สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ไปทั่วโลกขณะนี้ ในแต่ละประเทศจะมีนโยบายควบคุมโรคและแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตัวนี้แตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมในประเทศนั้นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านทรัพยากร บุคคลากรและองค์ความรู้ด้านการแพทย์
ในประเทศไทยกระทรวงสาธาณสุข โดยกรมการแพทย์ร่วมกับสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิชาการต่างๆ ได้จัดทำแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรน่า2019 เพื่อเป็นแนวทางให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ใช้ประกอบการตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วย โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ
1.ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี การดูแลและใช้ยารักษาแบ่งเป็น 4 ระดับ
2.ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่(น้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม)การดูแลและใช้ยารักษาแบ่งเป็น 4 ระดับ
แนวทางการรักษา คือ แนวทางการดูแลและการใช้ยารักษาผู้ที่มีผลตรวจยืนยันทางห้องแลปว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 ทุกคนรวมทั้งหมดตั้งแต่ผู้ที่มีอาการและไม่แสดงอาการ
สารบัญ
- การตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19เพื่อหาผู้ติดเชื้อ
- ยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อ COVID 19
- แนวทางการดูแลและใช้ยารักษา Covid 19 ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ 4 ระดับ
- แนวทางการดูแลและใช้ยารักษา Covid 19 ในผู้ป่วยเด็ก 3 ระดับ
- สรุป
การตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19เพื่อหาผู้ติดเชื้อ
การแพร่และการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 19 จะขึ้นอยู่กับ ปริมาณเชื้อ ระยะห่างจากผู้ติดเชื้อ และภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้ามีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เชื้อไวรัสตัวนี้มีระยะฟักตัวจนถึงแสดงอาการอยู่ระหว่าง 4-12 วัน
การวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการจะมีความแม่นยำมากขึ้น ถ้าคนไข้มีอาการ มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
หลักการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การค้นหาผู้ที่เป็นโรคหรือติดเชื้อและแยกผู้ป่วยออกจากประชากรที่ยังไม่ติดเชื้อให้เร็วและมากที่สุด ตลอดจนควบคุมและกำจัดเชื้อในผู้ป่วยไม่ให้แพร่ระบาดออกไป สำหรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาผู้ติดเชื้อไวรัสCOVID-19 แบ่งเป็น 2 แบบดังนี้
อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก : ไวรัสCOVID-19
แบบที่ 1 การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส ( Nucleic acid amplification test,NAAT) มี 2 วิธี
- Real Time RT-PCR
- Rapid NAAT
แบบที่ 2 การตรวจหาภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology test) มี 2 วิธี
- ELISA
- Rapid diagnostic test kit
Real Time RT-PCR
RT-PCR ย่อมาจาก Reverse Transcription Polymerase Chain Reaction
Polymerase คือ เอนไซม์ที่ทำให้เกิดการต่อสายDNAหรือRNAจากสายเดิม
Chain reaction คือ ปฏิกิริยาลูกโซ่
PCR คือ ปฏิกิริยาที่มีการสร้างสาย Nucleotide (สายยีนหรือสายพันธุกรรม) ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
วิธีนี้เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโรคแนะนำเพราะมีความไวและความแม่นยำสูงสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยได้ การตรวจจะใช้การเก็บสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจส่วนล่างมากกว่าส่วนบน เพราะจะได้ปริมาณเชื้อไวรัสที่มีปริมาณมากกว่าเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจ โดยจะต้องเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งนี้ในระบบเก็บความเย็นและส่งตรวจในห้องปฏิบัติการเฉพาะ (Lab) ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 3-5 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2,500-10,000 บาท เป็นวิธีตรวจมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษาตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรคและใช้ติดตามผลการรักษาได้
Rapid NAAT
ชื่อเต็มคือ Rapid Nucleic acid amplification test เป็นวิธีที่ใช้หลักการเดียวกันกับวิธี Real Time RT-PCR การตรวจต้องใช้ตัวอย่างสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจส่วนล่างและต้องทำในห้องปฏิบัติการเฉพาะ (Lab) แต่จะมีความไวและแม่นยำน้อยกว่าบ้างเล็กน้อย แต่ใช้เวลาในการตรวจน้อยกว่าคือ 50-65 นาทีเท่านั้น ค่าใช้จ่ายประมาณ 600-700 บาทเท่านั้น
ELISA
ชื่อเต็มคือ Enzyme-Linked Immunosorbent Assay เป็นวิธีที่ใช้หลักการที่อาศัยปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี้ หรือการตรวจหาภูมิคุ้มกันแอนติบอดี้ (IgM&IgG) การตรวจวิธีนี้ทำได้หลังจากได้รับเชื้อมาแล้วสักระยะหนึ่งประมาณ10-14 วัน หรือเริ่มมีอาการป่วย 5-7 วัน ถ้าได้ผลบวกต้องตรวจยืนยันโดยวิธีมาตรฐานอีกครั้ง แต่ถ้าได้ผลลบอาจจำเป็นนต้องกลับมาตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง
แอนติเจน (antigen) คือ สิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพที่สามารถชักนำกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ (antibody) และตัวมันเองจะทำปฏิกิริยาจำเพาะกับแอนติบอดี้นั้นๆ
