ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอม

ยาอม เป็นรูปแบบหนึ่งของยารักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วย ในปัจจุบันความหลากหลายของยาอมมีมากขึ้น มีทั้งแบบเป็นสมุนไพรไทยและสมุนไพรต่างประเทศ แบบที่เป็นยาแผนปัจจุบัน แบ่งตามกฎหมายยาได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

1)ยาสามัญประจำบ้าน

2)ยาอันตราย

3)ยาใช้เฉพาะที่


นอกจากนี้ยังมียาอมประเภทซูการ์ฟรี (Sugar free) คือ ไม่มีน้ำตาลซูโครสหรือกลูโคส แต่ใช้สารให้ความหวานประเภทอื่นๆแทน เช่น xylitol หญ้าหวาน เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงความหวานจากน้ำตาลที่ให้พลังงานสูง


เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเป็นไข้หวัดที่มีอาการไอและเจ็บคอ ในการรักษาและบรรเทาอาการดังกล่าว นอกจากมียาเม็ดหรือยาน้ำแบบรับประทานแล้ว ยาอมก็จะเป็นยาที่มีประโยชน์มากในการช่วยบรรเทาอาการ ไอและเจ็บคอที่ดีในคนที่มีอาการดังกล่าวค่อนข้างรุนแรง

รูปแบบยาอม

ยาอมที่ใช้บรรเทาอาการ ไอ เจ็บคอ ในท้องตลาดในเวลานี้จะมี 3 รูปแบบยาเตรียม (Dosage form) ดังนี้

1. ยาอมลูกกวาด LOZENGE :

ยาอมรูปแบบนี้ จุดประสงค์เพื่อให้อมยาในปากให้ค่อยๆละลายช้าๆ ห้ามกลืนยา

2. ยาเม็ดอมกัมมี่ PASTILLES :

ยาอมรูปแบบนี้ มีลักษณะ นิ่ม ใส สามารถเคี้ยวและกลืนได้

3. ยาเม็ดลูกกลอน PILLS :

ยาอมรูปแบบนี้ จะมีรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3-5 มม.ลักษณะนิ่ม สามารถเคี้ยวและกลืนได้

รูปแบบยาอม

ประเภทยาอม

แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามกฎหมายยา

1. กลุ่มยาอมที่จัดเป็นอาหาร :

เป็นลูกอมช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการระคายคอ จะมีเครื่องหมายและเลขทะเบียน อย. บนบรรจุภัณฑ์

2. กลุ่มยาอมที่จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน :

เป็นยาอมที่ประชาชนหาซื้อได้ทั่วไป โดยจะมีแสดงคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” อยู่บนบรรจุภัณฑ์

3. กลุ่มยาอมที่จัดเป็นยาอันตราย :

เป็นยาอมที่จำหน่ายได้ในร้านยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรประจำการอยู่เท่านั้น การใช้ยาควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนเพื่อให้ตรงวัตถุประสงค์การใช้และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงหรือการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ เช่น ยาอมที่มีตัวยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) flurbiprofen (ฟลอร์บิโปรเฟน) ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ที่มีโรคประจำตัว กรดไหลย้อนหรือกระเพาะอาหารอักเสบ และ หอบหืด ยาอมที่มีตัวยาแก้ไอ Dextrometrophan (เด็กซ์โตรเมโทรแฟน) อาจทำให้ง่วงซึมได้

โดยบนบรรจุภัณฑ์ของยาอมประเภทนี้จะมีระบุคำว่า ” ยาอันตราย ” อยู่ด้วยเสมอ

กลุ่มตัวยาสำคัญในยาอม

ตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในยาอมมีหลากหลาย แต่สามารถจัดเป็นกลุ่มๆได้ตามการกลไกการออกฤทธิ์ ได้คร่าวๆประมาณ 6 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มสมุนไพร

จะมีทั้งสมุนไพรไทยและสมุนไพรต่างประเทศ จะมีสรรพคุณแบบองค์รวมคือ บรรเทาอาการไอ ระคายคอ เจ็บคอ ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้ออ่อนๆ เช่น

• ยูคาลิปตัส (Eucalyptus) :

น้ำมันยูคาลิปตัสมีสรรพคุณเด่น ด้านลดอาการไอ และ ขับเสมหะ

• เมนทอล (Menthol) :

หรือเกล็ดสาระแหน่ มีสรรพคุณเด่นด้านลดอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ

• พรอพโพลิส (Proporis) :

เป็นสารสกัดจากผิวของรังผึ้ง มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีสรรพคุณฆ่าเชื้ออ่อนๆ ลดการอักเสบ

• สมุนไพรทางประเทศะวันตกอื่นๆ

เปปเปอร์มินท์ ( Peppermint) หรือ สะระแหน่ , เสจ (Saga) ,ไทม์ (Thyme) ,คาโมมายล์ (chamomile) ซึ่งจะมีสรรพคุณองค์รวมคือ แก้ไอ ขับเสมหะ ฆ่าเชื้อ

• สมุนไพรจีน

ได้แก่ กิกเก้ , โง้วป่วยจี้, เฮ้งยิ้ง

• มะขามป้อม (Amla):

เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวฝาด มีวิตามินซีสูง มีสารกลุ่มแทนนิน อัลคาลอยด์ และฟลาโวนอยด์สูง

มะแว้งต้น ( Solanum indicum) , มะแว้งเครือ ( Solanum trilobatum):

เป็นผลไม้ที่มีสารอัลคาลอยด์สูง มีสรรพคุณแก้ไอเด่น

• มะนาว (lime):

มีรสเปรี้ยว มีวิตามิซีสูง

• ขิง (Ginger) :

มีสารกลุ่มฟีนอลิก (phenolic acid) สูง มีสรรพคุณต้านการอักเสบสูง

• ชะเอมเทศ (glycerrhiza glaba) :

มีสารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มซาโปนิน เช่น glycyrrhizin มีสรรพคุณฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้

• รากบัวหลวง (Nelumbo) :

มีสารออกฤทธิ์เป็นพวกอัลคารอยด์และฟลาโวนอยด์ มีสรรพคุณฆ่าเชื้ออ่อนๆ

2. กลุ่มยาชาเฉพาะที่ (local anesthetics)

เป็นยาอมที่หวังผลลดอาการเจ็บคอเป็นหลัก โดยจะมีปริมาณยาไม่สูงมาก ใช้ในปริมาณที่บรรเทาอาการเจ็บคอเท่านั้น ไม่เหมือนพวกยาชาที่ใช้ในเวชปฎิบัติทั่วไป เช่น การทำฟัน การผ่าตัด ตัวยาที่ใช้ในยาอมมีดังนี้

  • ลิโดเคน (lidocaine) หรือ ลิกโนเคน (lignocaine)
  • เบนโซเคน (benzocaine)
  • อะไมโลเคน (amylocaine)

3. ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ (analgesics and anti-inflammatory drugs)

เป็นยาอมที่อยู่ภายใต้การดูแลการสั่งจ่ายโดยเภสัชกรในร้านยา หรือ โดยแพทย์ในสถานพยาบาลเท่านั้น ตัวยาที่ใช้ในยาอมมีดังนี้

  • เฟอร์บิโพรเฟน (flurbiprofen)
  • เบนซีดามีน ไฮโดรคลอไรด์ (benzydamine hydrochloride) มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ด้วย

เนื่องจากยาอมประเภทนี้จัดเป็นประเภท “ยาอันตราย” ตามกฎหมายยา การใช้ยาจะมีข้อควรระวังดังนี้

3.1 ไม่เหมาะที่จะใช้ในคนไข้โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคไตเสื่อม และเบาหวาน

3.2 ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

3.3 ห้ามอมยาเกิน 5 เม็ดใน 24 ชั่วโมงและในแต่ละเม็ดอมห่างกันอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

3.4 ห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 3 วัน

4. กลุ่มสารฆ่าเชื้อ Antiseptics / disinfactants

สารพวกนี้บางตัวจะมีอยู่ในน้ำยาบ้วนปาก สเปรย์พ่นคอ จุดประสงค์ยาอมประเภทนี้คือต้องการทำความสะอาด โดยฆ่าเชื้อโรค
ยาอมประเภทนี้ บางตัวจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน บางตัวจัดเป็นยาใช้เฉพาะที่ สารฆ่าเชื้อพวกนี้บางตัวก็มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ร่วมด้วย ได้แก่

• Cetylpyridium chloride

• Benzethonium chloride

• Chlorhexidine

• Phenol

• Amylmetacresol

• Benzyl alcohol and 2,4-dichlorobenzyl alcohol

5. กลุ่มยาแก้ไอแบบไอแห้ง ไม่มีเสมหะ (Cough suppressant)

เช่น Dextromethorphan ยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์โดยกดศูนย์ควบคุมการไอในสมอง ดังนั้นจึงอาจทำให้มีอาการง่วงซึม แต่ปริมาณยาที่มีในยาอมจะไม่สูงเท่ากับยาเม็ดแบบรับประทาน ในยาอมจะมีปริมาณยาเพียง 5 มก.ต่อเม็ด ในขณะที่ยาเม็ดแบบรับประทานจะมีปริมาณยา 15 มก.ต่อเม็ด

6. กลุ่มยาแก้ไอขับเสมหะ ( mucolytics)

เช่น Ambroxal ยาตัวนี้มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่และยาต้านการอักเสบ จึงช่วยในเรื่องอาการเจ็บคอได้ด้วย ในยาอมจะมีปริมาณยา 15 มก.ต่อเม็ด ในขณะที่ยาเม็ดแบบรับประทานจะมีปริมาณยา 30 มก.ต่อเม็ด

สรุป

ในปัจจุบันยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา ส่วนใหญ่จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่อาจจะมีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตามแต่ตัวยาสำคัญที่เป็นส่วนประกอบ ถึงแม้ว่ายาอมจะมีประเภทที่ผู้บริโภคหาซื้อมาใช้เองได้ตามความชอบ แต่แนะนำว่าการใช้ยาทุกประเภทให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าและที่สำคัญมีความปลอดภัย ควรขอความเห็นและคำแนะนำจากเภสัชกรประจำร้านยาร่วมด้วยเสมอ

เอกสารอ้างอิง

  1. ภก. สุรศักดิ์ วิชัยโย, ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ, ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  2. ผศ.ภก.ดร. บดินทร์ ติวสุวรรณ , รศ.ภญ.ดร. ณัฎฐดา อารีเปี่ยม , ใช้ยาอมแก้เจ็บคอให้ตรงกับอาการ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
  3. 6 ยาอมที่หาซื้อได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูง, POBPAD.
  4. ผศ.ดร.นพ. พิสนธิ์ จงตระกูล, ยาอมแก้เจ็บคอผสมเอ็นเสดไม่ใช่ขนมหวาน, สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า