พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เป็นกฏหมายที่เปิดให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนของสังคม มาทำงานด้านสุขภาพด้วยกันแบบบูรณาการ โดยบทบาทของเภสัชกรในระบบสุขภาพมีตั้งแต่ระดับปฐมภูมิและระดับสาธารณสุขพื้นฐาน
ระบบสุขภาพ คือ ระบบงานบริการที่จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยมีเป้าหมายของการจัดการนี้คือ
- ประชาชนมีสุขภาพที่เหมาะสม
- สร้างความเท่าเทียมของประชาชนในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
1.หลักการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary health care)
ขอบเขตการให้บริการพื้นฐานทางสาธารณสุข มี 4 ด้านคือ
- การส่งเสริมสุขภาพ ( health promotion)
- การป้องกันการเกิดโรค ( disease prevention)
- การรักษาโรค (curative treatment)
- การฟื้นฟูสมรรถนะ ( rehabilitation)
การลงทุนในสุขภาพอนามัยจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ มีการศึกษาพบว่า การจัดสรรงบประมาณในด้านสาธารณสุขและการศึกษามีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้พบว่าการใช้งบประมาณในกิจกรรมข้อที่ 1 และ 2 คือ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมเชิงรุก เป็นประโยชน์ คุ้มค่า และ ได้ประสิทธิภาพมากกว่า กิจกรรมข้อ 3 และ 4 คือการรักษาโรคและการฟื้นฟูสมรรถนะ ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมเชิงรับ
อย่างไรก็ดี การจัดระบบสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีภาวะสุขภาพที่ดีนั้น นอกจากเรื่องการเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการแล้ว ยังต้องสามารถคุ้มครองความเสี่ยงด้านการเงินในเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วย ดังนั้นเพื่อตอบโจกย์นี้ จึงมีการนำ หลักการด้านสาธารณสุขมูลฐาน มาบริหารระบบสุขภาพขึ้น
หลักการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary health care)
มีองค์ประกอบที่สำคัญ 10 ประการ
- การสุขศึกษา
- การโภชนาการ
- การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
- การให้การรักษาพยาบาลโรคง่ายๆที่พบบ่อยในท้องถิ่น
- การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด
- การจัดหายาที่จำเป็นไว้ใช้ในหมู่บ้าน
- การอนามัยแม่และเด็กตลอดจนการวางแผนครอบครัว
- การควบคุมโรคติดต่อประจำท้องถิ่น
- งานทันตสาธารณสุข
- งานสุขภาพจิต
หลักการที่สำคัญของการสาธารณสุขมูลฐาน คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน โดยรัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน ข้อมูล วิชาการ เพื่อให้ประชาชนแก้ปัญหาสุขภาพและดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง
กลยุทธคือ การให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล เปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้บริการมาเป็นผู้กระตุ้น ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ให้การสนับสนุน ประชาชนในการดูแลสุขภาพ
2. การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ( Primary care)
การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ คือ การจัดหาสินค้า/บริการด้านสาธารณสุขที่จำเป็น สำหรับแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชนส่วนใหญ่ โดยเป็นบทบาทและหน้าที่ของบุคคลากรด้านสาธารณสุข เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น
เป้าหมายของการให้บริการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ คือ ให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีในการดูแลการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเกินไป
สิ่งจำเป็นในการดูแลระดับปฐมภูมิ คือ
- ระบบข้อมูล ( information system )
- ระบบประกันคุณภาพงานบริการ (quality insurance system)
ประโยชน์ของการดูแลระดับปฐมภูมิ คือ
- ประชาชนได้รับบริการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจพบอาการเจ็บป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยผู้รับบริการมีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องการดูแลสุขภาพของตัวเอง
- สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนร่วมมือกัน ดูแลสุขภาพกันเองในหมู่สมาชิกของชุมชน
- สร้างระบบส่งต่อคนป่วยไปยังการดูแลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความแตกต่างระหว่างหลักการสาธารณสุขมูลฐานกับการดูแลระดับปฐมภูมิ
อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติยังมีความสับสนในเรื่องหลักการสาธารณสุขมูลฐาน กับ การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ เพราะหลักการใกล้เคียงกัน
4. บทบาทเภสัชกรกับระบบสุขภาพ
วิวัฒนาการของวิชาชีพเภสัชกรรมจากการให้ความสำคัญในตัวผลิตภัณฑ์ยา ด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษา คิดค้นรูปแบบยาใหม่ที่สะดวกในการใช้ มาเน้นงานบริบาลเภสัชกรรม ที่มุ่งเน้นการดูแลผลการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย นอกเหนือจากการจ่ายยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย นั่นก็คือการดูแลผู้ป่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีจากการใช้ยาด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของการให้บริการ
โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของเภสัชกรในร้านยา ที่ได้ริเริ่มการขยายบทบาทที่ไม่เพียงดูแลความเจ็บป่วยของประชาชนเท่านั้น แต่ดูแลสุขภาพของประชาชนด้วย
ยกตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ออสเตรเลีย ร้านยาจะให้บริการฉีดวัคซีน บำบัดผู้ป่วยยาเสพติดด้วย
สำหรับในประเทศไทย สภาเภสัชกรรมได้ร่วมมือกับกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) ขยายบทบาทเภสัชกรในร้านยาให้เข้าสู่งานบริการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิมากขึ้น โดยได้มีโครงการนำร้านยาเข้าสู่ระบบสุขภาพ ด้วยการริเริ่มโครงการแนะนำช่วยเลิกบุหรี่ โครงการคัดกรองผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน หอบหืดและจิตเวช การดูแลติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยที่บ้าน โครงการรับยาใกล้บ้าน ลดความแออัดในโรงพยาบาล เป็นต้น
การขยายบทบาทเภสัชกรสู่งานสาธารณสุขมูลฐาน หรือที่เรียกว่า งานบริการเภสัชสาธารณสุข หรือ งานเภสัชกรรมสังคม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเบาหวานในหมู่บ้านรวมตัวกันเพื่อดูแลการกินยาและการฉีดยาซึ่งกันและกัน โดยมีเภสัชกรเป็นผู้ให้คำปรึกษา ประสานงาน และสนับสนุนข้อมูลวิชาการและทรัพยากรที่จำเป็น เป็นต้น
การทำงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง จะสามารถบรรลุผลประสพความสำเร็จได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพสาธารณสุข การประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและความยั่งยืนของระบบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย
วิชาชีพเภสัชกรอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด อ่านเพิ่มเติมที่ สภาเภสัชกรรม
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกเด็กเล็ก
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา