บทบาทเภสัชกรกับระบบสุขภาพของประเทศไทย

รับยาใกล้บ้าน

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เป็นกฏหมายที่เปิดให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนของสังคม มาทำงานด้านสุขภาพด้วยกันแบบบูรณาการ  โดยบทบาทของเภสัชกรในระบบสุขภาพมีตั้งแต่ระดับปฐมภูมิและระดับสาธารณสุขพื้นฐาน

ระบบสุขภาพ คือ ระบบงานบริการที่จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยมีเป้าหมายของการจัดการนี้คือ

  1. ประชาชนมีสุขภาพที่เหมาะสม
  2. สร้างความเท่าเทียมของประชาชนในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
ระบบสุขภาพ

1.หลักการสาธารณสุขมูลฐาน  (Primary health care)

ขอบเขตการให้บริการพื้นฐานทางสาธารณสุข มี 4 ด้านคือ

  1. การส่งเสริมสุขภาพ ( health promotion)
  2. การป้องกันการเกิดโรค ( disease prevention)
  3. การรักษาโรค (curative treatment)
  4. การฟื้นฟูสมรรถนะ ( rehabilitation)

การลงทุนในสุขภาพอนามัยจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์  มีการศึกษาพบว่า การจัดสรรงบประมาณในด้านสาธารณสุขและการศึกษามีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา  ทั้งนี้พบว่าการใช้งบประมาณในกิจกรรมข้อที่ 1 และ 2  คือ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมเชิงรุก เป็นประโยชน์ คุ้มค่า และ ได้ประสิทธิภาพมากกว่า กิจกรรมข้อ 3 และ 4 คือการรักษาโรคและการฟื้นฟูสมรรถนะ ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมเชิงรับ

อย่างไรก็ดี การจัดระบบสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีภาวะสุขภาพที่ดีนั้น นอกจากเรื่องการเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการแล้ว ยังต้องสามารถคุ้มครองความเสี่ยงด้านการเงินในเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วย  ดังนั้นเพื่อตอบโจกย์นี้ จึงมีการนำ หลักการด้านสาธารณสุขมูลฐาน มาบริหารระบบสุขภาพขึ้น

หลักการสาธารณสุขมูลฐาน  (Primary health care)

มีองค์ประกอบที่สำคัญ 10 ประการ

  1. การสุขศึกษา
  2. การโภชนาการ
  3. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
  4. การให้การรักษาพยาบาลโรคง่ายๆที่พบบ่อยในท้องถิ่น
  5. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด
  6. การจัดหายาที่จำเป็นไว้ใช้ในหมู่บ้าน
  7. การอนามัยแม่และเด็กตลอดจนการวางแผนครอบครัว
  8. การควบคุมโรคติดต่อประจำท้องถิ่น
  9. งานทันตสาธารณสุข
  10. งานสุขภาพจิต

หลักการที่สำคัญของการสาธารณสุขมูลฐาน คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน โดยรัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน ข้อมูล วิชาการ เพื่อให้ประชาชนแก้ปัญหาสุขภาพและดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง

กลยุทธคือ การให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล เปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้บริการมาเป็นผู้กระตุ้น ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ให้การสนับสนุน ประชาชนในการดูแลสุขภาพ

สหสาขาวิชาชีพ

2. การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ( Primary care)

การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ คือ การจัดหาสินค้า/บริการด้านสาธารณสุขที่จำเป็น สำหรับแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชนส่วนใหญ่ โดยเป็นบทบาทและหน้าที่ของบุคคลากรด้านสาธารณสุข เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น

เป้าหมายของการให้บริการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ คือ ให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีในการดูแลการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเกินไป

สิ่งจำเป็นในการดูแลระดับปฐมภูมิ คือ

  • ระบบข้อมูล ( information system )
  • ระบบประกันคุณภาพงานบริการ (quality insurance system)

ประโยชน์ของการดูแลระดับปฐมภูมิ คือ

  • ประชาชนได้รับบริการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจพบอาการเจ็บป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยผู้รับบริการมีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องการดูแลสุขภาพของตัวเอง
  • สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนร่วมมือกัน ดูแลสุขภาพกันเองในหมู่สมาชิกของชุมชน
  • สร้างระบบส่งต่อคนป่วยไปยังการดูแลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ความแตกต่างระหว่างหลักการสาธารณสุขมูลฐานกับการดูแลระดับปฐมภูมิ

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติยังมีความสับสนในเรื่องหลักการสาธารณสุขมูลฐาน กับ การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ  เพราะหลักการใกล้เคียงกัน

ตารางสาธารณสุข

4. บทบาทเภสัชกรกับระบบสุขภาพ

วิวัฒนาการของวิชาชีพเภสัชกรรมจากการให้ความสำคัญในตัวผลิตภัณฑ์ยา ด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษา  คิดค้นรูปแบบยาใหม่ที่สะดวกในการใช้ มาเน้นงานบริบาลเภสัชกรรม ที่มุ่งเน้นการดูแลผลการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย นอกเหนือจากการจ่ายยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย  นั่นก็คือการดูแลผู้ป่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีจากการใช้ยาด้วย  เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของการให้บริการ

โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของเภสัชกรในร้านยา ที่ได้ริเริ่มการขยายบทบาทที่ไม่เพียงดูแลความเจ็บป่วยของประชาชนเท่านั้น แต่ดูแลสุขภาพของประชาชนด้วย

ยกตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ออสเตรเลีย ร้านยาจะให้บริการฉีดวัคซีน  บำบัดผู้ป่วยยาเสพติดด้วย

สำหรับในประเทศไทย สภาเภสัชกรรมได้ร่วมมือกับกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) ขยายบทบาทเภสัชกรในร้านยาให้เข้าสู่งานบริการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิมากขึ้น โดยได้มีโครงการนำร้านยาเข้าสู่ระบบสุขภาพ ด้วยการริเริ่มโครงการแนะนำช่วยเลิกบุหรี่   โครงการคัดกรองผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน หอบหืดและจิตเวช  การดูแลติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยที่บ้าน โครงการรับยาใกล้บ้าน ลดความแออัดในโรงพยาบาล เป็นต้น

การขยายบทบาทเภสัชกรสู่งานสาธารณสุขมูลฐาน หรือที่เรียกว่า งานบริการเภสัชสาธารณสุข หรือ งานเภสัชกรรมสังคม  ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเบาหวานในหมู่บ้านรวมตัวกันเพื่อดูแลการกินยาและการฉีดยาซึ่งกันและกัน โดยมีเภสัชกรเป็นผู้ให้คำปรึกษา ประสานงาน และสนับสนุนข้อมูลวิชาการและทรัพยากรที่จำเป็น  เป็นต้น

การทำงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  จะสามารถบรรลุผลประสพความสำเร็จได้นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพสาธารณสุข  การประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้เกิดความร่วมมือและความยั่งยืนของระบบ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย

วิชาชีพเภสัชกรอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด อ่านเพิ่มเติมที่  สภาเภสัชกรรม

สรุป

ในปัจจุบันการสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทยก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และได้รับการยอมรับจากทั่วโลก นับตั้งแต่ประเทศไทยได้ลงนามกฏบัตรขององค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ. 2523 ว่าจะให้การสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐาน และเป็นตัวเร่งให้วิชาชีพเภสัชกรในระบบสุขภาพเปลี่ยนเป็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้นด้วย

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า