ร้านยา เป็นหน่วยร่วมบริการสาธารณสุขภาคเอกชนที่เป็นด่านแรกของการเข้าถึงยาของประชาชนที่ไม่สะดวกไปโรงพยาบาลและมีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ที่เป็นต้นตอของปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหารุนแรงระดับโลก
เชื้อดื้อยา (Antimicrobial resistance, AMR ) คือ เชื้อแบคทีเรียที่ทนต่อยาปฏิชีวนะ เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง ทำให้แบคทีเรียปรับตัวและพัฒนาตัวเองขึ้นให้ทนต่อยาปฏิชีวนะ เราเรียกว่า superbug
สถานการณ์เชื้อดื้อยาในประเทศไทยและทั่วโลก
สถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยา เป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี ค.ศ.2014
จากการสำรวจทั่วโลก มีเชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิดที่มีภาวะการดื้อยาสูงและน่าเป็นห่วงอยู่มากในขณะนี้ ดังนี้
- Escherichia coli
- Klebsella pneumonia
- Staphylococcus aureus
- Strephylococcus pneumoniae
- Non typhoid salmonella
- Shigella species
- Neisseria gonorrhea
สถานการณ์ในประเทศไทยก็มีความรุนแรง มีอัตราการดื้อยา 100,000 คนต่อปี มูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี
สถานการณ์เชื้อดื้อยาในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน
- การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในชุมชน
- การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาล
#การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในชุมชน
เชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาในชุมชนได้แก่
- Streptococcus pneumoniae
- Methicillin sensitive Staphylococcus aureus( MSSA)
- Escherichia coli
- Klebseilla pneumoniae
- Salmonella
- Shigella
# การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาล
เชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาในโรงพยาบาล ได้แก่
- Ainetobacter baumannii
- Methicillin sensitive Staphylococcus aureus (MSSA)
- Enterococci
- Pseudomonas aeruginosa
- Enterobacter spp.
เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาทั้งทางการแพทย์และสาธารณสุข มีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย พบว่ามีปัจจัยเกี่ยวข้องกันและกันอย่างซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสำคัญ
ปัจจัยที่มีผู้ศึกษาว่าเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะได้แก่
- การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นในการรักษา : มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนกันอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัส ที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดทั้งของแพทย์ เภสัชกรและตัวผู้ป่วย ประกอบกับมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างเกินขอบเขตความจำเป็น เนื่องจากยาเหล่านี้มีความสะดวกในการรับประทาน แต่การใช้ยาปฏิชีวนะในทั้ง 2 กรณีดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้มีการคัดเลือกเชื้อดื้อยานั้นๆขึ้นมา
แนวทางแก้ปัญหาคือ
- ให้ความรู้ทั้งแก่ประชาชน เกี่ยวกับโรคติดเชื้อที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เน้นการใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น
- ให้ความรู้และเน้นย้ำผู้สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ให้เข้าใจถึงผลของการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
- การจำกัดชนิดของยาปฏิชีวนะที่สามารถสั่งจ่ายได้ในร้านขายยาและคลินิก เพื่อควบคุมการคัดเลือกสายพันธุ์เชื้อดื้อยา
- การให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น วัคซีนโรคปอดอักเสบ Strephylococcus pneumoniae
2.การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่เหมาะสมในการรักษา : การให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย คุณสมบัติของยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด ข้อบ่งชี้ ประโยชน์และ โทษของยาแต่ละชนิด แก่ผู้สั่งใช้ยาเช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ สัตว์แพทย์
ตลอดจนสนับสนุนการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการที่ดีและแม่นยำ จะช่วยให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ 2554-2559 ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต้องลดค่าใช้จ่ายด้านยาลง 5 % คือ 7,000 ล้านบาท และลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลลงร้อยละ 50
การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เนื่องจากปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล นำไปสู่ความล้มเหลวในการรักษาอาการไม่พึงประสงค์จากยา ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
3.การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์และอุตสาหกรรมเกษตร เป็นปัญหาทั่วโลก การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ปลา ไก่ สุกร โค กระบือ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดและแพร่กระจายเชื้อดื้อยา
การใช้ยาฆ่าแมลงและยาปฏิชีวนะ เช่น เตตร้าไซคลิน (tetracyclin) , สเตรปโตมัยซิน (streptomycin) ในสวนเกษตรก็ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาด้วยเช่นกัน
4.การคิดค้นยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ลดลง เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีระยะเวลาการใช้ยาที่สั้น เพราะเมื่อโรคติดเชื้อหายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ต่อ ไม่เหมือนกับยารักษากลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ที่มีระยะเวลาการใช้ยายาวนานกว่า ความคุ้มทุนของการคิดค้นยาปฏิชีวนะจึงน้อยกว่ายากลุ่มอื่นๆมาก ทำให้ระยะหลังนี้ จำนวนยาปฏิชีวนะที่คิดค้นและรับรองลดลง
การคิดค้นยาปฏิชีวนะใหม่ในแต่ละปี นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1980 จนถึง 2014 เป็นดังนี้
- ปี ค.ศ. 1980-1984 มีการค้นพบใหม่ 19 ชนิด
- ปี ค.ศ. 1985-1989 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
- ปี ค.ศ. 1990-1994 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
- ปี ค.ศ. 1995-1999 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
- ปี ค.ศ. 2000-2004 มีการค้นพบใหม่ 4 ชนิด
- ปี ค.ศ. 2005-2009 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
- ปี ค.ศ. 2010-2014 มีการค้นพบใหม่ 6 ชนิด
ลักษณะและกลไกการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย
ลักษณะการดื้อยา แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่
- Intrinsic resistance เป็นการดื้อยาที่มีตามธรรมชาติอยู่แล้ว เชื้อแต่ละกลุ่มถ่ายทอดการดื้อยาลักษณะนี้ผ่านทางพันธุกรรม เชื้อที่อยู่จีนัส ( genus )หรือ สปีชีส์ (species) เดียวกันจะดื้อยากลไกเดียวกัน
- Acquired resistance เป็นการดื้อยาที่แบคทีเรียพัฒนาขึ้นมาเพื่อกำจัดและลดประสิทธิภาพของยา เรียกว่าการก่อกลายพันธุ์ (mutation) วิธีนี้ เชื้อที่อยู่จีนัส ( genus) หรือสปีชีส์ (species )เดียวกันดื้อยาไม่เหมือนกันได้
โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 กลไกหลัก โดยเชื้อแต่ละชนิดอาจจะใช้หลายกลไกร่วมกันในการดื้อยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด
- กลไกที่1 : การสร้างเอนไซม์มาทำลายหรือดัดแปลงโครงสร้างของยา (Drug inactivation / modification) เป็นกลไกที่พบมากที่สุด
- กลไกที่2 : การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาให้ผิดไปจากปกติ (Alteration of target site)
- กลไกที่3 : การเปลี่ยนแปลงขบวนการเมทาบอริซึมของแบคทีเรีย ทำให้ยาที่มีฤทธิ์ขัดขวางขบวนการดังกล่าวไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ ( Change in metabolic pathway)
- กลไกที่4 : การลดการผ่านของยาเข้าสู่เซลล์ และ/หรือ การเร่งการขับยาออกนอกเซลล์ของแบคทีเรีย ( Decrease uptake/decrease accumulation)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การใช้ยาสมเหตุผลในร้านยา
เภสัชกรชุมชนในร้านยาช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้อย่างไร
การให้คำปรึกษาแก่ผู้มารับบริการในร้านยา เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม เภสัชกรจะใช้วิธีการสื่อสาร ด้วยความเข้าใจปัญหา และความวิตกกังวลของผู้มารับบริการ และตอบสนองความต้องการของผู้มารับบริการอย่างตรงจุด มีขั้นตอนดังนี้
- เภสัชกรจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มารับบริการ เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดใจให้ข้อมูลและยอมรับคำแนะนำที่เภสัชกรมอบให้
- เภสัชกรซักประวัติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงของผู้มารับบริการ ซึ่งจะทำให้เภสัชกรเข้าใจความคาดหวัง ทัศนคติ ประสบการณ์และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้มารับบริการ
โดยมี 4 ประเด็นหลักๆที่เภสัชกรจะเก็บข้อมูล
- ความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะ
- ความคาดหวังต่อบริการและยาที่ต้องการ
- ประสบการณ์และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในช่วงที่ผ่านมา
- อาการแสดงทางคลินิกทั้งในมุมมองของผู้ป่วยและมุมมองทางการแพทย์
- เภสัชกรจะประมวลผล ตัดสินใจ ดำเนินการให้ยาและคำแนะนำแก่ผู้มารับบริการ
ดังนี้
- สำหรับผู้มารับบริการที่มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เภสัชกรจะแก้ไขความรู้ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้ให้ถูกต้อง
- สำหรับผู้มารับบริการที่มีความคาดหวังการได้รับยาปฏิชีวนะ เภสัชกรจะวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งเสริมความเชื่อ ทัศนคติของผู้มารับบริการ และแก้ไขให้เกิดทัศคติใหม่ในการใช้ยาอย่างมีเหตุผลด้วยการนำเสนอข้อมูลวิชาการที่เป็นกลางให้ผู้ป่วยนำไปพิจารณา
- สำหรับผู้ป่วยที่มีประสบการณ์และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในช่วงที่ผ่านมาแบบไม่สมเหตุผล เภสัชกร จะชี้แจง อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า อาการป่วยในแต่ละครั้งแม้ว่าอาการแสดงทางคลินิกอาจเหมือนหรือคล้ายกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิดจากสาเหตุเดียวกัน ใช้ยาตัวเดียวกัน รักษาได้เหมือนกัน
ทั้งนี้เภสัชกรจะคำนึงถึงความคาดหวัง ความกังวลของผู้ป่วยร่วมด้วยเสมอ ในกรณีที่เห็นว่าไม่สามารถโน้มน้าวใจผู้ป่วยได้ เภสัชกรอาจจะทำตามความคาดหวังของผู้ป่วยแบบชะลอเวลา คือการชะลอการจ่ายยาปฏิชีวนะให้ช้าลง2-3 วัน
หรือแนะนำทางเลือกอื่นๆให้แทน เช่น การใช้ยาสมุนไพร การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การใช้การแพทย์แผนโบราณ
จะเห็นได้ว่าปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ยาแบบไม่สมเหตุผล สามารถจำแนกสาเหตุแบบให้เห็นภาพชัดเจนได้ดังนี้
- การใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้
- การใช้ยาที่ขาดหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลของยา
- การใช้ยาที่อันตรายจากยามีมากกว่าประโยชน์ของยาอย่างชัดเจนโดยมีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่าให้เลือกใช้
- การใช้ยาโดยขาดความคำนึงถึงความคุ้มค่า
- การใช้ยาโดยขาดความตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยา
- การใช้ยามากเกินความจำเป็นและซ้ำซ้อน
- การใช้ยาข้ามขั้นตอน
- การใช้ยาไม่สอดคล้องกับแนวทางเวชปฏิบัติที่เชื่อถือได้
- การใช้ยาไม่ถูกขนาด ไม่ถูกวิธี ระยะเวลาการรักษาไม่ถูกต้อง
- การใช้ยาไม่สอดคล้องกับแนวเวชปฏิบัติที่เชื่อถือได้
แนวทางหลักปฏิบัติทั่วไปที่เภสัชกรชุมชนในร้านยาใช้อยู่เป็นบรรทัดฐานประจำในการดูแลผู้ป่วย เพื่อลดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ มีดังนี้
- จ่ายยาปฏิชีวนะเมื่อมีข้อบ่งชี้การติดเชื้อชัดเจนและจำเป็นเท่านั้น
- ไม่จ่ายยาปฏิชีวนะที่จะนำไปสู่การพัฒนาเชื้อดื้อยา
- แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับ ยา และข้อบ่งใช้ ขนาดยา วิธีการรับประทาน ระยะเวลาการรับประทานยาที่ถูกต้อง
- ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับ ผลที่จะตามมา หากใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม หรือผิดวิธี อาจนำไปสู่การดื้อยาปฏิชีวนะ
- ให้ข้อมูลด้านการป้องกันการติดเชื้อ และการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อให้เหมาะสม
เช่น
- การใส่หน้ากากอนามัย หากมีอาการไอหรือจาม
- การรับวัคซีนให้ครบตามวัย การได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดบวม โดยเฉพาะวัยเด็กและผู้สูงอายุ
- การป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์โดยการสวมถุงยางอนามัย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ยาวิพากษ์ ปี่ที่ 7 ฉบับที่ 28
สรุป
ปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลนั้น เป็นผลเสียทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะการทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกในขณะนี้ การจะแก้ปัญหาได้ต้องจัดการทั้งระบบสุขภาพ ทั้งต้นน้ำคือบริษัทยา กลางน้ำคือผู้สั่งใช้ยา และปลายน้ำคือประชาสังคม
เภสัชกรชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพในร้านยาซึ่งเป็นหน่วยร่วมบริการสาธารณสุขที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ชุมชน เป็นส่วนกลางน้ำของระบบสุขภาพที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนให้ระบบยาของประเทศมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์
459 บาท399 บาทแนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
160 บาท100 บาทยาเบญจกูล
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก
อินอควา (หนัก 10กรัม)
ไบโอฟลอร์ผง
ไบโอฟลอร์แคปซูล
ฮีรูดอยด์ เอสเซ้นส์ (หนัก 110 กรัม)
ดราก้อนบลัด (หนัก 10-20-30 กรัม)
มาร์ คิดส์ โนส
255 บาท190 บาทแผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา