มาตรฐานร้านยาคุณภาพ

ร้านยาคุณภาพ

ร้านยาตามความเข้าใจเดิมของสังคม เป็นสถานประกอบธุรกิจขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ  โดยเฉพาะในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2510  ร้านยามีปัญหาทั้งเรื่องด้อยคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการ  จนในปี พ.ศ. 2546 สภาเภสัชกรรม ร่วมมือกับอย. จัดทำมาตรฐานร้านยาคุณภาพขึ้น โดยได้กำหนดมาตรฐานร้านยาไว้ 5 ด้าน ดังนี้

  • มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
  • มาตรฐานที่ 2 การบริการจัดการเพื่อคุณภาพ
  • มาตรฐานที่ 3 การบริการเภสัชกรรมที่ดี
  • มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และ จริยธรรม
  • มาตรฐานที่ 5 การให้บริการและการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม

ร้านยาคุณภาพคือ ร้านยาที่ผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรม ว่ามีมาตรฐานการให้ “บริการด้านยาและสุขภาพที่ดี มีคุณภาพ “  คือมีบริการแบบวิชาชีพทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์และบริการข้อมูลและคำแนะนำ  มีมาตรฐาน 5 ด้านดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

ร้านยาเภสัช

1. ความเป็นมาของร้านยาคุณภาพ

ประเทศไทยมีสัดส่วนของร้านยาที่เภสัชกรเป็นเจ้าของจำนวนน้อยกว่าร้านยาที่เภสัชกรไม่เป็นเจ้าของ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเภสัชกรและการกระจายตัวที่ไม่เหมาะสมของเภสัชกร  ผู้ที่ทำหน้าที่ขายยาอาจจะเป็นเภสัชกรหรือไม่ใช่เภสัชกรก็ได้ ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสม เกิดความสูญเปล่าในการใช้ทรัพยากรสาธารณสุข

แต่หลังจากมีพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา เริ่มมีบริบทของการพัฒนาคุณภาพร้านขายยาขึ้น โดยกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในร้านยาอย่างชัดเจน โดยการเปิดร้านยานั้นจะประกอบไปด้วยผู้รับอนุญาต ซึ่งจะเป็นเภสัชกรหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการต้องเป็นเภสัชกร ผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ทำหน้าที่ส่งมอบยา เวชภัณฑ์ยา แก่ประชาชน

เจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชนในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ดังนั้นร้านยาจึงไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ดำเนินธุรกิจในการขายยาและเวชภัณฑ์ยาเท่านั้น แต่ร้านยาจัดเป็นสถานบริการสาธารณสุขขั้นปฐมภูมิด้วย ซึ่งประชาชนสามารถใช้บริการซื้อยา และขอคำแนะนำเรื่องยาและสุขภาพได้ด้วย

หน้าที่หลักๆของเภสัชกรในร้านยา คือ ส่งมอบยาพร้อมให้คำแนะนำการใช้ยา การดูแลคุณภาพและประกันคุณภาพของยาตั้งแต่การจัดหายาเข้าร้านถึงส่งมอบแก่ผู้บริโภค  รวมถึงการบริหารจัดการกิจการของร้านยาให้มีความสมดุลระหว่างผลกำไรและการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับบริการด้านยาที่คุ้มค่าและปลอดภัย

เนื่องจากร้านยาในประเทศไทย มีความแตกต่างกันมากทั้งในเรื่องกายภาพและการให้บริการ  ใน ปี พ.ศ. 2546 สภาเภสัชกรรมจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชน ขึ้นเพื่อให้มีแนวทางเดียวกันในการปฏิบัติงานในร้านยา  และมีการรับรองมาตรฐานร้านยาจากสภาเภสัชกรรมเป็น “ร้านยาคุณภาพ”

2. แนวคิดมาตรฐานร้านยาคุณภาพ

ด้วยเหตุผลที่คุณภาพการให้บริการของร้านยามีความแตกต่างกัน ไม่มีมาตรฐาน และส่วนใหญ่ไม่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการทำให้ภาพลักษณ์ร้านยาไม่ดีนักในสายตาสังคม ทำให้สภาเภสัชกรรมต้องพิจารณาเรื่องการพัฒนามาตรฐานร้านยา เพื่อยกระดับร้านยาโดยรวมให้ดีขึ้น

