การทำงานเชิงรุกของเภสัชกรในร้านยา ด้วยการให้บริการบริบาลเภสัชกรรมแก่ประชาชนที่มารับบริการที่ร้าน เช่น การดูแลปัญหาการใช้ยา การติดตามผลการรักษา การเยี่ยมบ้าน ส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับบริการที่จำเป็น การรณรงค์ป้องกันโรคและปัญหาสุขภาพในชุมชน
การบริบาลเภสัชกรรม คือ ความรับผิดชอบของเภสัชกรที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่ถูกต้องและเพิ่มคุณภาพชีวิต
วิชาชีพเภสัชกรมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน ด้วยองค์ความรู้ด้านยาได้มีการปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองความต้องการของสังคม ปัจจุบันได้มีการพัฒนาและขยายงานด้านเภสัชกรรมให้มามุ่งเน้นที่การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยมากขึ้น จากแต่ก่อนที่งานเภสัชกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ยาเท่านั้น
งานบริบาลเภสัชกรรม
เป้าหมายของงานบริบาลเภสัชกรรม มี 3 ข้อดังนี้
- ส่งเสริมการใช้ยาให้เป็นไปอย่างสมเหตุผล มีความปลอดภัย คุ้มค่า
- เพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษา
- เพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย
หน้าที่ของเภสัชกรในการปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรม
เนื่องจากเป็นงานที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การทำงานจึงต้องร่วมมือกับบุคคลากรสาขาวิชาชีพอื่นทางสาธารณสุขด้วย ขอบเขตงานจะแบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ๆ
- ค้นหาปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น
- การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา
- การป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา
ทักษะและสมรรถนะความสามารถของเภสัชกรในการปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรม
เภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านบริบาลเภสัชกรรมจะมีทักษะในการทำงานดังนี้
- สัมภาษณ์ประวัติผู้ป่วย
- จัดทำแฟ้มประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย
- สืบค้นปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาของผู้ป่วย
- จัดระบบส่งมอบยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- คัดกรองผู้ป่วยที่เกิดปัญหาจากการใช้ยา
- ช่วยเหลือแพทย์ในการเลือกชนิด ขนาด และ รูปแบบยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงเสนอทางเลือกการใช้ยาทดแทน กรณีที่คนไข้ใช้ยาหลักไม่ได้
- ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ การแพ้ยา การตีกันของยา และรายงานเผยแพร่
- ติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี ปลอดภัย
- ตอบคำถามและให้บริการข้อมูลยาแก่บุคลากรทางการแพทย์
- ให้คำแนะนำด้านสุขภาพต่างๆที่สัมพันธ์กับยาแก่ผู้ป่วย
- สนับสนุนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
- ดูแลรักษาโรคที่ไม่ซับซ้อน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : งานบริบาลเภสัชกรรม
อ่านเพิ่มเติมเรื่องปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลที่ : การลดเชื้อดื้อยาโดยเภสัชกรชุมชน
บริบาลเภสัชกรรมในร้านยา
ตามมาตรฐานที่ 5 ของร้านยาคุณภาพ สภาเภสัชกรรม กำหนดให้เภสัชกรต้องทำบริบาลเภสัชกรรมต่อชุมชนรอบข้างร้านยาที่ปฏิบัติงานอยู่
มีกระบวนการทำงาน 5 ขั้นตอน
- การค้นหาปัญหาการใช้ยา
- วางแผนแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา
- การให้ข้อมูลผู้ป่วยและส่งต่อ
- การจัดทำเอกสารพร้อมติดตามการใช้ยา
- การจดบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
รายละเอียดการดำเนินงาน
1. การค้นหาปัญหาการใช้ยา
- สัมภาษณ์เก็บข้อมูลการใช้ยา ผลค่าตรวจร่างกายจากห้องแลป ประวัติความเจ็บป่วย และพฤติกรรมสุขภาพ
- ค้นหา ระบุ และประเมินปัญหาการใช้ยา โดยมีปัจจัยด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าการใช้ยา
2. วางแผนแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา
