ยาเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพให้ยืนยาวและเป็นปกติสุขของมนุษย์เราทุกคน ทุกๆครัวเรือนจะมียาไว้ประจำบ้านเพื่อการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ จนถึง ยารักษาโรคประจำตัวและโรคเจ็บป่วยเรื้อรังของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นถ้าสำรวจกันจริงๆ จะพบว่า เกือบทุกหลังคาเรือนจะมียาเหลือใช้อยู่ไม่มากก็น้อย
ยาเหลือใช้ คือ ยาที่ไม่ได้ใช้แล้วมีทั้งยาที่ยังใช้ได้และใช้ไม่ได้แล้ว เพราะหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ ซึ่งเราจะเรียกยาที่ใช้ไม่ได้แล้วว่าเป็นยาขยะ
ยาขยะ คือ ยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ ยาที่ใช้ไม่ได้แล้วแต่ยังเก็บไว้ ยังไม่กำจัดทิ้ง
สารบัญ
- สาเหตุของการเกิดยาเหลือใช้ในครัวเรือน
- วิธีจัดการกับยาเหลือใช้
- ภัยอันตรายจากยาเหลือใช้
- กำจัดยาขยะอย่างไร ไม่ให้ทำลายสิ่งแวดล้อม
- สรุป
สาเหตุของการเกิดยาเหลือใช้ในครัวเรือน
โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
- ซื้อมาเก็บไว้แล้วไม่ได้ใช้ จนยาเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ กลายเป็นยาขยะที่ใช้ไม่ได้แล้ว
- แพทย์เปลี่ยนแปลงการรักษาและจ่ายยาชนิดใหม่ ทำให้ยาชนิดเก่าที่ยังกินไม่หมด กลายเป็นยาเหลือใช้อยู่ในบ้าน
- ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ทำให้มียาเหลือใช้ ซึ่งอาจเกิดจาก หลงลืมหรือใช้ยาไม่เป็น หรือได้รับผลข้างเคียงจากยา จึงหยุดใช้ยา
- เป็นยาที่เหลือจากผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มักมีปริมาณมาก
- ยาที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวด เมื่อหายปวดแล้วจึงหยุดใช้ยาตามแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ
อ่านรายละเอียด : ยาเหลือใช้ ปลอดภัยหรือไม่
วิธีจัดการกับยาเหลือใช้
- ควรหมั่นสำรวจดู ว่ายาเหลือใช้ที่มีอยู่ยังเป็นยาที่ใช้ได้อยู่หรือไม่
- ลักษณะกายภาพภายนอกของยาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สีซีดจาง แตกร่วน หรือ ถ้าเป็นยาน้ำ มีตะกอน สีขุ่น ให้กำจัดทิ้งไป
- ยาเม็ดที่ไม่อยู่ในแผง ไม่ได้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ปิดมิดชิด เช่นยาเม็ดเปลือย ยาเม็ดร่วง จะมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น
- ถ้าฉลากยาไม่ชัดเจนแล้ว หรือ สูญหายไป ไม่ควรใช้ยาชนิดนั้นอีก
- ควรเก็บรักษายา ในภาชนะสะอาด ปิดมิดชิด ป้องกันแมลงกัดแทะ ควรเก็บในที่พ้นแสง ห่างไกลความร้อน
- การกำจัดยาเหลือใช้ ที่หมดอายุ หรือ เสื่อมสภาพ ควรกำจัดให้ถูกวิธีเพื่อไม่ให้มันออกไปเป็นมลภาวะสิ่งปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์
- หากยาเหลือใช้นั้นเป็นยาขยะ มีจำนวนเล็กน้อย ก่อนทิ้ง ถ้าเป็นยาเม็ดควรนำออกจากบรรจุภัณฑ์ ทุบทำลาย นำมาละลายน้ำก่อน ค่อยเททิ้งได้ และควรเททิ้งในโถส้วมมากกว่าอ่างล้างจานแต่ควรทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น และเป็นวิธีที่ไม่แนะนำ ควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เพราะเป็นวิธีทำลายสิ่งแวดล้อม
- แต่หากยาเหลือใช้มีจำนวนมาก และ ยังอยู่ใช้ได้อยู่ ควรนำไปคืนโรงพยาบาล หรือ นำไปพบแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อขอคำแนะนำว่าจะดำเนินการกับยาเหลือใช้เหล่านี้อย่างไร
ภัยอันตรายจากยาเหลือใช้
ยาเหลือใช้ในบ้านเป็นความเสี่ยงเป็นในครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีเด็กเล็กอยู่ในบ้าน จะต้องเก็บยาให้มิดชิด พ้นมือเด็ก อีกประการหนึ่งถ้าเก็บรักษายาไม่ดีจะทำให้ยาหมดอายุ
ยาบางชนิดหมดอายุหรือเสื่อมสภาพแล้ว แต่ดูจากภายนอกจะมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าทานเข้าไป อาจป็นพิษต่อไตและตับได้
ยาเหลือใช้เหล่านี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นภัยต่อระบบนิเวศน์ของโลก ไม่ว่าจะกำจัดโดยการเผา ไถ่กลบลงดิน เพราะยาบางตัวมีผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ บางตัวมีผลต่อระบบการสร้างฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์ ตลอดจน สามารถก่อการกลายพันธุ์หรือก่อการสร้างเซลล์มะเร็งได้
มีการสำรวจพบว่าการปนเปื้อนของยาลงในแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้มีผลต่อการดำรงชีพ การสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ภัยอันตรายจากการใช้ยาเกินจำเป็น ยาหมดอายุ
อันตรายจากยาตกค้างในสิ่งแวดล้อม
กำจัดยาเหลือใช้ ยาขยะ อย่างไรไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- เมื่อต้องไปใช้บริการทางการแพทย์ ถ้าได้รับยาหรือเวชภัณฑ์ ควรสอบถามวิธีใช้และเทคนิคการใช้ให้เข้าใจ เพื่อจะได้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ได้ผลในการรักษาที่ดี ป้องกันการหยุดใช้ยาเพราะใช้ไม่ถูก ใช้ไม่เป็น ทำให้หยุดใช้ยา และมียาเหลือใช้เกิดขึ้น
- หากเป็นยารักษาโรคเรื้อรัง ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และไปรับการตรวจตามนัด หากมียาเหลืออยู่ไม่ว่าจะเท่าใดก็ตาม ให้นำติดตัวไปพบแพทย์ทุกครั้ง
- หากได้รับผลข้างเคียงจากยา ให้หยุดใช้ยา และนำยาติดตัวไปพบแพทย์ด้วย เพื่อทำการตรวจสอบและบันทึกประวัติ ป้องกันการแพ้ยาซ้ำ ควรคืนหรือบริจาคยาไปเลย ไม่ควรเก็บกลับมาไว้ในบ้านให้เป็นความเสี่ยง
- หากเป็นยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานต่อเนื่องจนหมด เพราะการหยุดรับประทานยาเมื่ออาการดีขึ้นเป็นสาเหตุของการดื้อยา เมื่อต้องรับประทานยาปฏิชีวนะชนิดเดิมอีกครั้งจะทำให้รักษาไม่หาย เพราะเชื้อดื้อยา และอาจต้องใช้ยารักษาที่แพงมากขึ้น
ผู้ป่วยไม่ควรมียาปฏิชีวนะเป็นยาเหลือใช้ เพราะปกติแล้วแพทย์หรือเภสัชกรจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้พอสำหรับการรักษาแต่ละครั้ง
- สำหรับยาเหลือใช้ เนื่องจากไม่มีอาการหรือผู้ป่วยเสียชีวิต สามารถนำกลับไปโรงพยาบาลเพื่อใช้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ หากยายังมีสภาพดี หรือถ้าเป็นยาเสื่อมคุณภาพ โรงพยาบาลจะเผาทำลายให้ ป้องกันการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
- ภาชนะบรรจุ อลูมิเนียมฟอยล์ ทิ้งเป็นขยะปกติหรือขยะรีไซเคิล ส่วนหลอดยาพ่นสูดทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล
- หากมียาเหลือใช้ หรือ ยาหมดอายุจำนวนมาก ให้นำกลับไปคืนโรงพยาบาล เพื่อทำลายทิ้งอย่างถูกต้อง ไม่ให้ปนเปื้อนออกมาทำลายสิ่งแวดล้อม
- ไม่แนะนำให้นำยาเหลือใช้ ไปให้คนอื่นใช้แทน เพราะโรคเดียวกัน อาการคล้ายกัน แต่ระดับความรุนแรงต่างกัน อาจต้องใช้ยาที่ไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละบุคคลมีปัจจัยเสี่ยงของร่างกายในการใช้ยาแตกต่างกัน
ยาที่ผู้ป่วยคนหนึ่งใช้ได้ ให้ผลการรักษาที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลเดียวกันในผู้ป่วยคนอื่นๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : สาระ-ปันยา พ.ศ.2553
สรุป
ยามีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์ ควรใช้เมื่อจำเป็นและอย่างพอเพียง ใช้อย่างสมเหตุผล ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อเกินจำเป็น การใช้ยาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ยึดหลัก 3 ป. คือ ประสิทธิภาพ ปลอดภัย และ ประหยัด เพราะยาเหลือใช้เป็นภัยอันตรายทั้งต่อตัวเราเองและส่วนรวม ผู้ใช้ยาควรตระหนักถึงเรื่องการใช้ยาอย่างรับผิดชอบด้วยเสมอ
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
fixomull
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกเด็กเล็ก
INNAQUA
เซรั่มแก้ผมร่วงฮีรูดอยด์
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา