การบำบัดโรคเสพยาสูบแบบไม่ใช้ยา

behavioral therapy

โดยทั่วไป การดูแลรักษาโรคติดบุหรี่ให้ได้ผลสูงสุด ต้องอาศัยหลายแนวทาง คือทั้งแบบไม่ใช้ยาที่เรียกว่า พฤติกรรมบำบัด และแบบที่ใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่  ร่วมกันเสมอเพื่อให้ได้อัตราความสำเร็จสูงสุดคือประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์

การรักษาด้วยแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวนั้นมีโอกาสสำเร็จน้อยกว่าการใช้หลายๆแนวทางร่วมกันอย่างชัดเจน  กระบวนการให้คำแนะนำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่โดยบุคลากรทางการแพทย์จึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากไม่น้อยไปกว่าความตั้งใจมุ่งมั่นของตัวผู้ป่วยเอง

หยุดการใช้บุหรี่

สารบัญ

แนวทางการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่แบบไม่ใช้ยา

กระบวนการให้บริการเลิกบุหรี่ มีหลักการที่สำคัญคือ ต้องประเมินผู้สูบบุหรี่ว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด เพื่อที่ผู้ดูแลจะจัดการเรื่องการตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วยและวางแผนวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคน

แนวทางการรักษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงปัญหาการเสพติดนิโคตินและวิธีการรับมือกับอาการถอนนิโคติน ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วย  :-

  • แนวทางการบำบัดผู้ป่วยติดบุหรี่ด้วยเทคนิค 5A
  • การประเมินความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วย
  • การวางแผนการเลิกบุหรี่ด้วยเทคนิค STAR
  • การสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ด้วยเทคนิค 5R
  • การป้องกันการกลับไปสูบบุหรี่ซ้ำ ด้วยเทคนิค 5D

แนวทางเลิกบุหรี่

แนวทางการบำบัดด้วยเทคนิค 5A

เทคนิค 5A คือ

  • Ask : การถามและบันทึกประวัติการเสพผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิด
  • Advise : การแนะนำให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ทุกชนิดโดยเด็ดขาด
  • Assess : การประเมินความรุนแรงในการติดบุหรี่และความตั้งใจในการเลิกสูบ
  • Assist : การช่วยเหลือและบำบัดอย่างเหมาะสมเพื่อให้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ
  • Arrange : การติดตามผลการบำบัดของผู้ป่วยทุกราย

1.ASK : –

คือ การสอบถามสถานะของการเสพยาสูบทุกชนิดของผู้ที่เข้ามารับบริการที่สถานบริการสุขภาพทุกระดับ ทุกแผนก และบุคคลในครอบครัวทุกราย โดยบันทึกข้อมูลนี้ลงในเวชระเบียนของผู้ป่วยด้วย เช่น ยังสูบบุหรี่อยู่ เคยสูบบุหรี่แต่เลิกสูบมาแล้วนานเท่าใด หรือไม่เคยสูบบุหรี่เลย

2.Advise :-

คือ การแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด ด้วยการสื่อสารเป็นภาษาพูดที่ชัดเจน ตรงประเด็น และเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย

3.Assess :-

การประเมินเกี่ยวกับแรงจูงใจหรือความพร้อม ความตั้งใจ ของผู้ป่วยในการเลิกสูบบุหรี่  และ ประเมินความรุนแรงในการเสพติดบุหรี่

  1. การประเมินความพร้อมของผู้ป่วยในการเลิกบุหรี่โดยใช้ ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ( The transtheoretical model or stage of change)

ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1.1 ใช้คำถาม 2 ข้อ

คำถามที่ 1 คุณวางแผนที่จะเลิกบุหรี่ในอีก 6 เดือนข้างหน้าใช่หรือไม่?

  • ตอบว่า ไม่ใช่ แสดงว่า ผู้ป่วยอยู่ในขั้นไม่สนใจและไม่พร้อมเลิกบุหรี่(precontemplation)
  • ตอบว่า ใช่ ให้ดูคำถามข้อที่ 2

คำถามที่ 2 คุณวางแผนที่จะเลิกบุหรี่ในอีก 1 เดือนข้างหน้าใช่หรือไม่ ?

  • ตอบว่า ไม่ใช่ แสดงว่า ผู้ป่วยอยู่ในขั้นลังเลใจ (contemplation)
  • ตอบว่า ใช่ แสดงว่า ผู้ป่วยอยู่ในขั้นพร้อมจะเลิกบุหรี่ (preparation)

ตารางขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ระดับความพร้อมเลิกบุหรี่

1.2 ใช้บันไดความพร้อมเลิกบุหรี่ ( The readiness to quit ladder)

ใหผู้ป่วยเลือกข้อที่ตรงกับความคิดของตัวเองมากที่สุด เพียงข้อเดียว

ตารางบันไดความพร้อมเลิกบุหรี่

บันไดความพร้อมเลิกบุหรี่

2.ประเมินความรุนแรงของการเสพติดบุหรี่ โดยใช้ FTND หรือ HIS

  • FTND : Fagerstrom test level of nicotine dependence
  • HIS : Heaviness of Smoking index

ซึ่งจะเป็นการวัดระดับการเสพติดนิโคติน เพื่อประเมินว่า ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างไรจึงจะเหมาะสม

การแปลผลคะแนนประเมินการเสพติดนิโคติน เป็นดังนี้

0-3 คะแนน : ติดนิโคตินระดับต่ำ

4-6 คะแนน : ติดนิโคตินระดับปานกลาง

7-10 คะแนน : ติดนิโคตินระดับสูง

ตาราง FTND

ประเมินเสพติดนิโคติน

ตาราง HSI

ตารางประเมินการติดบุหรี่

สนใจอ่านเพิ่มเติมที่ : การเลิกสูบบุหรี่

4.Assist :-

ขั้นตอนการช่วยเหลือและบำบัดนี้ จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ เพื่อการดูแลให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ

กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินแล้วว่า อยู่ในขั้นตัดสินใจและเตรียมพร้อมเลิกบุหรี่ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการดูแลด้วยเทคนิค STAR

กลุ่มที่ 2 คือผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินแล้วว่า ยังอยู่ในช่วงไม่สนใจและยังลังเลไม่ตัดสินใจเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง  โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการดูแลด้วยเทคนิค 5R

สินค้าลดราคา
สินค้าเข้าใหม่

เทคนิค STAR

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มที่ผู้ป่วยที่มีตัดสินใจและมีความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่ บุคลากรทางการแพทย์ จะยึดหลักการรักษาเบื้องต้น ดังนี้

  • เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ร่วมวางแผนการรักษาโรคติดบุหรี่กับผู้ดูแล เพื่อให้การบำบัดเกิดประสิทธฺภาพสูงสุด
  • ผู้ดูแลจะกำหนดวันเลิกสูบบุหรี่ที่แน่นอนในการเลิกสูบบุหรี่เด็ดขาดร่วมกับผู้ป่วย และอธิบายขั้นตอนการบำบัดรักษา ตลอดจนเป้าหมายการรักษาให้ผู้ป่วยเข้าใจและรับทราบ
  • ลักษณะของแผนบำบัด ต้องมีลักษณะที่สามารถปฏิบัติได้จริงทั้งผู้ป่วยและผู้บำบัด

ขั้นตอนนี้ ผู้รักษาจะใช้เทคนิค ที่เรียกว่า STAR  ความหมายคือ :-

  • S : set a target quit date = เลือกวัน

ข้อนี้สำคัญที่สุด คือจะต้องมีการกำหนดวันเลิกสูบบุหรี่ภายใน ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์หลังผู้ป่วยตัดสินใจรักษา  หรือสูงสุดต้องไม่เกิน 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องมีส่วนร่วมด้วย

หลังจากนั้นผู้ดูแลจะเสนอแผนการค่อยๆ ลดจำนวนการสูบบุหรี่ลงเรื่อยๆ จนเป็น 0 ในวันที่กำหนดงดสูบโดยเด็ดขาด