- วางแผนการแก้ไขปัญหาการใช้ยาร่วมกับผู้ป่วย ผู้ดูแล และครอบครัวของผู้ป่วย
- กำหนดเป้าหมายของการแผนการที่วางไว้
- ติดตามแผนงานที่วางไว้
3. การเข้าทำกิจกรรมช่วยเหลือและส่งต่อ
- การให้ความรู้เรื่องโรคและยาที่ใช้รักษาของผู้ป่วย
- แนะนำ ทบทวน วิธีการใช้ยาที่มีปัญหา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรให้ส่งเสริมการรักษา
- การตรวจติดตามผลของการใช้ยา เช่น วัดความดันโลหิตสูง วัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยเครื่องเจาะปลายนิ้ว
- ปรึกษา ประสานงาน จัดทำเอกสารส่งต่อ ให้ทีมแพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย
4. จัดทำเอกสารติดตามการใช้ยา
- บันทึกข้อมูลการติดตามแผนงานบริบาลเภสัชกรรมในรูปแบบมาตรฐานทางการแพทย์ ( SOAP note )
- ติดต่อ ประสานงาน สื่อสาร ข้อมูลผู้ป่วยแก่แพทย์โดยตรง
- ติดตามลงเยี่ยม และเก็บข้อมูลต่อเนื่อง
5. จดบันทึกข้อมูลในสมุดประจำตัวผู้ป่วย
- จัดทำสมุดประจำตัวผู้ป่วย ลงรายละเอียดเกี่ยวกับ
-ทีมดูแล แพทย์ เภสัชกร พยาบาล บุคคลากรสาธารณสุขอื่นๆ
– การแพ้ยา พฤติกรรมการดำเนินชีวิต
– ชื่อยา รายละเอียดการใช้ยา ข้อมูลการใช้สมุนไพร
โดยมอบให้ผู้ป่วยเก็บไว้ และนำติดตัวมาทุกครั้งที่นัดหมายทีมดูแล จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมต่อการดูแลตัวเอง
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : SOAP note
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : สมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วย
ความสัมพันธ์ของบริบาลเภสัชกรรมกับปัญหาการใช้ยา (Drug related problems)
ในทางวิชาชีพเภสัชกรรม ได้จัดแบ่งปัญหาจากการใช้ยาเป็น 5 หัวข้อใหญ่ดังนี้
- ความเหมาะสมของข้อบ่งใช้ (indication)
- ประสิทธิภาพของยาที่ใช้ ( efficacy)
- ความปลอดภัยของยาที่ใช้
- ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยา
และจากกระบวนการทำงานด้วยองค์ความรู้ด้านบริบาลเภสัชกรรมจะทำให้สามารถค้นหาและแยกแยะประเด็นปัญหาการใช้ยาที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้
# ปัญหาเรื่องความเหมาะสมของข้อบ่งใช้
แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ
- ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่จำเป็น
- ผู้ป่วยยังไม่ได้รับยาที่ควรได้
ประเด็นแรก : ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น
- ยาที่ได้รับมีข้อบ่งใช้ที่ไม่เหมาะสมถูกต้องกับสภาวะผู้ป่วยขณะนั้น
- ผู้ป่วยได้ยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อรักษาภาวะที่สามารถใช้ยาชนิดเดียวรักษาได้
- ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การใช้ยา
- ผู้ป่วยได้รับอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
- ผู้ป่วยใช้ยาในทางที่ผิด
- ผู้ป่วยเกิดอาการถอนยา
- ผู้ป่วยใช้ยาเพื่อทำร้ายตัวเอง
ประเด็นที่สอง : ผู้ป่วยยังไม่ได้รับยาที่ควรได้
- เพื่อรักษาอาการหรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่
- เพื่อรักษาอาการหรือโรคที่เป็นอยู่
- เพื่อป้องกันหรือการกลับเป็นซ้ำของโรค
- เพื่อเสริมฤทธิ์กับยาเดิมที่ใช้เพื่อให้ผลการรักษาตามเป้าหมายและดีที่สุด
- เพื่อรักษาโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่อง
# ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของยา
แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ
- การเลือกใช้ยาไม่เหมาะสม
- ขนาดยาที่ได้รับมาเหมาะสม
ประเด็นแรก : การเลือกใช้ยาไม่เหมาะสม
- ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการรักษา
- ผู้ป่วยควรได้รับยาอื่นที่มีความปลอดภัยในการรักษามากกว่า
ประเด็นที่สอง : ขนาดยาไม่เหมาะสม
- ขนาดยาต่ำเกินไปที่จะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดี
- ระยะห่างระหว่างมื้อยานานเกินไปทำให้มีผลลดประสิทธิภาพการรักษา
- ระยะเวลาการได้รับยาสั้นเกินไป
- ผู้ป่วยไม่ได้รับยาตามขนาดที่ควรได้เนื่องจากเกิดปัญหายาตีกันหรืออาหารตีกับยา
- การบริหารรูปแบบยาและวิธีการให้ยาไม่เหมาะสม เป็นผลให้ผู้ป่วยได้รับยาต่ำกว่าขนาดที่ควรได้
# ปัญหาเรื่องความปลอดภัยจากการใช้ยา
แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ
- อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- ขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับมากเกินไป
ประเด็นแรก : อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- ผู้ป่วยได้รับยาที่มีประวัติการแพ้อยู่แล้ว
- ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงซึ่งเป็นข้อห้ามใช้ของยาที่ได้รับ
- ผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้หากได้รับการบริหารยาที่เหมาะสม
ประเด็นที่สอง : ขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับมากเกินไป
เกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้
- ยามีขนาดสูงเกินไปในการรักษา
- ระยะห่างระหว่างมื้อยาสั้นเกินไป
- ระยะเวลาการได้รับยานานเกินไป
- การบริหารยาทางหลอดเลือดในอัตราที่เร็วเกินไป
# ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาหลายขนาน ต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน จะพบปัญหาผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ซึ่งมักมีสาเหตุมาจาก
- ไม่เข้าใจคำแนะนำการใช้ยาและการปฏิบัติตัว
- ลืมรับประทานยา
- ไม่มีผู้ดูแลส่งมอบยาให้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพิงสูง
- ผู้ป่วยมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจึงเลือกที่จะไม่ใช้ยา
- ผู้ป่วยไม่มารับยาตามนัดหมาย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : โครงการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน
# ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยา
มี 2 ประเด็นคือ
- ผู้ป่วยไม่ได้รับยาเพราะยามีราคาแพง
- ผู้ป่วยได้รับยาที่มีราคาแพงกว่า แต่ให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่แตกต่าง
ความสัมพันธ์ระหว่างบริบาลเภสัชกรรมและระบบสุขภาพ
กระบวนการทำงานบริบาลเภสัชกรรม เป็นการใช้ความรู้ด้านเภสัชกรรมในการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยแบบองค์รวมและเป็นระบบ จุดประสงค์เพื่อให้เกิดผลการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โดยมุ่งเน้นการค้นหา แก้ไข ป้องกันปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย
และนำข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วยแต่ละคนมารวบรวม วิเคราะห์ จัดแบ่งตามกลุ่มโรค กลุ่มยา และประเภทของปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ทำให้เห็นภาพรวมของปัญหา และสามารถนำมาคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทั้งหมด ทำให้องค์กรที่รับผิดชอบสามารถพัฒนาระบบจัดการด้านยาที่ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดระบบยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดสำหรับประชาชน และมีความประหยัดคุ้มค่าในระบบสุขภาพของประเทศไทย
ระบบจัดการด้านยา.
แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่1 : การวางแผน จัดการสำรองยา และเก็บรักษายา โดยต้องจัดระบบให้สามารถประกันด้านการคัดเลือกยาที่มีคุณภาพสูง เหมาะสม และปลอดภัย ไว้ใช้สำหรับผู้ป่วย
ส่วนที่2 : การสั่งใช้ยา การเตรียมจัดจ่ายยา โดยต้องจัดระบบให้มั่นใจว่ามีการสั่งใช้ยาและการให้ยาที่ถูกต้องปลอดภัย เหมาะสม
สรุป
วัตถุประสงค์ของงานบริบาลเภสัชกรรม คือการที่ใช้องค์ความรู้ด้านเภสัชกรรมในการดูแลผู้ป่วยเรื่องการใช้ยา ให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด ตลอดจนเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในภาพรวมเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านยา อันจะนำมาซึ่งระบบยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ระบบสุขภาพที่ประหยัด คุ้มค่าและเท่าเทียม
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกเด็กเล็ก
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา