มาตรฐานคุณภาพของร้านขายยา

มาตรฐานร้านขายยา

ร้านขายยาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขที่อยู่ในภาคเอกชน แต่เกือบทั้งหมดกลับไม่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการและดูแล ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นธุรกิจที่มุ่งแสวงหาผลกำไรสูงสุดแบบไร้มาตรฐานที่ควรจะมี  ประกอบกับมีจำนวนมากเกือบ 20,000 แห่ง กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย ดังนั้นการกำหนมาตรฐานที่ดีของร้านขายยาขึ้นมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาในระบบธุรกิจร้านขายยาที่สะสมมายาวนานนับสิบๆปี มีความจำเป็นต้องทำเพื่อพัฒนาให้มีการปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านขายยา

มาตรฐานคุณภาพที่ดีร้านขายยา คือ หลักสากลโลกเกี่ยวกับข้อกำหนดหลักการปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม กำหนดโดย The International Pharmaceutical Federation (FIP) 

เนื่องจากร้านขายยาถือเป็นหน่วยบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน มีหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และดูแลสุขภาพของประชาชน การพัฒนาให้มี การปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านขายยา จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริการ และถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยด้วย

ร้านยาGPP
FIP

ความเป็นมาของมาตรฐานร้านขายยา

หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม ( Good Pharmacy Practice : GPP) เป็นแนววิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในการดูแลสุขภาพ เป็นข้อกำหนดสำคัญของมาตรฐานคุณภาพร้านขายยา ซึ่งได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2534 ภายใต้ชื่อ Standard for quality of pharmacy services โดย The International Pharmaceutical Federation (FIP) และได้จัดทำแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2536

องค์การอนามัยโลก ( World Health Assembly : WHO) ให้การรับรอง GPP เป็นมติที่ WHA 47.12 : Role of the pharmacist in support of the WHO revised drug strategy ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537

ร้านยา
GPP ร้านขายยา

เป้าหมายของการใช้ GPP ในประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของการนำมาตรฐานวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม GPP. Good Pharmacy Practice มีดังนี้

  1. ตอบสนองต่อกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัยในการใช้บริการในร้านขายยา
  2. เตรียมความพร้อมให้ร้านขายยาในประเทศไทยสามารถเข้าสู่การแข่งขันในระบบเปิดเสรีการค้าประชาคมอาเซียนได้
  3. ยกระดับมาตรฐานการให้บริการของเภสัชกรในร้านขายยาให้เชื่อมโยงการให้บริการของเภสัชกรในโรงพยาบาลได้ “แบบไร้รอยต่อ” เพื่อพัฒนาระบบยาและระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยให้ยั่งยืน
  4. ยกระดับร้านขายยาให้เป็นหน่วยบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน มีหน้าที่ บริการจัดหา จำหน่าย ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนง่ายต่อการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของประชาชน เช่น คัดกรองโรค ให้คำปรึกษา ส่งต่อ และติดตามผู้ป่วย
สินค้า

คลิ๊กดูสินค้าของเรา

เภสัชกร

เกี่ยวกับเภสัชกร

ร้านของเรา

เราช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง

การบังคับใช้ GPP ในประเทศไทย

ในประเทศไทย ระยะแรกมีการนำมาตรฐานร้านขายยา GPP มาใช้แบบให้ร้านขายยาสมัครใจเข้าร่วม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากร้านขายยาน้อยมากและไม่ประสบผลสำเร็จ

ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาให้มีการนำ หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม มาใช้ในร้านขายยาที่ยั่งยืน  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.  ) จึงได้ยกร่างกฏกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการออกใบอนุญาตและต่อใบอนุญาตเกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ.2556 โดยนำเกณฑ์หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม GPP มาเป็นข้อบังคับใช้ ให้ร้านขายยาแผนปัจุบันทุกประเภทต้องปฏิบัติตาม  และเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา

ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 4 ประเภทที่จะต้องอยู่ภายใต้กฎกระทรวงนี้ มีดังนี้

  1. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1)
  2. ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.2)
  3. ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์(ข.ย.3)
  4. ร้านขายยส่งยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.4)