ในปี พ.ศ. 2546 สภาเภสัชกรรมจึงได้จัด “โครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยาขึ้น” โดยมีแนวคิดมาจากรูปแบบร้านยาที่พึงประสงค์และเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย เพื่อพัฒนาร้านยาให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตามความจำเป็นและเท่าเทียม

วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้คือ มุ่งเน้นให้มีบริบาลเภสัชกรรมที่ดีเกิดขึ้นในร้านยา  เปลี่ยนภาพลักษณ์ของร้านยาให้เป็นสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมมากกว่าการขายยาทั่วไป และเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนมิใช่เพียงมาซื้อยา แต่เป็นการไปปรึกษาขอคำแนะนำในเรื่องการดูแลสุขภาพและการใช้ยาที่ถูกต้อง

  • มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการบริการ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานทางกายภาพในการให้บริการ การมีสัดส่วนพื้นที่ในการปฏิบัติของเภสัชกรอย่างเด่นชัด มีการกำหนดป้ายแสดงตัวเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ณ.ร้านยานั้นว่าคือใคร
  • มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการเพื่อคุณภาพ เพื่อประกันว่ากระบวนการจัดการร้านยา จะทำให้ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจ โดยระบุถึงคุณสมบัติของทั้งเภสัชกรและผู้ช่วยเภสัชกร ว่าควรเป็นอย่างไร ขั้นตอนวิธีการให้บริการที่ดี
  • มาตรฐานที่ 3 การบริการเภสัชกรรมที่ดี  ครอบคลุมตั้งแต่ การจัดหา คัดเลือกผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษา การเลือกจ่ายยาและการส่งมอบยาแก่ผู้มารับบริการ อย่างมีคุณภาพและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และจริยธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมกำกับให้ร้านยาปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณ
  • มาตรฐานที่ 5 การให้บริการและการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม เป็นการขยายบทบาทเภสัชกรในการให้บริการเชิงรุก ลงสู่ชุมชนรอบข้าง โดยไม่ได้ตั้งรับอยู่ในร้านยาแบบเดิมที่เรียกว่า เป็นการเยี่ยมบ้าน เพื่อฝึกให้เภสักรเรียนรู้วิธีทำงานในการสร้างเสริมสุขภาพ และการทำงานในระดับชุมชนมากขึ้น เช่น การให้บริการคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความดัน เบาหวาน การให้บริการแนะนำการเลิกสูบบุหรี่ การจัดการด้านยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมากกว่า 1 โรค ใช้ยาหลายตัว หลายโรค มีความซับซ้อนในการใช้ยาและเสี่ยงที่จะใช้ยาไม่ถูกต้อง

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับร้านยาคุณภาพ :  คู่มือร้านยาคุณภาพ

3. บทบาทเชิงรุกของเภสัชกรในร้านยาคุณภาพ

ตามมาตรฐานร้านยาคุณภาพข้อที่ 5  ที่จะพัฒนาบทบาทเชิงรุกของเภสัชกรชุมชน ในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา มีการดำเนินการไปแล้วในร้านยาที่มีความพร้อมและศักยภาพมากพอ มี 4 บทบาทดังนี้

  1. การเฝ้าระวังโรคในรูปแบบการคัดกรอง

โดยเฉพาะโรคที่เป็นความเสี่ยงในชุมชนและมีผลกระทบต่อสังคม อาทิเช่น

  • คัดกรองโรคเรื้อรัง : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคซึมเศร้า
  • คัดกรองโรคติดเชื้อในชุมชน : โรคหวัด โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง
  • คัดกรองโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ : โรคหนองใน ประเมินการใช้ยาคุมฉุกเฉิน

ข้อมูลที่เภสัชกรในร้านยาได้จากการคัดกรอง จะถูกส่งกลับเข้าสู่ระบบโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. การจัดการด้านยา ( Medication Therapy Management , MTM)