ไม่แนะนำให้ใช้การหยุดสูบทันทีเมื่อถึงกำหนดวันเลิกสูบบุหรี่ เพราะมีการศึกษาแล้วว่ามีโอกาสล้มเหลวสูงมาก

กำหนดวัน

  • T : Tell family and other = ลั่นวาจา

ผู้ดูแล จะแนะนำให้ผู้ป่วยบอกกล่าว คนในครอบครัว เพื่อน ๆ ผู้ร่วมงาน หรือ คนอื่นๆรอบข้างว่ากำลังรักษาโรคติดบุหรี่อยู่ ชี้แจงให้คนรอบข้างเข้าใจพร้อมขอกำลังใจและการสนับสนุนจากทุกๆคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในครอบครัว

ครอบครัว

  • A : Anticipate challenges = พร้อมลงมือ

ขั้นตอนนี้ ผู้ดูแลจะเป็นผู้จัดการความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เมื่อหยุดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด คือการวางแผนรับมือกับอาการถอนนิโคติน ซึ่งจะรุนแรงมากในช่วง 3 วันแรกของการหยุดสูบและจะยังคงมีอาการต่อไปอีกนาน 3-4 สัปดาห์

การเสพติดนิโคตินเป็นอุปสรรคหลักในการเลิกสูบบุหรี่  อาการถอนนิโคตินที่เกิดขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย รู้สึกไม่สบาย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิในการทำงาน

ในขั้นตอนนี้ผู้ดูแลจะสอนผู้ป่วยฝึกการใช้ แผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เรียกว่า เทคนิค 5D เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ซึ่งสามารถใช้ไปจนถึงขั้นตอนป้องกันการกลับไปสูบบุหรี่ซำ้ใหม่ได้

หยุดสูบบุหรี่เด็ดขาด

  • R: Remove all tobacco-related products = ละทิ้งอุปกรณ์

ผู้ดูแล จะบอกกล่าวให้ ผู้ป่วยจัดการกำจัดบุหรี่ ยาสูบทุกชนิด รวมทั้งหมากพลู และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ทั้งหมด  รวมถึงการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นในการสูบบุหรี่ เช่น ไปยังสถานที่ที่เคยสูบบุหรี่ประจำ การดื่มสุรา แอลกอฮอล์

กำจัดอุปกรณ์สูบบุหรี่

สนใจอ่านรายละเอียด : การเตรียมตัวเลิกบุหรี่

เทคนิค 5 R

สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีความพร้อมเต็มที่ในการเลิกสูบบุหรี่ บุคลากรทางการแพทย์จะติดตามให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ ผลดีของการไม่สูบบุหรี่ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า การเลิกสูบบุหรี่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าตั้งใจมุ่งมั่น  เรียกการบำบัดนี้ว่า การใช้เทคนิค 5R

  1. Relevance :
    การชี้ให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ เป็นปัญหาและมีความสัมพันธ์กับปัญหาทางสุขภาพของตัวผู้ป่วยเอง เช่น ฟันผุ แผลในกระเพาะอาหาร ผิวเหี่ยวย่น เป็นต้น
  2. Risks :
    การเน้นย้ำถึงผลเสียจากการสูบบุหรี่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงผลที่จะเกิดแก่คนรอบข้างด้วย
    ผลเสียระยะสั้น เช่น หายใจไม่เต็มอิ่ม
    ผลเสียระยะยาว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง
    ผลของควันบุหรี่มือสองต่อคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กๆในบ้านจะมีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจมากขึ้นชักจูง
  3. Rewards :
    การเน้นย้ำถึงผลดีที่ได้จากการเลิกสูบบุหรี่ โดยเฉพาะสิ่งดีๆที่ผู้ป่วยจะได้รับ เช่น บุคคลิกภาพที่ดูดีขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูก ประหยัดค่าใช้จ่ายมีเงินเก็บมากขึ้น 
  4. Roadblock :
    การกระตุ้นให้ผู้ป่วยระบุหาสาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการเลิกสูบบุหรี่  พร้อมทั้งช่วยหาแนวทางแก้ไขร่วมกับผู้ป่วย เช่น เคยพยายามเลิกแล้วแต่ไม่สำเร็จเพราะไม่มีคนสนับสนุน กังวลเรื่องน้ำหนักตัว เป็นต้น
  5. Repetition :
    การติดตาม สอบถาม ทุกครั้งที่ได้พบผู้ป่วย ถึงความพร้อมในการตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