แอนติบอดี้(antibody) คือ โปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจากพลาสมาเซลล์เมื่อมันถูกกระตุ้นโดยแอนติเจน
การตรวจต้องใช้สารตัวอย่างคือเลือดของกลุ่มตัวอย่างและส่งตรวจในห้องปฏิบัติการเฉพาะ (Lab) ใช้เวลาประมาณ 90 นาที ค่าใช้จ่ายประมาณ 600-1200.-ต่อครั้ง แต่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้หลายตัวอย่างต่อครั้ง จึงเป็นวิธีที่เหมาะกับการตรวจศึกษาระบาดวิทยามากกว่าตรวจวินิจฉัย ทำให้สอบสวนหาแหล่งกำเนิดและที่มาของการแพร่ระบาดของเชื้อได้
Rapid Diagnostic Test Kit
เป็นวิธีที่ใช้หลักการเหมือน ELISA แต่สะดวกกว่ามากเพราะไม่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการเฉพาะ ไม่ต้องใช้บุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะ ใช้เวลาน้อยมากแค่ 15 นาที ค่าใช้จ่ายประมาณ 300-500 บาทต่อครั้ง เป็นวิธีที่นำมาใช้เพื่อควบคุมโรคเชิงรุกได้อย่างดีเพราะจะเป็นการมือคัดกรองหาผู้ติดเชื้อเบื้องต้นอย่างรวดเร็วได้ตลอดจนใช้สำหรับศึกษาระบาดวิทยาของโรคเช่นเดียวกับ ELISA
Chula COVID-19 Strip Test หรือ BAIYA Rapid Covid-19 IgM/IgG test kit เป็นเครื่องมือชุดทดสอบที่คิดค้นโดยอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้การเก็บตัวอย่างเลือดจากปลายนิ้ว
(รายละเอียดดูเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ >Chula Covid-19 strip test รู้ผลใน 10 นาที )
วิธีการตรวจแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันตั้งแต่การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อ ความแม่นยำเที่ยงตรงในแต่ละวิธีมีปัจจัยเรื่องช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อด้วย มาตรฐานของเครื่องมือและน้ำยาตรวจก็เป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ น้ำยาตรวจที่มาจากแหล่งผลิตต่างกันจะให้ผลที่แตกต่างกัน การแปลผลและสรุปผลตรวจต้องทำโดยบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น
ยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อ COVID 19
การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการให้ยารักษาตามอาการ แต่ในผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ หรือ เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง จะให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส และพิจารณาให้ Corticostearoid ร่วมด้วยกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงมาก
การให้ยาต้านไวรัสตามแผนการรักษาปัจจุบัน จะให้เร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพราะกระบวนการตืชิดเชื้อในช่วงเริ่มต้นจะเกิดการจำลองตัวไวรัส การให้ยาในระยะแรกๆของการติดเชื้อ ช่วยลดระยะเวลาการแสดงอาการของโรคได้ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมี 2 ตัว คือ
- ยารับประทาน Favipiravir
- ยาฉีด Remdesivir
ในการรักษาระยะท้ายๆของการติดเชื้อ อาจมีการให้ยากดภูมิคุ้มกันหรือยาต้านการอักเสบ เพื่อลดการทำลายเนื้อเยื่อจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบที่มากเกินไป
Favipiravir
ฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสที่ถูกพัฒนาและผลิตในประเทศญี่ปุ่น สำหรับการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และอีโบลา
ข้อมูลย้อนหลังของการรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย พบว่าการให้ยา favipiravir ภายใน 4 วันนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้
ยาอยู่ในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน เม็ดละ 200 มก. สามารถบดและแบ่งได้ ยาถูกกำจัดออกทางไต ขนาดยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสแต่ละชนิดมีความหลากหลาย
การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขนาดยาที่แนะนำโดยกรมการแพทย์เป็นดังนี้
- ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่น้ำหนักตัวน้อยว่า 90 กิโลกรัม :
วันแรก 200 มก.ครั้งละ 9 เม็ด วันละ 2 ครั้ง วันต่อไป 200 มก.ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 2 ครั้ง - ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่น้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม :
วันแรก 200 มก. ครั้งละ 12 เม็ด วันละ 2 ครั้ง วันต่อไป 200 มก. ครั้งละ 5 เม็ด วันละ 2 ครั้ง - ผู้ป่วยเด็ก :
วันแรก ขนาดยา 60 มก./นำ้หนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน แบ่งให้ 2 ครั้ง
วันต่อไป ขนาดยา 20 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน แบ่งให้ 2 ครั้ง
พบอาการไม่พึงประสงค์ของยา favipiravir คือ ท้องเสีย เอนไซม์ตับสูง จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
ยามีข้อห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร การใช้ในหญิงมีครรภ์มีโอกาสเกิดพิษต่อทารกในครรภ์
การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ร่วมกับ Paracetamol จะเพิ่มความเสี่ยงต่อตับ หากให้ยาร่วมกัน จำกัดขนาดยาสูงสุดของ paracetamol ที่ 3 กรัมต่อวัน
Remdesivir
รีเด็มซาเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสเพียงชนิดเดียวที่สำนักงานอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้การรับรองสำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 40 กิโลกรัม
Remdesivir มีเฉพาะรูปแบบยาฉีด เนื่องจากยาไม่ถูกดูดซึมบริเวณทางเดินอาหาร ผลิตภัณฑ์ยาฉีดมี 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบผงแห้ง 100 มก.ที่ต้องละลายก่อนใช้
- รูปแบบสารละลายยาฉีด 100 มก.ในปริมาตร 20 มล.
ยาทั้ง 2 รูปแบบต้องนำไปเจือจางด้วยสารละลายน้ำเกลือ 0.9 % ก่อนหยดเข้าหลอดเลือดดำ หลังเจือจางแล้วยามีความคงตัว 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และ 48 ชั่วโมงที่ อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส
ขนาดยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อ COVID 19 ในประเทศไทยและแนะนำโดยกรมการแพทย์ คือ
- ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่
วันแรก ให้ยาขนาด 200 มก.ต่อวัน วันต่อไป ให้ยาขนาด 100 มก.ต่อวัน หยดทางเส้นเลือดดำนาน 30-120 นาที่ ทุก 24 ชั่วโมง - ผู้ป่วยเด็ก
วันแรก ให้ยาขนาด 5 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม /วัน วันต่อไป 2.5 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม /วัน หยดทางเส้นเลือดดำนาน 30-120 นาที่ ทุก 24 ชั่วโมง
ควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ และแนะนำตรวจค่าเอนไซม์ตับก่อนเริ่มยา เนื่องจากยาเพิ่มระดับเอนไซม์ตับได้
การศึกษาการใช้ยาในผู้หญิงตั้งครรภ์ พบว่ามีความปลอดภัยและไม่มีพิษต่อทารกในครรภ์ การใช้ยาในเด็กแรกเกิด ยังไม่พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ถ้ามีความจำเป็นพิจารณาให้ยาในหญิงให้นมบุตรได้ แต่ต้องระมัดระวังการใช้
การรักษาของประเทศไทยในปัจจุบัน จะใช้ Favipiravir เป็นอันอับแรกในผู้ป่วยทุกระยะ และจะพิจารณาใช้ยา Redemsivir ในผู้ป่วยปอดบวมรุนแรง มีปัญหาด้านการดูดซึมยา ไม่สามารถใช้ยารูปแบบรับประทานได้ ในหญิงต้้งครรภ์ หญิงให้มบุตร หรือในผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาอื่นหลังให้ยาไป 72 ชั่วโมง แต่มีข้อห้ามใช้ Remdesivir ร่วมกับ Favipiravir
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid -19)
แนวทางการดูแลและใช้ยารักษา Covid 19 ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ 4 ระดับ
-ระดับที่ 1 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ( Asymptomatic Mild case)
-ระดับที่ 2 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีโรคร่วม ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ( Mild case )
-ระดับที่ 3 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการรุนแรงน้อยแต่มีภาวะความเสี่ยง มีโรคร่วม หรือมีภาวะปอดบวมเล็กน้อย( Mild case in high risk group )
-ระดับที่ 4 การดูแลรักษาผู้ป่วยยืนยันมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง( Pneumonia case )
ระดับที่ 1 ผู้ป่วย Covid-19ที่ไม่มีอาการ
-ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะความเสี่ยง ไม่มีอาการรุนแรง ให้รักษาตามอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากในกลุ่มนี้หายเองได้
-ต้องเฝ้าระวังติดตามใกล้ชิดในโรงพยาบาลหรือในสถานที่รํฐจัดให้ 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ
-หลังจากวันที่ 14 อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แต่แนะนำให้สวม surgical mask ตลอดจนครบ 30 วันนับจากวันที่เริ่มป่วย ในระหว่างนี้ต้องดูแลสุขภาพตนเองเป็นพิเศษรวมถึงการเว้นระยะห่างจากบุคคลในครอบครัวด้วย
ระดับที่ 2 ผู้ป่วย Covid-19ที่มีอาการไม่รุนแรง
-การดูแลเฝ้าระวังติดตามเหมือนกรณีที่ 1 ทุกประการ และ พิจารณาให้ favipiravir ตามดุลยพินิจของแพทย์
ระดับที่ 3 ผู้ป่วยCovid-19ที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีภาวะความเสี่ยง
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
-อายุมากว่า60ปี
-มีเม็ดเลือดขาว Lymphocyteในเลือดต่ำ
-มีภาวะเกี่ยวกับโรคปอดเรื้อรังอยู่
-มีภาวะเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังอยู่