เป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำข้อมูลของผู้ป่วยมาประเมินการใช้ยา ค้นหาปัญหาจากการใช้ยา และส่งต่อแพทย์ วัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการเก็บบันทึกไว้สำหรับการส่งต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด และเป็นเกิดการใช้ทรัพยากรสาธารณสุขที่คุ้มค่า

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนและผู้ป่วย

กิจกรรมที่เภสัชกรชุมชนในร้านยาเริ่มโครงการไปบ้างแล้ว เช่น การรณรงค์เลิกบุหรี่  การระวังผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัย การให้ความรู้ประชาชนด้านอาหรและยา การรณรงค์คืนยาเหลือใช้ที่บ้านให้โรงพยาบาล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : โครงการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน

  1. การคุ้มครองผู้บริโภค

เภสัชกรในร้านยาส่งมอบยาพร้อมให้บริการบริบาลเภสัชกรรมร่วมด้วย  เช่น ก่อนจ่ายยาต้องมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยก่อนแล้วจึงคัดเลือกยาที่เหมาะสมกับสภาวะของโรคและเศรษฐานะของผู้มารับบริการ  ส่งมอบยาพร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา การใช้ยาให้ได้ผลคุ้มค่า

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเภสัชกรชุมชน :  บทบาทเภสัชกรในร้านยาคุณภาพ

4. บทบาทเภสัชกรที่มีคุณภาพขององค์การอนามัยโลกกำหนด

จากการประชุมขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ได้สรุปบทบาทคุณภาพของเภสัชกรไว้ 7 ประการ

“The seven star pharmacist “

  1. ผู้ให้การดูแล (care giver): เภสัชกรควรมีองค์ความรู้ ในสาขาที่ปฏิบัติงาน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริการสุขภาพแก่ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด
  2. ผู้ตัดสินใจ ( Decision maker) : เภสัชกรต้องมีความสามารถในการตัดสินใจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เช่น ยา บุคลากร เครื่องมือ ให้บรรลุเป้าหมายการดูแลสุขภาพผู้มารับบริการอย่างเหมาะสมที่สุด
  3. ผู้สื่อสาร ( Communicator) : เภสัชกรเป็นส่วนเชื่อมระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ดังนั้นจึงต้องมีทั้งความรู้ ความมั่นใจในการทำหน้าที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลากรทางการแพทย์และประชาชน เภสัชกรจึงต้องมีทักษะการสื่อสารรูปแบบใช้เสียง ทักษะการใช้ท่าทางในการสื่อสาร ทักษะการเขียน และที่สำคัญที่สุดคือทักษะการฟัง

แวะชมสินค้าที่คุณอาจสนใจ

4. ผู้นำ (Leader) : เภสัชกรต้องเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ประสานให้ทีมสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย

5. ผู้จัดการ ( Manager) : เภสัชกรต้องทำหน้าที่จัดการทั้งในเรื่องผู้ป่วยและธุรกิจไปพร้อมๆกันให้สมดุล การเงิน สินค้าคงคลัง การคิดค่าบริการที่สมเหตุสมผลเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

6. ผู้เรียนรู้ ( Life long learner) : ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เภสัชกรต้องสามารถติดตามเรียนรู้ ข้อมูลใหม่ๆ ให้ทันสมัยตลอดเวลา เพื่อเพิ่มและคงประสิทธิภาพในการประกอบวิชาชีพ

7. ผู้สอน ( Teachar) : เนื่องจากต้องขยายบทบาทเชิงรุก ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็น

เยี่ยมบ้าน
ให้ความรู้

สรุป

ร้านยาคุณภาพได้ถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่มากกว่าร้านยาทั่วไป ทั้งในเรื่องขอบเขตงานที่ต้องรับผิดชอบ สมรรถนะความสามารถของเภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานด้านบริบาลเภสัชกรรม ที่ครอบคลุมตั้งแต่ การคัดเลือกยา การจ่ายยา การให้ความรู้เรื่องการใช้ยา การดูแลสุขภาพ การติดตามการใช้ยา และการค้นหาปัญหาที่เกิดจากยา เป็นต้น

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า