5.Arrange :-

ขั้นตอนการติดตามผลการักษา ผู้ดูแลจะมีการนัดติดตามผลเป็นขั้นตอนดังนี้

– ครั้งแรกภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้น 2-4 สัปดาห์ ใน 3 เดือนแรกของการรักษา

– จากนั้น จะนัดติดตาม 1-2 เดือน จนครบ 6 เดือน ของการรักษา

– และนัดติดตามอย่างห่างๆ จนกว่าจะครบ 1 ปี

ที่สำคัญมากคือ ผู้ดูแลจะมีการใช้เครื่องตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ หรือ การตรวจวัดระดับสารโคตินีนในปัสสาวะหรือน้ำลาย เพื่อยืนยันผลการรักษาว่าประสบความสำเร็จหรือไม่มากน้อยระดับไหน  เพื่อปรับการวางแผนช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถูกต้องเหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย

เครื่องวัดก๊าซคาร์บอนมอรอกไซด์

โดยทั่วไป จะพบว่ามีลักษณะผู้ป่วยแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  1. ผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่
  2. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ
  3. ผู้ป่วยที่กลับไปสูบบุหรี่ซ้ำใหม่

ซึ่งผู้ดูแลจะวางแนวทางการรักษาใหม่ ที่เหมาะสมในแต่ละกรณี

เทคนิค 5 D

การเสพติดนิโคตินเป็นอุปสรรคหลักในการเลิกสูบบุหรี่  อาการถอนนิโคตินที่เกิดขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย รู้สึกไม่สบาย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิในการทำงาน

ในขั้นตอนช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาดนี้ ผู้ดูแลจะสอนผู้ป่วยฝึกการใช้ แผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เรียกว่า เทคนิค 5D เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ซึ่งเทคนิคนี้ใช้ไปจนถึงขั้นตอนติดตามผู้ป่วยที่มีการกลับไปสูบบุหรี่ซ้ำ

เทคนิค 5D คือ ข้อปฏิบัติเมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่

ยืดเวลาการสูบบุหรี่
  1. Delay : ให้หาวิธียืดหรือเลื่อนเวลาการสูบออกไปก่อน เช่น นับเลข 1-10 ,ล้างหน้า,แปรงฟัน บ้วนปาก,เคี้ยวผลไม้รสเปรี้ยว

2. Deep Breath : การหายใจเข้า-ออก ลึกๆและช้าๆ จำนวน 5-10 ครั้ง จะช่วยให้ผ่อนคลาย

3. Drink water : ดื่มน้ำช้าๆ จิบน้ำบ่อยๆ หรือ ล้างหน้าทันที เมื่อรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ

ฟังเพลง

4.Do something else : ทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ชอบหรือสนใจเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ ดูหนัง ฟังเพลง

มุ่งมั่นถึงเป้าหมาย

5.Destination / Discuss : ให้คิดตระหนักถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือการพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจ เพื่อสร้างกำลังใจ

สนใจอ่านเพิ่มเติมที่ : การบำบัดโรคเสพยาสูบ

สรุป

การรักษาโรคเสพยาสูบแบบไม่ใช้ยา ผู้ดูแลจะเปรียบเสมือนผู้จัดการช่วยชี้แนะให้ผู้ป่วยเข้าใจกลวิธีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเอาชนะอาการถอนนิโคติน ทำให้ผู้ป่วยเห็นทางออกที่ถูกต้อง เห็นผลได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสียเวลาจากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า