ในส่วนของการนำมาบังคับใช้ จะแยกบังคับกับร้านขายยาแผนปัจจุบัน  2 กลุ่มดังนี้

  1. กลุ่มร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตก่อนวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จะให้เวลาผ่อนผันในการปรับตัว ปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามกฎกระทรวงภายในระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี นับแต่วันที่ กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ คือ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยแบ่งบังคับตามระยะเวลา แบบขั้นบันได 3 ขั้น ดังนี้

บันได GPP ขั้นที่ 1 ต้องปฏิบัติภายในการต่ออายุสิ้นปี พ.ศ.2561

บันได GPP ขั้นที่ 2 ต้องปฏิบัติภายในการต่ออายุสิ้นปี พ.ศ. 2563

บันได GPP ขั้นที่ 3 ต้องปฏิบัติภายในการต่ออายุสิ้นปี พ.ศ. 2565

2.กลุ่มร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตนับตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557เป็นต้นมา  

ให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ทันที

รายละเอียดทั้งหมดอ่านเพิ่มเติมที่ : GOOD PHARMACY PRACTICE (GPP)

การใช้มาตรฐานคุณภาพร้านขายยาแบบบันได 3 ขั้น

การบังคับใช้มาตรฐานร้านขายยา แบบบันได GPP 3 ขั้นมีดังนี้

บันได GPP ขั้นที่1  ประกอบด้วยข้อกำหนด 21ข้อ แยกย่อยเป็น 5 หมวด

  1. หมวดสถานที่
  2. หมวดอุปกรณ์
  3. หมวดบุคลากร
  4. หมวดคุณภาพยา
  5. หมวดบริการ

หมวดสถานที่

  • สถานที่ขายยาต้องมีความแข็งแรงก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทนถาวรเป็นสัดส่วน ถูกสุขลักษณะ สะอาด และเป็นระเบียบ
  • ติดเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในร้านและต้องควบคุมอุณหภูมิภายในบริเวณให้บริการและพื้นที่เก็บยาไม่ให้เกิน 30 องศาเซลเซียส และต้องมีหลักฐานลงบันทึกประจำวัน
  • ไม่มีสิ่งก่อความชื้นในร้านเช่น ตู้ปลา แอร์น้ำ ไม้ถูพื้น เป็นต้น
  • ใช้แสงสีขาว (day light) มีความสว่างเพียงพอต่อการอ่านฉลากยา
  • มีป้ายแสดงตนของเภสัชกร ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
  •  ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ต้องอยู่ใน “พื้นที่ให้บริการโดยเภสัชกร” เท่านั้น และมีม่านปิดบังส่วนนี้เมื่อไม่มีเภสัชกรให้บริการ
  • มีป้ายบอกประเภทยา เช่น ยาทาภายนอก ยาสามัญประจำบ้าน ยาล้างแผลทำแผล เป็นต้น
  • ต้องแยกพื้นที่สำรองยาออกจากบริเวณชั้นวางโชว์จำหน่ายยา  พร้อมมีป้ายระบุว่าเป็นพื้นที่สำรองยา
GPP ขั้นที่1

หมวดอุปกรณ์

-มีตู้เย็นสำหรับจัดเก็บยาที่ต้องเก็บรักษาในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และต้องรักษาอุณหภูมิในตู้เย็นให้ได้ 2-8 องศาเซลเซียสพร้อมทั้งต้องบันทึกอุณหภูมิประจำวัน 1-2 ครั้ง ในแบบบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

– ยาที่เก็บในตู้เย็นต้องแยกเก็บในภาชนะปิดมิดชิด เช่นซองซิปใส กล่องพลาสติคมีฝาปิด

– มีถาดนับเม็ดยา 2 ถาดขึ้นไป คือ ถาดนับเม็ดยาทั่วไปและถาดนับยาเพนนิซิลลิน

มีอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตสูงแบบอัติโนมัติ  เครื่องชั่งน้ำหนัก

หมวดคุณภาพยา

  • ต้องมีการคัดเลือกยาและจัดหายาจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า จำหน่ายถูกต้องตามกฏหมายและมีมาตรฐาน
  • มีระบบส่งคืนและทำลายยาหมดอายุ และตรวจสอบคุณภาพยาอย่างสม่ำเสมอ

หมวดบริการ

  • จัดให้มีแหล่งอ้างอิงด้านยาที่เหมาะสมและเชื่อถือได้ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงการให้บริการเภสัชสนเทศ
  • การทำกิจกรรมด้านสุขภาพโดยบุคคลกรที่ไม่ใช่เภสัชกรในร้าน ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเภสัชกร และถือเป็นความรับผิดชอบของเภสัชกรผู้ควบคุม
  • มีระบบกำกับ ติดตาม และ ตรวจสอบยาหมดอายุ
  • ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ในร้าน
ยาหมดอายุ

บันได GPP ขั้นที่ 2  มี 4 หมวด

1.หมวดสถานที่

2.หมวดอุปกรณ์

3.หมวดบุคลากร

4.หมวดบริการ

หมวดสถานที่ 

  • จุดให้บริการโดยเภสัชกรและจุดให้คำปรึกษาแนะนำด้านยามีพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร มีด้านที่สั้นที่สุดไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  • พื้นที่สำรองยาเป็นระเบียบ ไม่วางยาสัมผัสพื้นโดยตรง
  • สถานที่ขายยาต้องมีทะเบีนบ้านที่ออกโดยส่วนราชการ กรณีเป็นอาคารชุดต้องเป็นพื้นที่อนุญาตให้ประกอบกิจการไม่ใช่ที่พักอาศัย

หมวดอุปกรณ์

  • มีอุปกรณ์วัดส่วนสูงสภาพดี 1 ชุด
  • มีถังดับเพลิงติดตั้งไว้ในลักษณะหยิบใช้งานสะดวก คือ มีพื้นที่ว่างรอบๆ 30 เซนติเมตรขึ้นไป วางสูงจากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตร

หมวดบุคลากร

  • พนักงานผู้ช่วยเภสัชกรมีความรู้เรื่องกฎหมาย มีการอบรมความรู้อย่างต่อเนื่อง
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจนระหว่างเภสัชกรและผู้ช่วยเภสัชกร

หมวดบริการ

  • การให้บริการทางเภสัชกรรม การส่งมอบยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษต้องอยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของเภสัชกร
  • ซองยามีรายละเอียด ดังนี้

*ชื่อร้าน ที่อยู่ บอร์โทรศัพท์ติดต่อ

* ชื่อยา

*ชื่อผู้ใช้ยา

* ข้อบ่งใช้

*วิธีใช้ยา

* คำแนะนำ/คำเตือน

-มีการคัดกรองสื่อโฆษณาที่ถูกกฎหมาย สำหรับจัดวางในร้าน โดยต้องมีการปรึกษาเภสัชกรด้วย เพื่อป้องกันการโฆษณณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค

บันได GPP ขั้นที่ 3

หมวดสถานที่

  • ต้องมีบริเวณสำหรับให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ยาและมีอุปกรณ์พร้อม เช่นโต๊ะ เก้าอี้ พร้อมป้ายแสดงบริเวณให้คำแนะนำปรึกษา  โดยควรเป็นสัดส่วนชัดเจนเฉพาะไม่ปะปนกับบริเวณจำหน่ายยา

หมวดคุณภาพยา

  • จัดทำบัญชียาตามกฎหมาย

* บัญชีซื้อยา  (ข.ย.9)

* บัญชีขายยาอันตราย (ข.ย.11)

* บัญชีขายยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.10)

* บัญชีขายยาตามใบสั่งแพทย์ (ข.ย.12)

พื้นที่ให้ปรึกษา
councelling

สรุป

ภายในปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป หากร้านขายยาแผนปัจจุบันใดก็ตาม (ไม่มียกเว้น ทุกร้าน)ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพที่ดีร้านขายยา (GPP ) หรือหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม ผู้อนุญาตขายยา(หน่วยราชการ) มีสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตขายยาหรือไม่อนุญาตให้เปิดร้านขายยาได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า