กัญชง…พืชเศรษฐกิจไทยน่ารู้

กัญชง

หลายคนอาจเคยได้ยิน น้ำมันกัญชา ที่มีกระแสในโลกออนไลน์กับการนำมาใช้ในวงการทางการแพทย์กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังมีอีกหลายคนที่อาจไม่รู้จัก กัญชง พืชที่ชื่อคล้ายกับกัญชาจนหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า กัญชงก็คือกัญชา  แต่ความจริงแล้วแม้ว่าลักษณะภายนอกจะคล้ายคลึงกันมาก แต่กัญชงมีคุณสมบัติและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปจนถูกปลดล็อคเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน

กัญชง (Hemp) คือ พืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับกัญชา มีลักษณะคล้ายคลึงกับกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กัญชงมีสาร THC ในปริมาณน้อยจึงไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือเสพติด แต่มีประโยชน์ในด้านการแพทย์และอื่นๆ

กัญชง

สารบัญ

กัญชงกับกัญชา เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

ทั้งคู่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากพืชชนิดเดียวกัน โดยมีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่น ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรียของประเทศเปอร์เซีย แคว้นแคชเมียร์ของประเทศอินเดีย และในทางตอนเหนือของประเทศจีน จนได้สายพันธุ์ที่มีความแตกต่างไปจากสายพันธุ์เดิมแล้วเกิดเป็นพืชที่เรียกว่า “กัญชง”

โดยต้นกัญชง หรือ Hemp จะมีลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ปล้องหรือข้อยาว แตกกิ่งก้านน้อยและแตกกิ่งไปในทิศทางเดียวกัน เปลือกให้เส้นใยยาว แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อยทำให้ผู้เสพรู้สึกปวดหัวได้ มีสาร Tetrahydrocannabinol (THC) น้อยกว่า 0.3% และมีสาร Cannabidiol (CBD) ในปริมาณมาก

ในขณะที่ต้นกัญชา หรือ Marijuana จะมีความสูงไม่ถึง 2 เมตร ปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งก้านมากและแตกกิ่งเป็นแบบสลับ เปลือกให้เส้นใยสั้น แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ใบมีประมาณ 5-7 แฉก การเรียงตัวของใบจะชิดกัน ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีสาร THC ประมาณ 5-20% และมีสาร CBD ในปริมาณน้อยกว่ากัญชง

 

แคนนาบิส

 

สารประกอบทางเคมีที่พบในกัญชงและกัญชา แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ Cannabinoids, Terpenoids และ Flavonoids

สารสำคัญในกัญชงและกัญชา ที่มีการกล่าวถึง 2 ชนิด ได้แก่

  • สาร Tetrahydrocannabinol (THC): มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือเสพติดได้ แต่อย่างไรก็ดีการศึกษาวิจัยทางการแพทย์พบว่า สาร THC อาจสามารถนำมาช่วยรักษาอาการและโรคต่างๆ เช่น ลดอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดอาการปวดแบบเรื้อรัง เป็นต้น
  • สาร Cannabidiol (CBD): ไม่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท จึงไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือเสพติด สามารถนำมาช่วยรักษาอาการและโรคต่างๆ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวช้า โรคไขข้ออักเสบ โรคลมชัก ลมบ้าหมู โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคพาร์กินสัน ลดการอักเสบ สิว ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการวิตกกังวล ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และโรคลำไส้แปรปรวน

สารทั้งสองชนิดมีสูตรโมเลกุล คือ C21H30O2 และมวลโมเลกุลเท่ากันคือ 314 กรัมต่อโมล แต่โครงสร้างโมเลกุลแตกต่างกันคือ THC มีโครงสร้างวงแหวน 3 วง และ CBD มีโครงสร้างวงแหวน 2 วง ทั้งนี้สามารถจำแนกออกจากกันโดยใช้การพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีด้วยเทคนิค Thin layer chromatography (TLC) รวมถึงการวิเคราะห์ปริมาณด้วยเทคนิค Gas chromotography (GC)

นอกจากสารสำคัญทางสองชนิดแล้ว มักพบ Cannabinol (CBN) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการสลายตัวของ THC ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอ่อนกว่า THC ด้วย

 

โครงสร้าง

 

กัญชงมีสาร THC ในปริมาณน้อยและมีสาร CBD ในปริมาณมาก ดังนั้นสารประกอบที่สกัดได้จากกัญชงจึงไม่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ความแตกต่างระหว่างกัญชงกับกัญชา

