การลดปัญหาเชื้อดื้อยาโดยเภสัชกรชุมชนในร้านยา

ปัญหาเชื้อดื้อยา

ร้านยา เป็นหน่วยร่วมบริการสาธารณสุขภาคเอกชนที่เป็นด่านแรกของการเข้าถึงยาของประชาชนที่ไม่สะดวกไปโรงพยาบาลและมีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ที่เป็นต้นตอของปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหารุนแรงระดับโลก

เชื้อดื้อยา (Antimicrobial resistance, AMR ) คือ เชื้อแบคทีเรียที่ทนต่อยาปฏิชีวนะ เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง ทำให้แบคทีเรียปรับตัวและพัฒนาตัวเองขึ้นให้ทนต่อยาปฏิชีวนะ เราเรียกว่า superbug

สินค้าลดราคา
สินค้าเข้าใหม่

สถานการณ์เชื้อดื้อยาในประเทศไทยและทั่วโลก

สถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยา เป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี ค.ศ.2014

จากการสำรวจทั่วโลก มีเชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิดที่มีภาวะการดื้อยาสูงและน่าเป็นห่วงอยู่มากในขณะนี้ ดังนี้

  • Escherichia coli
  • Klebsella pneumonia
  • Staphylococcus aureus
  • Strephylococcus pneumoniae
  • Non typhoid salmonella
  • Shigella species
  • Neisseria gonorrhea

สถานการณ์ในประเทศไทยก็มีความรุนแรง มีอัตราการดื้อยา 100,000 คนต่อปี มูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี

สถานการณ์เชื้อดื้อยาในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน

  1. การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในชุมชน
  2. การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาล

#การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในชุมชน

เชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาในชุมชนได้แก่

  • Streptococcus pneumoniae
  • Methicillin sensitive Staphylococcus aureus( MSSA)
  • Escherichia coli
  • Klebseilla pneumoniae
  • Salmonella
  • Shigella

# การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาล

เชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาในโรงพยาบาล ได้แก่

  • Ainetobacter baumannii
  • Methicillin sensitive Staphylococcus aureus (MSSA)
  • Enterococci
  • Pseudomonas aeruginosa
  • Enterobacter spp.
superbug

เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาทั้งทางการแพทย์และสาธารณสุข มีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย พบว่ามีปัจจัยเกี่ยวข้องกันและกันอย่างซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสำคัญ

ปัจจัยที่มีผู้ศึกษาว่าเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะได้แก่

  1. การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นในการรักษา : มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนกันอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัส ที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดทั้งของแพทย์ เภสัชกรและตัวผู้ป่วย ประกอบกับมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างเกินขอบเขตความจำเป็น เนื่องจากยาเหล่านี้มีความสะดวกในการรับประทาน แต่การใช้ยาปฏิชีวนะในทั้ง 2 กรณีดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้มีการคัดเลือกเชื้อดื้อยานั้นๆขึ้นมา

แนวทางแก้ปัญหาคือ

  • ให้ความรู้ทั้งแก่ประชาชน เกี่ยวกับโรคติดเชื้อที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เน้นการใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น
  • ให้ความรู้และเน้นย้ำผู้สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ให้เข้าใจถึงผลของการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • การจำกัดชนิดของยาปฏิชีวนะที่สามารถสั่งจ่ายได้ในร้านขายยาและคลินิก เพื่อควบคุมการคัดเลือกสายพันธุ์เชื้อดื้อยา
  • การให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น วัคซีนโรคปอดอักเสบ Strephylococcus pneumoniae

2.การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่เหมาะสมในการรักษา : การให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย คุณสมบัติของยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด ข้อบ่งชี้ ประโยชน์และ โทษของยาแต่ละชนิด แก่ผู้สั่งใช้ยาเช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ สัตว์แพทย์

ตลอดจนสนับสนุนการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการที่ดีและแม่นยำ จะช่วยให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ 2554-2559 ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต้องลดค่าใช้จ่ายด้านยาลง 5 % คือ 7,000 ล้านบาท และลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลลงร้อยละ 50

การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เนื่องจากปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล นำไปสู่ความล้มเหลวในการรักษาอาการไม่พึงประสงค์จากยา ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

3.การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์และอุตสาหกรรมเกษตร เป็นปัญหาทั่วโลก การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ปลา ไก่ สุกร โค กระบือ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดและแพร่กระจายเชื้อดื้อยา

การใช้ยาฆ่าแมลงและยาปฏิชีวนะ เช่น เตตร้าไซคลิน (tetracyclin) , สเตรปโตมัยซิน (streptomycin) ในสวนเกษตรก็ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาด้วยเช่นกัน

4.การคิดค้นยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ลดลง เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีระยะเวลาการใช้ยาที่สั้น เพราะเมื่อโรคติดเชื้อหายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ต่อ ไม่เหมือนกับยารักษากลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ที่มีระยะเวลาการใช้ยายาวนานกว่า  ความคุ้มทุนของการคิดค้นยาปฏิชีวนะจึงน้อยกว่ายากลุ่มอื่นๆมาก ทำให้ระยะหลังนี้ จำนวนยาปฏิชีวนะที่คิดค้นและรับรองลดลง

การคิดค้นยาปฏิชีวนะใหม่ในแต่ละปี นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1980 จนถึง 2014 เป็นดังนี้

  • ปี ค.ศ. 1980-1984 มีการค้นพบใหม่ 19 ชนิด
  • ปี ค.ศ. 1985-1989 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
  • ปี ค.ศ. 1990-1994 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
  • ปี ค.ศ. 1995-1999 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
  • ปี ค.ศ. 2000-2004 มีการค้นพบใหม่ 4 ชนิด
  • ปี ค.ศ. 2005-2009 มีการค้นพบใหม่ 3 ชนิด
  • ปี ค.ศ. 2010-2014 มีการค้นพบใหม่ 6 ชนิด
ฟาร์มสัตว์
ติดเชื้อดื้อยา

ลักษณะและกลไกการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย

ลักษณะการดื้อยา แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่

  1. Intrinsic resistance เป็นการดื้อยาที่มีตามธรรมชาติอยู่แล้ว เชื้อแต่ละกลุ่มถ่ายทอดการดื้อยาลักษณะนี้ผ่านทางพันธุกรรม เชื้อที่อยู่จีนัส ( genus )หรือ สปีชีส์ (species) เดียวกันจะดื้อยากลไกเดียวกัน
  2. Acquired resistance เป็นการดื้อยาที่แบคทีเรียพัฒนาขึ้นมาเพื่อกำจัดและลดประสิทธิภาพของยา เรียกว่าการก่อกลายพันธุ์  (mutation)   วิธีนี้ เชื้อที่อยู่จีนัส ( genus) หรือสปีชีส์ (species )เดียวกันดื้อยาไม่เหมือนกันได้

โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 กลไกหลัก โดยเชื้อแต่ละชนิดอาจจะใช้หลายกลไกร่วมกันในการดื้อยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด

  • กลไกที่1 : การสร้างเอนไซม์มาทำลายหรือดัดแปลงโครงสร้างของยา (Drug inactivation / modification) เป็นกลไกที่พบมากที่สุด
  • กลไกที่2 : การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาให้ผิดไปจากปกติ (Alteration of target site)
  • กลไกที่3 : การเปลี่ยนแปลงขบวนการเมทาบอริซึมของแบคทีเรีย ทำให้ยาที่มีฤทธิ์ขัดขวางขบวนการดังกล่าวไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ ( Change in metabolic pathway)
  • กลไกที่4 : การลดการผ่านของยาเข้าสู่เซลล์ และ/หรือ การเร่งการขับยาออกนอกเซลล์ของแบคทีเรีย ( Decrease uptake/decrease accumulation)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การใช้ยาสมเหตุผลในร้านยา

ดื้อยาในชุมชน

เภสัชกรชุมชนในร้านยาช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้อย่างไร

การให้คำปรึกษาแก่ผู้มารับบริการในร้านยา เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม เภสัชกรจะใช้วิธีการสื่อสาร ด้วยความเข้าใจปัญหา และความวิตกกังวลของผู้มารับบริการ และตอบสนองความต้องการของผู้มารับบริการอย่างตรงจุด มีขั้นตอนดังนี้

  1. เภสัชกรจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มารับบริการ เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดใจให้ข้อมูลและยอมรับคำแนะนำที่เภสัชกรมอบให้
  2. เภสัชกรซักประวัติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงของผู้มารับบริการ ซึ่งจะทำให้เภสัชกรเข้าใจความคาดหวัง ทัศนคติ ประสบการณ์และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้มารับบริการ

โดยมี 4 ประเด็นหลักๆที่เภสัชกรจะเก็บข้อมูล

  • ความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะ
  • ความคาดหวังต่อบริการและยาที่ต้องการ
  • ประสบการณ์และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในช่วงที่ผ่านมา
  • อาการแสดงทางคลินิกทั้งในมุมมองของผู้ป่วยและมุมมองทางการแพทย์
  1. เภสัชกรจะประมวลผล ตัดสินใจ ดำเนินการให้ยาและคำแนะนำแก่ผู้มารับบริการ

ดังนี้

  • สำหรับผู้มารับบริการที่มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยาปฏิชีวนะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เภสัชกรจะแก้ไขความรู้ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้ให้ถูกต้อง
  • สำหรับผู้มารับบริการที่มีความคาดหวังการได้รับยาปฏิชีวนะ เภสัชกรจะวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งเสริมความเชื่อ ทัศนคติของผู้มารับบริการ และแก้ไขให้เกิดทัศคติใหม่ในการใช้ยาอย่างมีเหตุผลด้วยการนำเสนอข้อมูลวิชาการที่เป็นกลางให้ผู้ป่วยนำไปพิจารณา
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีประสบการณ์และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในช่วงที่ผ่านมาแบบไม่สมเหตุผล เภสัชกร จะชี้แจง อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า อาการป่วยในแต่ละครั้งแม้ว่าอาการแสดงทางคลินิกอาจเหมือนหรือคล้ายกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิดจากสาเหตุเดียวกัน ใช้ยาตัวเดียวกัน รักษาได้เหมือนกัน
    ทั้งนี้เภสัชกรจะคำนึงถึงความคาดหวัง ความกังวลของผู้ป่วยร่วมด้วยเสมอ  ในกรณีที่เห็นว่าไม่สามารถโน้มน้าวใจผู้ป่วยได้ เภสัชกรอาจจะทำตามความคาดหวังของผู้ป่วยแบบชะลอเวลา คือการชะลอการจ่ายยาปฏิชีวนะให้ช้าลง2-3 วัน
    หรือแนะนำทางเลือกอื่นๆให้แทน เช่น การใช้ยาสมุนไพร การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การใช้การแพทย์แผนโบราณ
สินค้า

คลิ๊กดูสินค้าของเรา

เภสัชกร

เกี่ยวกับเภสัชกร

ร้านของเรา

เราช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง

จะเห็นได้ว่าปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ยาแบบไม่สมเหตุผล สามารถจำแนกสาเหตุแบบให้เห็นภาพชัดเจนได้ดังนี้

  1. การใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้
  2. การใช้ยาที่ขาดหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลของยา
  3. การใช้ยาที่อันตรายจากยามีมากกว่าประโยชน์ของยาอย่างชัดเจนโดยมีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่าให้เลือกใช้
  4. การใช้ยาโดยขาดความคำนึงถึงความคุ้มค่า
  5. การใช้ยาโดยขาดความตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยา
  6. การใช้ยามากเกินความจำเป็นและซ้ำซ้อน
  7. การใช้ยาข้ามขั้นตอน
  8. การใช้ยาไม่สอดคล้องกับแนวทางเวชปฏิบัติที่เชื่อถือได้
  9. การใช้ยาไม่ถูกขนาด ไม่ถูกวิธี ระยะเวลาการรักษาไม่ถูกต้อง
  10. การใช้ยาไม่สอดคล้องกับแนวเวชปฏิบัติที่เชื่อถือได้

แนวทางหลักปฏิบัติทั่วไปที่เภสัชกรชุมชนในร้านยาใช้อยู่เป็นบรรทัดฐานประจำในการดูแลผู้ป่วย เพื่อลดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ มีดังนี้

  1. จ่ายยาปฏิชีวนะเมื่อมีข้อบ่งชี้การติดเชื้อชัดเจนและจำเป็นเท่านั้น
  2. ไม่จ่ายยาปฏิชีวนะที่จะนำไปสู่การพัฒนาเชื้อดื้อยา
  3. แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับ ยา และข้อบ่งใช้ ขนาดยา วิธีการรับประทาน ระยะเวลาการรับประทานยาที่ถูกต้อง
  4. ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับ ผลที่จะตามมา หากใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม หรือผิดวิธี อาจนำไปสู่การดื้อยาปฏิชีวนะ
  5. ให้ข้อมูลด้านการป้องกันการติดเชื้อ และการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อให้เหมาะสม

เช่น

  • การใส่หน้ากากอนามัย หากมีอาการไอหรือจาม
  • การรับวัคซีนให้ครบตามวัย   การได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดบวม โดยเฉพาะวัยเด็กและผู้สูงอายุ
  • การป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์โดยการสวมถุงยางอนามัย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ยาวิพากษ์ ปี่ที่ 7 ฉบับที่ 28

สรุป

ปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลนั้น เป็นผลเสียทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะการทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกในขณะนี้ การจะแก้ปัญหาได้ต้องจัดการทั้งระบบสุขภาพ ทั้งต้นน้ำคือบริษัทยา กลางน้ำคือผู้สั่งใช้ยา และปลายน้ำคือประชาสังคม

เภสัชกรชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพในร้านยาซึ่งเป็นหน่วยร่วมบริการสาธารณสุขที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ชุมชน เป็นส่วนกลางน้ำของระบบสุขภาพที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนให้ระบบยาของประเทศมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า