ยาตีกันกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ยาตีกับสมุนไพรเสริมอาหาร

ปัจจุบันประชาชนโดยส่วนใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติให้ความสนใจในการใช้การแพทย์ทางเลือกร่วมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้มีโอกาสใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมกันกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น สมุนไพร และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านี้ บ่อยครั้งจะเป็นการหาซื้อใช้เองโดยไม่ได้ปรึกษาหรือแจ้งแพทย์และเภสัชกร เพราะว่ามองข้ามความสำคัญความปลอดภัยในการใช้ร่วมกันกับยา โดยไม่ทราบว่ามันสามารถตีกันจนเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้  ทางการแพทย์เรียกว่า อันตรกริยาต่อกัน

อันตรกริยาต่อกัน คือ การที่ฤทธิ์ของยาตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพอีกตัวหนึ่งร่วมด้วย โดยผลที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดการแพ้ยาหรืออาการไม่พึงประสงค์ขึ้น หรืออาจจะทำให้ผลการรักษาลดลง ซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนความรุนแรงที่เกิดขึ้นมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วย ระยะเวลาที่ใช้ร่วมกัน และขนาดยาที่ใช้ด้วยกัน

 

ยาตีกับชาสมุนไพร

สารบัญ

ประเภทของการตีกันหรือการเกิดอันตรกริยา

ลักษณะการตีกันแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  1. อันตรกริยาด้านเภสัชพลศาสตร์
    คือ  การตีกันของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแล้วก่อให้เกิดผลทางคลินิกต่อร่างกาย แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้นของยาในร่างกาย
    โดยผลทางคลินิกเกิดขึ้นที่ตำแหน่งอวัยวะเป้าหมายของร่างกายที่ยานั้นออกฤทธิ์
  2. อันตรกริยาด้านเภสัชจลศาสตร์
    คือ การตีกันของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแล้วก่อให้เกิดผลทางคลินิกต่อร่างกาย แต่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้นของยาในร่างกาย
    โดยผลทางคลินิกที่เกิดขึ้นคือมีการเปลี่ยนแปลงการดูดซึม การกระจายยา ขบวนการออกฤทธิ์ และการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: ยากับสมุนไพรกินด้วยกันดีมั้ย

 

อันตรกริยา

แบบที่1  อันตรกริยาทางเภสัชพลศาสตร์

ผลของการตีกันของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ทิศทางคือ

  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพเสริมฤทธิ์กันกับยา

  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพต้านฤทธิ์กันกับยา

1.1 ออกฤทธิ์เสริมกัน :

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น

  • มะระขี้นก (Momordica charantia)
  • ผักเชียงดา ( gymnema sylvestre)
  • โสมอเมริกัน (panax guinquefolius)
  • หญ้าหนวดแมว (orthosiphon aristatus)
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโครเมียม

จะเสริมการออกฤทธิ์ของยาแผนปัจจุบัน ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการใช้ร่วมกันควรติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและเป็นอันตรายได้ ที่ไม่ควรละเลยคือต้องให้แจ้งแพทย์และเภสัชกรด้วยทุกครั้งถ้ามีการใช้ร่วมกันเพื่อที่ว่าอาจมีการปรับปลี่ยนขนาดยาแผนปัจจุบันให้เหมาะสม ป้องกันการเกิดอันตรายจากการกินร่วมกัน

 

น้ำตาลต่ำ

 

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจเสริมฤทธิ์การละลายลิ่มเลือดของยาวาร์ฟาริน warfarin ถ้ารับประทานปริมาณสูง

  • บิลเบอร์รี่
  • น้ำมันโบราจ
  • แครนเบอร์รี่
  • ตังกุย/โกฐเชียง
  • น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส
  • กระเทียม
  • โสม
  • ชะเอม
  • ขิง
  • ขมิ้น
  • โกศจุฬาลัมพา,เทียนข้าวเปลือก,เทียนตาตั๊กแตน จะพบในยาหอม
  • วิตามินอี
  • บัวบก
  • เห็ดหลินจือ
  • มะขามป้อม

เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดโดยเฉพาะ warfarin รวมถึง แอสไพริน aspirin โคลพิโดเกล clopidogel ถ้าต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรอย่างใกล้ชิด

 

วาร์ฟาริน

 

กระชายดำและถั่งเช่า มีสารออกฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้ จึงควรระมัดระวังการใช้ร่วม ยาช่วยการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย sidenafil

1.2  ออกฤทธิ์ต้านกัน :

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีวิตามิน เค vitamin K สูง และ อาจต้านฤทธิ์ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน

  • ลูกยอ
  • ชาเขียว
  • ถั่วเหลือง
  • บล็อกเคอรี่
  • เซนจอห์นเวิรธ์
  • โคเอนไซม์ Q10
  • คลอโรฟิล

ซึ่งวิตามิน เค เกี่ยวข้องกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นในผู้ป่วยที่ทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน warfarin ควรใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น

  • เห็ดหลินจือ
  • สารสกัดฟ้าทะลายโจร

ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องทานกดภูมิคุ้มกัน เช่น ยา cyclosporin  ยา Tacrolimus

 

cyclosporin

-ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีสารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน phytoestrogen ในปริมาณสูง เช่น

  • กวาวเครือขาว (Pueraria mirifica)
  • ตังกุย ( dong quai)

ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ใช้ยา tamoxifen ซึ่งเป็นยายับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : คำถามที่พบบ่อยๆ การใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน

 

มะเร็งเต้านม

แบบที่ 2 อันตรกริยาทางเภสัชจลศาสตร์

  • ผลต่อด้านการดูดซึมยา

    -เพิ่มการดูดซึมยา

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อยู่ในรูปน้ำมัน เช่น วิตามินอี น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันปลา จะทำให้ยาที่มีคุณสมบัติละลายไขมันได้ดี เช่น ยารักษาโรคหืดหอบ Theophylline SR  ยารักษาโรคเชื้อรา Ketoconazole Itraconazole  ยารักษาสิว Isotretinoin ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น   

น้ำส้มโอสามารถเพิ่มการดูดซึมระดับยาในเลือดของผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ใช้ ยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporine ได้

น้ำส้ม สามารเพิ่มการดูดซึม  อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ aluminium hydroxide ในยาลดกรดได้  ต้องระวังในผู้ป่วยโรคไต

 

น้ำผลไม้

 

     ลดการดูดซึมยา

-น้ำส้มโอและน้ำองุ่น ลดการดูดซึมของยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporin และยาช่วยการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย sildenafil 

น้ำแอปเปิ้ล ลดการดูดซึมของยาแก้ภุมิแพ้ เฟกโซฟีนาดีน fexofenadine และยาลดความดัน atenolol 

-น้ำส้ม ลดการดูดซึมยาลดความดัน atenolol  ยารักษาภูมิแพ้ montelukast  ยารักษาโรคกระดูกพรุน alendronate

ซึ่งน้ำผลไม้เหล่านี้ จะทำให้ยาเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดและเนื้อเยื่อลดลง ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง  จึงควรเว้นระยะห่างการกินร่วมกันกับยาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

ชาเขียว จะมีสารที่เรียกว่า EGCG ที่สามารถจับกับยารักษาโรคมะเร็ง Head and neck cancer ชื่อ sunitinib เกิดเป็นสารประกอบซับซ้อนที่ดูดซึมเข้าเนื้อเยื่อได้น้อยลง  ทำให้ผลการรักษาด้อยลง

 

ชาเขียว

 

นอกจากนี้ ชาเขียว ยังทำให้การดูดซึมของ กรดโฟลิค แอซิด ลดลง ในผู้ป่วยธาลาสซีเมียที่ต้องรับประทานยาตัวนี้ป้องกันอาการโลหิตซีดจาง ควรระมัดระวังการบริโภคชาเขียวแต่พอควร ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มากเกินไป

ที่สำคัญมีรายงานพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาระดับไขมันในเลือดสูงและใช้ยารักษาชื่อ ซิมวาสตาติน  simvastatin ร่วมกับการบริโภคชาเขียว ได้รับผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้นคือ พิษต่อตับและกล้ามเนื้อสลายตัว  ซึ่งในขณะนี้ยังไม่พบกลไกที่ทำให้การใช้ร่วมกันเกิดพิษ

สรุป

การป้องกันตัวเราให้มีความปลอดภัยในการดูแลสุขภาพ ป้องกันปัญหาการตีกันของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คือควรมีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และ ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เมื่อมีการใช้ร่วมกับยา ที่สำคัญควรปรึกษาเภสัชกรเวลาจะใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและแจ้งแพทย์ผู้รักษาเสมอว่าใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใดอยู่บ้างทุกครั้ง

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า