-มีภาวะหัวใจล้มเหลว
-มีภาวะอ้วน
-มีภาวะโรคตับแข็ง
-มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่นๆอยู่
1.แนะนำให้นอนโรงพยาบาล 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการ หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น
2.ให้เริ่มยา favipiravir เร็วที่สุด นาน 5 วัน หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับอาการว่ารุนแรงมากหรือน้อย จนกว่าอาการจะดีขึ้น
3. อาจพิจารณาให้ corticostearoid ร่วมกับ favipiravir ถ้าผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงหรือมีภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง
ระดับที่ 4 ผู้ป่วย Covid-19ที่มีภาวะปอดถูกทำลายรุนแรง มีภาวะความเสี่ยงร่วมด้วย
- แนะนำให้ favipiravir 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
- อาจพิจารณาให้ lopinavir/ritonavir 5-10 วัน ร่วมด้วย ตามดุลยพินิจของแพทย์
- แนะนำให้ corticostearoid ร่วมด้วย
- ในผู้ป่วยโรคตับทำงานบกพร่องต้องมีการปรับขนาดยา favipiravir ลดลง แต่ไม่ต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มนี้ ยาตัวนี้อาจมีผลทำให้เกิดการแพ้แบบรุนแรงได้ในผู้ป่วยบางราย และทำใหตับอักเสบ ไตอักเสบเฉียบพลันได้
การรักษาด้วยยา Favipiravir พบว่าสามารถลดปริมาณเชื้อได้เร็วกว่ายาต้านไวรัสตัวอื่นๆ ทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว ลดอัตราการเข้าห้องICU และลดอัตรากาตายได้ถึง 68 เปอร์เซ็นต์ และลดอาการป่วยเรื้อรังหลังหายจากโรคได้อย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากผู้ป่วยโรคติดเชื้อCOVID 19 หลังจากรักษาจนหายไม่มีเชื้อ ไม่มีไข้ ประมาณ 7-10 วันแล้ว จะมีอาการปวดเมื่อย อ่อนล้า อ่อนเพลีย คล้ายกับตอนป่วยติดเชื้อ อยู่ได้ประมาณ 2-6 เดือน
ยา Favipiravir ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ นอกจากนี้ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มโรคเกาต์หรือผู้ที่มีระดับกรดยูริคในเลือดสูง ผู้ป่วยเด็ก และ ผู้ป่วยหญิงให้นมบุตรด้วย
แนวทางการดูแลและใช้ยารักษา Covid 19 ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี
-ระดับที่ 1 ผู้ป่วยเด็กไม่มีอาการ
-ระดับที่ 2 ผู้ป่วยเด็กอายุ อาการไม่รุนแรง ไม่มีภาวะปอดอักเสบ
-ระดับที่ 3 ผู้ป่วยเด็กที่อาการไม่รุนแรง แต่มีภาวะเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วย
-ระดับที่ 4 ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการรุนแรง มีภาวะปอดอักเสบ
ระดับที่ 1
- แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ระดับที่ 2
- แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการ
- พิจารณาให้ Favipiravir 5 วัน
ระดับที่ 3
- แนะนำใหเ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ระดับที่ 4
- แนะนำให้ favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน
- อาจพิจารณาให้ lopinavir/ritonavir ร่วมด้วยเป็นเวลา 5-10 วัน
- แนะนำให้ corticostearoid ร่วมด้วย
สรุป
แนวทางการใช้ยารักษาโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19ในปัจจุบันยังไม่มีสูตรยาแน่นอน หลักการคือปรับยารักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่มีการใช้ยาต้านไวรัสเป็นหลักร่วมกับยาปฏิชีวนะ โดยขึ้นอยู่กับว่าสายพันธุ์ของไวรัสชนิดนั้นไวต่อการถูกกำจัดด้วยยาตัวใดมากที่สุดมีประสิทธิภาพดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขความปลอดภัยในการใช้มากที่สุดด้วย
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกเด็กเล็ก
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา