.Current price is: 400 บาท.
120 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
105 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

การจัดกลุ่มความเสี่ยงที่ยาอาจส่งผลต่อทารกจากการดื่มนมแม่

องค์การอนามัยโลกจัดยาไว้ 5 กลุ่มความเสี่ยง

  1. ยาที่สามารถให้แก่สตรีให้นมบุตรได้อย่างปลอดภัย (compatible with breast feeding) หมายถึง ยาที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้สำหรับสตรีให้นมบุตร
  2. ยาที่สามารถให้แก่สตรีให้นมบุตรได้แต่ต้องคอยเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ในทารก (compatible but monitor infant for side effect) หมายถึง ยาที่หากแม่มีความจำเป็นต้องใช้ ให้หยุดการให้นมบุตรชั่วคราว ในช่วงที่แม่ใช้ยา
  3. ยาที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีให้นมบุตร (avoid if possible ,monitor infant for side effect) หมายถึง ยาที่จะใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น และแม่ต้องหยุดให้นมบุตรในระหว่างใช้ยา
  4. ยาที่รบกวนการหลั่งน้ำนมและควรหลีกเลี่ยงการใช้ ( avoid if possible, may inhibit lactation) หากแม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรให้ลูกดูดนมบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
  5. ยาที่ห้ามใช้ (avoid ) หมายถึง ยาที่ออกมากับน้ำนมแม่ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อทารกได้

ดังนั้นในทางการบริบาลเภสัชกรรมแก่สตรีให้นมบุตร เภสัชกรจะพิจารณาเงื่อนไข 3 ประเด็นหลักๆ ดังนี้

  • ยาถูกขับออกทางน้ำนมหรือไม่ ถ้าถูกขับออกทางน้ำนม ปริมาณมากหรือน้อยแค่ไหน
  • ยาที่ถูกขับออกมาทางน้ำนมมีผลกระทบอย่างไรต่อทารกที่ดื่มนมแม่
  • ยามีผลต่อการสร้างหรือหลั่งน้ำนมหรือไม่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ค่าน้ำนม การใช้ยาในมารดาให้นมลูก

ยาสำหรับแม่ให้นมลูก

ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณยาในน้ำนมแม่

ปริมาณยาที่ขับออกมาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้

  1. คุณสมบัติทางเคมีของยา : ยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อย  ยาที่จับกับโปรตีนในพลาสมาได้น้อย  ยาที่ละลายในไขมันได้ดี  ยาที่มีความเป็นด่างอ่อน จะถูกขับออกทางน้ำนมได้มาก
  2. ปริมาณของยาที่แม่ได้รับ : การได้รับยาในขนาดยาสูงๆเพิ่มโอกาสที่ยาจะถูกขับออกทางน้ำนมได้มากขึ้น
  3. คุณภาพน้ำนม : น้ำนมแม่ในช่วงแรกๆจะมีไขมันน้อยกว่าน้ำนมแม่ให้ช่วงท้ายๆ ดังนั้นโอกาสที่จะพบยาในน้ำนมแม่จึงมักพบปัญหาในช่วงท้ายๆของการให้นม
  4. ระยะเวลา : ระดับยาในน้ำนมสัมพันธ์กับระดับยาในเลือด ช่วงแรกๆของการกินยาจะมีระดับยาในเลือดสูง ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำ กรณีที่แม่ต้องกินยาในระหว่างให้นมบุตร ควรให้นมลูกก่อนกินยา หรือ ให้นมลูกหลังกินยาไปแล้ว 3 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีปริมาณยาในเลือดต่ำมาก

โมเลกุลยา

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลเสียต่อทารกเมื่อดื่มนมแม่ที่มียาเจือปนอยู่

ยาที่ถูกขับออกทางน้ำนมจะส่งผลเสียต่อทารกมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้

  1. ปริมาณยาในน้ำนม : ยิ่งมีปริมาณมากยิ่งเป็นผลเสียต่อทารก
  2. ชนิดของยาที่แม่ได้รับ : การแสดงผลของยาในแม่และเด็กจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  3. การดูดซึมยาจากทางเดินอาหารของทารก : อัตราการดูดซึมยาในทารกจะต่ำ เนื่องจากระบบทางเดินอาหารยังไม่ถูกพัฒนาให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ยาที่จับกับแคลเซียมในน้ำนมจะไม่ดูดซึมจากทางเดินอาหารในทารก
  4. พันธุกรรมในทารก : พันธุกรรมมีผลต่อปริมาณยาในร่างกายและการแสดงฤทธิ์ของยา ถ้ามีเอนไซม์ที่เปลี่ยนแปลงยาบกพร่อง จะทำให้ยาถูกเปลี่ยนแปลง(metabolism)น้อยลง ระดับยาในเลือดจะสูง กว่าที่ควรจะเป็น อาจจก่อให้เกิดอันตรายได้
  5. อายุทารก : ทารกที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการกำจัดยาต่ำกว่าทารกที่มีอายุมาก ดังนั้นแม่ที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดหรือทารกอายุน้อยต้องระมัดระวังการใช้ยาให้มาก

นมเจือปนยา

หลักการทั่วไปในการใช้ยาสำหรับแม่ที่ให้นมลูก

  • ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาความเจ็บป่วยและต้องได้รับยา ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่าให้นมลูกอยู่
  • เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการให้นมลูกในระหว่างใช้ยา คือ ก่อนกินยา หรือหลังกินยาไปแล้ว 3 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ควรบีบน้ำนมในช่วงแรกทิ้งก่อนสักเล็กน้อย ก่อนให้ลูกดูดนมจากเต้า
  • โดยทั่วไปการเลือกใช้ยาที่สามารถทานวันละ 1-2 ครั้งต่อวันได้จะดีกว่าการที่ต้องทานยา 3-4 ครั้งต่อวัน
  • การใช้ยาที่มีขนาดยาต่ำที่สุดที่ให้ผลการรักษา และใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยมากพอในทารก ควรเลือกใช้ยาที่มีการรับรองจากผู้ผลิตว่าปลอดภัยต่อทารก
  • ควรตระเตรียมอุปกรณ์สำหรับปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกดื่ม เผื่อไว้ในกรณีไม่สามารถให้นมลูกจากเต้าได้
  • การใช้ยาในรูปแบบยาใช้ภายนอกหรือใช้เฉพาะที่ได้จะมีความเหมาะสมกว่าการใช้ยาในรูปแบบการกิน
  • อย่าเป็นกังวลมากเกินไป เพราะยาส่วนใหญ่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อทารกที่ดื่มนมแม่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ใช้ยาอย่างไรให้ลูกน้อยปลอดภัยในช่วงแม่ให้นมลูก

ที่ปั๊มนมแม่

สรุป

การได้รับยาของแม่ในระหว่างให้นมลูก มีประเด็นที่ต้องคำนึงถึง คือ 1.ยาถูกขับออกทางน้ำนมหรือไม่ 2.ทารกจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากนมแม่ที่เจือปนยานั้นๆอยู่ และ 3. ยานั้นมีผลต่อการสร้างหรือหลั่งน้ำนมหรือไม่  ดังนั้น ผู้ที่จะให้คำแนะนำได้ดีที่สุดแก่คุณแม่ให้นมลูกคือบุคคลากรทางการแพทย์ ตั้งแต่ แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรที่รู้เรื่องยาและส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า