สาร THC

กฎหมายว่าด้วยเรื่องกัญชง

จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ลงราชกิจจานุเบกษา ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 เป็นต้นมา ได้ระบุถึงการปลดล็อคส่วนของกัญชงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติดนั้นว่าส่วนของกัญชงที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ประกอบไปด้วย

  • เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
  • ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
  • สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบและต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนัก
  • เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
  • กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2%โดยน้ำหนัก

ดังนั้นส่วนที่ยังถือว่าเป็นยาเสพติด คือส่วนของช่อดอกกัญชง

 

กฎหมายกัญชงกัญชา

 

ส่วนเรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองกัญชงนั้น กฎกระทรวงได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หน่วยราชการ วิสาหกิจชุมชนหรือภาคเอกชน ขออนุญาตผลิต ซึ่งทำได้ใน 2 รูปแบบคือ ปลูกและสกัด ขออนุญาตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายได้ แต่เน้นย้ำว่าต้องขออนุญาตก่อน โดยวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น

  • เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานรัฐ
  • เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัวเท่านั้น ทั้งนี้ มีพื้นที่ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกินหนึ่งไร่
  • เพื่อประโยชน์ในเชิงพานิชย์หรืออุตสาหกรรม
  • เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์
  • เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์
  • เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง
สินค้า

คลิ๊กดูสินค้าของเรา

เภสัชกร

เกี่ยวกับเภสัชกร

ร้านของเรา

เราช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง

กฎหมาย
ต้นกัญชง

ประโยชน์จากกัญชง

สรรพคุณทางยาของกัญชง

สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ โดยมีข้อมูลในการใช้จากส่วนต่างๆ ดังนี้

ส่วนของใบ

  • มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบาย
  • ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะหรือไมเกรน
  • ช่วยแก้กระหาย
  • ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด
  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ
  • รักษาโรคเกาต์

ส่วนของเมล็ด

  • ใช้เมล็ดสดเป็นยาสลายนิ่ว โดยนำเมล็ดมาเคี้ยวสดๆ

 

ประโยชน์จากกัญชง

 

ประโยชน์ของกัญชงในด้านต่างๆ

ส่วนของเมล็ด

  • สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในน้ำมันจากเมล็ดนั้นมีโอเมก้า 3 สูงมาก นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 6, โอเมก้า 9, linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้
  • น้ำมันจากเมล็ดสามารถไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทำสบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู สบู่ โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิปบาล์ม หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลดี
  • เมล็ดมีโปรตีนสูงสามารถนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นม ไอศกรีม น้ำมันสลัด อาหารว่าง อาหารเสริม ฯลฯ หรือผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นทางเลือกในการบริโภคแทนถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืช GMOs ได้

ส่วนของลำต้น

  • เปลือกจากลำต้นให้เส้นใยเพื่อนำไปใช้ทำเป็นเส้นด้ายและเชือก ใช้สำหรับการทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่มต่างๆ
  • เนื้อของลำต้นที่ลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้
  • แกนของต้นกัญชงจะมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำหรือน้ำมันได้ดี นิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้, Alcohol, Ethanol, Methanol นอกจากนี้แกนกัญชงยังถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์
  • กัญชงจัดเป็นเส้นใยมงคลที่ชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาตัดกิโมโน เพราะเป็นผ้าที่มีความทนทานนับร้อยปี

ส่วนของใบ

  • สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นอาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมไปถึงการนำมาเป็นผงผสมกับสารอาหารอื่น ๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริม และยังใช้ประโยชน์โดยนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ประโยชน์ของกัญชง

สรุป

ถึงแม้ลักษณะภายนอกจะคล้ายกับกัญชา แต่กัญชงมีสาร THC น้อยกว่า 0.3% จึงไม่มีฤทธิ์ที่ทำให้มึนเมา ส่วนต่างๆของต้นกัญชงยกเว้นช่อดอกไม่เป็นยาเสพติด ทุกภาคส่วนสามารถปลูกกัญชงได้ แต่ต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง กัญชงมีสาร CBD ในปริมาณมากจึงสามารถนำมาใช้บรรเทาอาการหรือรักษาโรคได้ และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในแง่อุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์

ดังนั้นปัจจุบันจึงถือได้ว่ากัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งของไทยที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมเส้นใย อาหารและเครื่องสำอางที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศไทยได้

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า